ระบบบริการคลาวด์ภาครัฐมีประโยชน์อย่างไร หลัง รมว.ดีอี ยกเป็น 1 ใน 7 flagships

13 ก.พ. 2567 | 06:10 น.
527

ระบบบริการคลาวด์ภาครัฐมีประโยชน์อย่างไร หลัง ประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดีอี เร่งเครื่องยกเป็น 1 ใน 7 flagships เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ และ สังคมไทย

ระบบบริการคลาวด์ภาครัฐมีประโยชน์อย่างไร เพราะล่าสุดนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี ออกมาประกาศเดินหน้ายกเครื่อง “7 flagships” เปลี่ยนเศรษฐกิจ และ สังคมไทย

ระบบบริการคลาวด์ภาครัฐ หรือ (Cloud First Policy) เป็นหนึ่งในแนวทางที่รัฐบาลชุดนี้เดินหน้าผลักดันเป็น Cloud Hub ของภูมิภาคมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประเทศ ที่ทันสมัย มั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ยกระดับการทำงานภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

เป้าหมายระบบบริการคลาวด์ภาครัฐ

• ให้บริการระบบคลาวด์เพื่อพัฒนาการบริการประชาชน ไม่น้อยกว่า 220 กรม 75,000 VM

• ประหยัดงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลของประเทศ 30 – 50%

• ส่งเสริมการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล และการใช้ประโยชน์ Big Data

• สนับสนุนท้องถิ่นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทำงานนอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนด้านคลาวด์ของประเทศ ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ประโยชน์ ระบบบริการคลาวด์ภาครัฐ

 

ระบบบริการคลาวด์ภาครัฐมีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ประโยชน์ต่อภาครัฐ การบริหารการจัดการระบบเครือข่ายและระบบในการให้บริการภาคประชาชนของหน่วย งานรัฐมีแนวโน้มดีขึ้น สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาพเกิดเหตุภัยพิบัติ และสามารถประหยัดงบประมาณทางด้านการลงทุนระบบได้อย่างน้อย 30% จากตัวเลขที่ในระดับโลกประเมินมาแล้วระยะยาว
  • เมื่อมีการรวมระบบงานต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ เข้าสู่ Government Cloud Service แล้วจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายตามไปด้วย เสริมสร้างความมั่นใจในการให้บริการ สามารถบริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะวิกฤติ หรือเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐเพื่อเป็น Smart Network ในอนาคต
  • ประโยชน์ต่อภาคประชาชนในการได้รับบริการจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ ระยะสั้นจะเกิดบริการของภาครัฐใหม่ๆ ให้บริการผ่านระบบออนไลน์เพื่อสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น โดยระบบจะมีการปรับแต่งให้มีความทันสมัยตลอดเวลา ระบบจะมีความเสถียรและให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องระยะยาวธุรกรรมทางด้านออนไลน์ของภาคประชาชนกับภาครัฐจะเติบโตขึ้น สามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ง่าย ลดความยุ่งยากและซับซ้อนในการให้บริการประชาชนด้วยระบบที่ทำงานอย่างมีแบบ แผนเป็นขั้นตอนชัดเจน.

ที่มา: กระทรวงดีอี