แนะวางแผนพัฒนา ‘สมาร์ทซิตี้-เดินทางอนาคต’ ด้วย Virtual Twin

16 มิ.ย. 2566 | 17:58 น.
อัปเดตล่าสุด :16 มิ.ย. 2566 | 18:14 น.

แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ชี้ทั่วโลกเผชิญปัญหาการขยายตัวของเมือง กระทบเศรษฐกิจ มลพิษอากาศ คุณภาพชีวิตลดลง กดดันเร่งพัฒนาเมืองอัจฉริยะและการเดินทางในอนาคต แนะวางแผนด้วย Virtual Twin

นายอิค ฮอค อึง ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจบริการสาธารณะและเมือง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ เปิดเผยว่า จากข้อมูลในรายงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (หรือ UNESCAP) ที่ระบุไว้ว่า อัตราการขยายตัวของเมือง (Urbanization) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงถึง 49% ในปี 2561 และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 56% ในปี พ.ศ. 2573 ขณะที่ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ที่คาดว่าภายในกลางศตวรรษนี้จะมีประชากรทั่วโลกถึง 70% อาศัยอยู่ในเขตเมือง เช่นเดียวกับประเทศไทย ข้อมูลจาก Statista ระบุในปี 2564 มีประชากรในเขตเมือง 52.16%

การคาดการณ์ด้านการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วจากข้อมูลข้างต้น จะส่งผลให้ประเทศไทยประสบปัญหาด้านการสัญจร เนื่องจากความต้องการการขนส่งที่เพิ่มขึ้นทำให้ยานพาหนะบนท้องถนนมีจำนวนเพิ่มตาม ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งเดิมที่ใช้งานมานานหลายสิบปีและต้องใช้รองรับการเติบโตของประชากรในเมืองที่เพิ่มขึ้น

แนะวางแผนพัฒนา ‘สมาร์ทซิตี้-เดินทางอนาคต’ ด้วย Virtual Twin

 “การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วคือการจราจรติดขัด ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งภาคเศรษฐกิจ ผลผลิตลดลง สร้างมลพิษทางอากาศ และคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองถดถอย จากข้อมูลของ UNESCAP ยังระบุว่า “ภาคการขนส่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นใช้พลังงานมากกว่า 25% ของพลังงานทั้งหมดที่มีในประเทศ และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ”

ความท้าทายมากมายของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อให้เกิดกระแสการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และนำโซลูชั่นการเดินทางในอนาคต (Future Mobility Solutions) มาปรับใช้อย่างเร่งด่วน และด้วยโซลูชัน Smart City จะทำให้เมืองในอนาคตต้องการก้าวไปสู่ความยั่งยืนและยืดหยุ่นยิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น

พลังงานยั่งยืน แกนหลักเมืองอัจฉริยะ

ทางเลือกการเดินทางในอนาคตรูปแบบใหม่ๆ ล้วนพึงพาการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า อาทิ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) รถยนต์ไร้คนขับ (AV) และยานพาหนะที่บินขึ้น-ลงได้ในแนวดิ่ง (EVTOL) เมืองในอนาคตเป็นเมืองที่ไม่ใช่แค่การสร้างพลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืนเพื่อรองรับการใช้งานของรถยนต์ EV และปรับไปสู่รูปแบบการเดินทางใหม่ๆ เท่านั้น แต่ต้องช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และป้องกันไฟฟ้าดับด้วย

 “การสร้างพลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืนเป็นแกนหลักของเมืองอัจฉริยะและกลยุทธ์การเดินทางในอนาคต ซึ่งควรเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของรัฐบาลประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ในการสร้างความยืดหยุ่นและพัฒนาเป็นเมืองที่น่าอยู่มากขึ้นในวันหน้า”

EV-AV โซลูชั่นการเดินทางในอนาคต

ปัจจุบัน ด้วยวิวัฒนาการของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเดินทางได้ระยะไกลขึ้นด้วยการชาร์จอย่างรวดเร็วเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม ในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศไทย ซึ่งตลาด BEV ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ภาครัฐและภาคธุรกิจต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จของเมือง เพื่อขจัดความลังเลของผู้บริโภคในการเปลี่ยนใจมาใช้รถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) เป็น BEV

รถยนต์ไร้คนขับ (AV) เป็นอีกกุญแจสำคัญของการพัฒนาการเดินทางในอนาคตแบบผสมผสาน ซึ่งความเป็นจริงแล้ว กระทรวงการขนส่งทางบกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่า AV นั้นน่าใช้กว่ายานพาหนะแบบเดิม เนื่องจากความพร้อมของยานพาหนะที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อน ช่วยลดภาระความเหนื่อยล้าของคนขับซึ่งเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุมากมายบนท้องถนน นอกจากนี้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อมตลอดการเดินทางช่วยให้เกิดความแม่นยำในการตัดสินใจและตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมขณะขับขี่ได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ดีรถยนต์ไร้คนขับที่เราเห็นกันในวันนี้นั้นยังมีศักยภาพอยู่อีกมาก จากพื้นฐานปัจจุบันที่ทำงานเสมือนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์รับรู้สภาพแวดล้อม ทว่าสภาพแวดล้อมในเมืองยังไม่อัจฉริยะพอ โดยเมืองอัจฉริยะในอนาคตจะมีสัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ เสาไฟอัจฉริยะ และป้ายรถเมล์อัจฉริยะที่ติดตั้งตัวปล่อยสัญญาณเพื่อสื่อสารกับรถ AV เพื่อดำเนินการและรับรู้ล่วงหน้า สำหรับรถ AV เจเนอเรชั่นถัดไป จะมีการติดตั้งเทคโนโลยี Vehicle-To-Everything (V2X) ช่วยให้รถสามารถสื่อสารกับยานพาหนะอื่น โครงสร้างพื้นฐาน และเครือข่ายได้ V2X ใน AV จะเป็นสุดยอดนวัตกรรมที่ช่วยขจัดปัญหาการจราจรติดขัด ปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนน และเพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตในเมือง

