วันนี้ 15 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้เปิดประมูลวงโคจรดาวเทียมจำนวน 5 แพ็คเกจ โดยประมูลเริ่มในเวลา 10.00น. ใช้เวลาประมูลทั้งสิ้น 31 นาที ซึ่งผู้ชนะการประมูลประกอบด้วย
ชุดที่ 1 ประกอบด้วย วงโคจร 50.5E (ข่ายงาน C1 และ N1) และวงโคจร 51E (ข่ายงาน 51) ราคาเริ่มต้นการประมูล 374 ล้านบาทเศษ ไม่มีผู้เสนอราคา
"ไทยคม" คว้าแพ็คเกจชุดที่ 2 และ 3
ชุดที่ 2 ประกอบด้วย วงโคจร 78.5E (ข่ายงาน A2B และ 78.5E) ชนะประมูลในราคา 380,017,850.00 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้นการประมูล 360 ล้านบาทเศษ ผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด
ชุดที่ 3 ประกอบด้วย วงโคจร 119.5E (ข่ายงาน IP1, P3 และ 119.5E) และวงโคจร 120E (ข่ายงาน 120E) ชนะประมูลในราคา 417,408,600.00 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้นการประมูล 397 ล้านบาทเศษ (เป็นการแก้ปัญหา Thaicom 5) ผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด
"์NT" คว้าชุดที่ 4
ชุดที่ 4 วงโคจร 126E (ข่ายงาน 126E) ชนะประมูลในราคา 9,076,200.00 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้นการประมูล 8 ล้านบาทเศษ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
และชุดที่ 5 วงโคจร 142E (ข่ายงาน G3K และ 142E) ราคาเริ่มต้นการประมูล 189 ล้านบาทเศษ ไม่มีผู้เสนอราคา
ยอดรวมที่ประมูลได้รวม 806,502,000.00 ล้านบาท เริ่มประมูลตั้งแต่เวลา 10.00 น. ใช้เวลาในการประมูลรวมทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 3ุ6 นาที สำหรับผู้เข้าประมูล จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พร้อม เทคนิคอล เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งมี นายสมบัติ แสงชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เข้าร่วมประมูล แต่ไม่สู้ราคาประมูลวงโคจรดาวเทียม
ล่าสุด พลอากาศโทธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า บอร์ด กสทช.ต้องรับรองผลภายใน 7 วัน หลังจากนั้นภายใน 90 วัน เอกชนที่ชนะประมูลวงโคจรต้องชำระค่าประมูลงวดที่สองชำระอีก 4 ปี และ งวดที่สาม สำหรับอีก 6 ปี ใบอนุญาต 20 ปี สำหรับประมูลวงโคจรดาวเทียมครั้งนี้มีผู้เล่นรายใหม่เพิ่มมากขึ้นมีจำนวนวงโคจรดาวเทียม 3 วงโคจร ทำให้ประชาชนได้โยชน์จากเดิมที่ผูกขาดรายเดียว อีกทั้งเทคโนโลยีเกิดขึ้น คือ บรอดคาสติ้ง และ บอร์ดแบนด์ อีกด้วย