Ookbee ปลื้มแอป Joylada ไตรมาสแรก โต 77% เล็งต่อยอด Metaverse

20 มิ.ย. 2565 | 14:18 น.
อัปเดตล่าสุด :20 มิ.ย. 2565 | 21:38 น.

Ookbee โชว์ผลงาน แอป Joylada กวาดรายได้ไตรมาสแรก โต 77% ตั้งเป้าสู่การเป็นคอมมูนิตี้นักเล่าเรื่องเต็มรูปแบบ ชูฟีเจอร์ใหม่ Metaverse ให้ครีเอเตอร์กว่า 1 ล้านบัญชี เปิดประสบการณ์สนุก ภายในปี 2565

นายณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Ookbee กล่าวว่า Joylada แอปพลิเคชั่นนิยายแชทสุดฮิตในเครือ Ookbee ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นไทย มีอดผู้ใช้งานปัจจุบันมากกว่า 10 ล้านดาวน์โหลด ขณะนี้ได้ปรับกลยุทธ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งาน และในไตรมาสแรกของปี 2565 สามารถทำยอดขายได้เติบโตกว่า 77% 

Ookbee ปลื้มแอป Joylada ไตรมาสแรก โต 77% เล็งต่อยอด Metaverse

ปัจจุบัน Joylada มี Content Creator มากกว่า 1 ล้านบัญชี และฟีเจอร์น้องใหม่อย่าง Live Caster อีกกว่า 100,000 บัญชี โตขึ้น 314% จากปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากการทำตลาดภายในประเทศแล้ว Joylada ยังขยายฐานผู้ใช้งานไปยังต่างประเทศทั้ง อังกฤษ อินโดนีเซีย และลาว อีกด้วย 

Ookbee ได้วาง roadmap ทางแพลตฟอร์ม เตรียมก้าวเข้าสู่การเป็นคอมมูนิตี้นักเล่าเรื่องที่มีฟีเจอร์ครบที่สุดภายในปีนี้ โดยจะเพิ่มส่วนของ Metaverse ที่จะเป็นตัวช่วยหลักของการสร้างสังคมออนไลน์รูปแบบใหม่อย่างแท้จริง ที่จะตอบโจทย์ผู้ใช้งานทั้งในส่วนของนิยาย, ไลฟ์ และ คอมมูนิตี้ อีกทั้งยังมี avatar ที่จะเข้ามาช่วยสร้างสรรค์ตัวละครของนิยาย รวมถึงการสร้างตัวตนของผู้ใช้งานใน Joylada อย่างไม่มีขีดจำกัด 

Ookbee ปลื้มแอป Joylada ไตรมาสแรก โต 77% เล็งต่อยอด Metaverse

"เราอยากพัฒนา Joylada ให้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเล่าเรื่องในรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มเติมจากเดิม จึงมีการเอาเรื่องของ live และ metaverse เข้ามา โดยที่เราจะไม่ละเลยเรื่องของนิยายและนักเขียน ที่เป็นจุดเริ่มต้นของแอปด้วย โดยในปีที่ผ่านมา เราได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆในทุกๆส่วนทั้ง ขานิยายเอง และขา Live ด้วยมองเห็นว่า ทั้ง 2 ส่วนนี้เป็นองค์ประกอบที่ส่งเสริมกัน อย่างนักเขียนก็สามารถมาพูดคุยกับแฟนๆ หรือนักอ่านได้ในที่เดียวกัน”

นายศาสตรา วิริยะเจริญธรรม Managing Director, Joylada อธิบายเพิ่มเติม การสร้างคอมมูนิตี้ไม่ได้ทำเพื่อเน้นยอดขายเป็นหลัก แต่ยอดขายมันตามมาเอง และนั่นคือสิ่งที่ทำให้ยังสามารถรักษาความเป็น Joylada อยู่ได้ ในแบบที่ไม่หารายได้จากชื่อเสียงศิลปิน และ มี content ที่พยายามคัดกรองสำหรับเยาวชน เพื่อให้ผู้ปกครองสบายใจที่จะให้ลูกหลานเข้ามาใช้แพลตฟอร์มนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น และ Metaverse จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คอมมูนิตี้เราสมบูรณ์ขึ้นไปอีก