แพลตฟอร์ม Virtual Twin สามารถรองรับการทดสอบเสมือนจริงของ AV โดยจำลองสถานการณ์ ‘จะเกิดอะไรจะเกิดขึ้น… ถ้า… (หรือ What-if Scenario)’ ซึ่งความสามารถของโซลูชันนี้ยังจำลองและทำความเข้าใจว่า AV จะตอบสนองอย่างไรเมื่ออยู่ใกล้สัญญาณไฟจราจร รถฉุกเฉิน ผู้ขับขี่รถยนต์และคนเดินเท้าที่ไม่เคารพกฎจราจร

การจำลองจะทดสอบข้อมูลจำนวนมากที่มาจากเซ็นเซอร์และกล้อง IoT ในสถานการณ์ต่างๆ อาทิ การโต้ตอบระหว่างรถกับรถและระหว่างคนกับรถ สามารถช่วยทดสอบยานพาหนะเป็นระยะทางหลายล้านไมล์ในโลกเสมือนจริง 3 มิติ ซึ่งเทคโนโลยี Virtual Twin สามารถย่นระยะเวลาในการออกสู่ตลาดแก่ผู้ผลิต AV และช่วยสร้างความมั่นใจและความไว้วางใจกับหน่วยงานของรัฐรวมถึงผู้บริโภคได้

“แพลตฟอร์ม Virtual Twin ของแดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ช่วยจำลองสถานการณ์ที่รถยนต์ไร้คนขับอาจเผชิญท่ามกลางสถานการณ์การจราจรบนท้องถนนแต่ละวันเพื่อปรับเทียบประสิทธิภาพ”

ยานพาหนะไฟฟ้าบินได้ (EVTOL) อนาคตอันใกล้นี้

อีกไม่นานนี้เราอาจได้เห็นยานพาหนะไฟฟ้าที่บินขึ้น-ลงได้ในแนวดิ่ง (หรือ Electric Vehicle Take-Off and Landing หรือ EVTOL) ในเมืองต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน โดยนวัตกรรมนี้จะเพิ่มความซับซ้อนด้านการจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของเมือง โดยหน่วยงานที่ดูแลเมืองจำเป็นต้องพิจารณาบริเวณจุดขึ้น-ลง (Vertiport) รวมถึงเส้นทางการบินเพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและมลพิษทางเสียงที่เพิ่มขึ้น

เทคโนโลยี Virtual Twin สามารถช่วยให้หน่วยงานในเขตเมืองวางแผนด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจุดขึ้นบินและลงจอด นอกจากนั้นยังสามารถใช้ออกแบบและการผลิต EVTOL เพื่อปรับ ปรุงประสิทธิภาพการขับเคลื่อนและการใช้พลังงาน ลดเสียงรบกวน และตรวจสอบความปลอดภัยของยานพาหนะภายใต้สภาวะต่างๆ รอบด้าน

“ด้วยเทคโนโลยี Virtual Twin และการจำลองเสมือนจริง บริษัทต่างๆ จะสามารถคาดการณ์ระดับเสียงของยานพาหนะทั่วพื้นที่การบิน และประเมินพฤติกรรมการบินในสภาพแวดล้อมเมืองที่ซับซ้อนได้”

เพิ่มประสิทธิภาพสถานีชาร์จ EV

ด้วยการทำงานร่วมกันของนักวางผังเมือง ผู้ให้บริการด้านพลังงาน และผู้ผลิตรถยนต์ บนแพลตฟอร์ม Virtual Twin จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานสถานีการชาร์จ EV เพื่อตอบสนองความต้องการของเมืองได้โดยไม่ต้องลงทุนหรือสร้างจุดชาร์จมาก/น้อยจนเกินไป เนื่องจากโซลูชัน Virtual Twin สามารถช่วยวางแผนและวัดความสามารถการเข้าถึงสถานีชาร์จ EV ผ่านพารามิเตอร์หลัก เช่น ระยะทาง จำนวนประชากร และโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่

การใช้งาน Virtual Twin ช่วยองค์กรวิเคราะห์ได้ถึงระดับจุลภาคสำหรับวางแผน ออกแบบ และวิเคราะห์ วิธีที่ยานพาหนะเฉพาะแบบและผู้คนสามารถเข้าถึงสถานีชาร์จและตำแหน่งจุดชาร์จได้ในอาคาร