 
สำหรับ ฟีเจอร์การเล่าเรื่องปัจจุบัน ของ Joylada ประกอบด้วย

  • Novel feature

นิยายรูปแบบแชท (Chat style novel) และนิยายแบบบรรยาย (Long-form novel) ภายในแพลตฟอร์ม Joylada จะประกอบไปด้วย นิยายแบบ UGC ที่นักเขียนสามารถเผยแพร่นิยายได้ด้วยตัวเองได้ภายในกฎของคอมมูนิตี้  นิยายที่มาจาก Publisher partnership program ที่เปิดโอกาสให้สำนักพิมพ์ลงโปรโมตนิยายในแพลตฟอร์มเพื่อกระตุ้นยอดขายของตัวสำนักพิมพ์เอง รวมถึง Killing feature ที่มาใหม่ อย่าง JOY Choice ที่ให้ผู้เขียนนิยายสามารถต่อยอดงานเขียนนิยายได้หลายทางและให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมในการกำหนดตอนจบได้เองอย่างอิสระ มีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

  • Live feature

LIVE ทั้ง Audio และ VDO ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ภายในแพลตฟอร์ม เพื่อเปิดโอกาสให้นักเขียน และนักอ่านได้สื่อสารกันมากขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมผู้ที่มีทักษะในการเล่าเรื่องนอกเหนือจากงานเขียน สามารถเข้ามาใช้งาน ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านรูปแบบเสียง  พร้อมรับรายได้ตอบแทนจากบรรดาแฟนๆหรือกลุ่มผู้ติดตาม อีกทั้งยังมี Feature PK ดวลไมค์เล่าเรื่องเล่ากันอย่างเมามันส์เอาใจกลุ่ม Live streamer และ Live official ที่ยกขบวน social influencer มาสร้างสีสันและสร้างแรงบันดาลให้กับ user ในวงกว้าง

  • JOY Verse

Mini Metaverse ฟีเจอร์ที่ให้เหล่านักเล่าเรื่อง หรือนักสร้างสรรค์ผลงาน ทั้งในและนอกแพลตฟอร์ม ได้มาพบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือเข้าร่วมอีเว้นท์สนุกๆกับทางแพลตฟอร์ม  โดยเป้าหมายหลักที่ Joylada ให้ความสำคัญ คือการเชื่อมผู้ใช้งานเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ไหน ก็สามารถมาเจอกันและทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ผ่านมาได้มีการเชิญทั้งนักเขียนและ DJ เข้ามาทดลองใช้งาน Joyverse ซึ่งได้ผลตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี

 

หัวใจสำคัญของ Joylada ที่คำนึงถึงอีกอย่างนึงคือการทำ CSR และ การให้ส่วนแบ่งรายได้ที่ยุติธรรม เป็นการส่งเสริมเส้นทางอาชีพให้แก่กลุ่มนักสร้างสรรค์แบบยั่งยืน โดยปีนี้ Joylada ได้ปรับส่วนแบ่งรายได้ให้นักเขียนจากเดิมที่ 50% ไปเป็น 70% เพื่อเป็นการขอบคุณและสนับสนุนผู้สร้างสรรค์ผลงานในแวดวงนักเขียนนิยายให้มีกำลังใจในการผลิตผลงาน นอกเหนือไปจากนี้ ยังจัดกิจกรรมส่งเสริมเส้นทางสู่การเป็นนักเขียนนิยายมืออาชีพให้แก่กลุ่มนักเขียนรุ่นใหม่ ผ่านโครงการ Joy Academy reality ที่เฟ้นหานักเขียนนิยายดาวรุ่งมาประดับวงการเพิ่มเติมอีกด้วย