นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการยกระดับการใช้พลังงานทดแทนสู่ประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านศูนย์การเรียนรู้ถ่ายทอดและผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทน
โดยศูนย์ดังกล่าวดำเนินการทั้งด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพลังงาน และการผลิตเทคโนโลยีพลังงานงานทดแทน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถผลิตเองได้มากกว่า 30 รายการ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการศูนย์การเรียนรู้ฯ เช่น เตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูง ถัง 200 ลิตร
ถังหมักก๊าซชีวภาพขนาด 200 ลิตร เตาแก๊สชีวมวล เตาซุปเปอร์อั้งโล่ เตาเผาขยะ เตาน้ำมันเหลือใช้ เตาจรวด จักรยานสูบน้ำ บ่อหมักก๊าซชีวภาพ เครื่องสับย่อยวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์หนึ่งในการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานคือการเชื่อมโยงเป้าหมายการทำงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้เชิงพื้นที่ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหาร การมีศูนย์การเรียนรู้ถ่ายทอดและผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในพื้นที่ ทำให้เกิดการพัฒนาด้านการจัดการพลังงาน
และสามารถเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น เกิดการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายต่างๆ บูรณาการการทำงานร่วมกันแบบมีชุมชนเป็นแกนกลาง สร้างชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน โดยแต่ละปีมีนักเรียน-นักศึกษาเข้าศึกษาดูงาน และรับการอบรม เฉลี่ยปีละ 1,200 คน มีประชาชนที่สนใจทั้งภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง เข้ารับการอบรม เฉลี่ยปีละ 950 คน ซี่งทำให้ศูนย์ฯ มีรายได้มาใช้ในการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน
ดร.มณฑล หัสดินทร์ พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า สำนักงานพลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินงานตามแผนพลังงานชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน สร้างการรับรู้ข่าวสารด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตั้งแต่ปี 2550 และได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ถ่ายทอดและผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนจ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 เพื่อให้ความรู้กับคนในชุมชนได้นำไปใช้ในการลดใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ ทั้ง ไฟฟ้า น้ำมัน และ ก๊าซหุงต้ม
สำหรับศูนย์การเรียนรู้ถ่ายทอดและผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนแบ่งเนื้อหาการเรียนรู้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพลังงาน มี 6 หลักสูตร ประกอบด้วย
และส่วนที่ 2.การผลิตเทคโนโลยีมี 4 หลักสูตร ประกอบด้วย
นายประกอบ ชูไชยยัง ประธานศูนย์การเรียนรู้ถ่ายทอดและผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทน กล่าวว่า วิกฤติพลังงานเป็นเรื่องสำคัญกระทบต่อครัวเรือนโดยตรง การถ่ายทอดความรู้ค่าพลังงานผ่านกระบวนการต่างๆ ของแผนพลังงานชุมชน ทำให้ทราบว่าแต่ละครัวเรือนมีรายจ่ายค่าพลังงานมากถึง 31% ทั้งจาก ไฟฟ้า น้ำมัน แก๊ส แต่หลังจากได้รับการอบรมการใช้งานและการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนจากพลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชาชนมีองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนเพื่อลดรายจ่ายค่าพลังงานในครัวเรือน รวมถึงได้เรียนรู้การผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทน จนสามารถผลิตเองได้มากกว่า 30 เครื่อง สร้างรายได้กว่า 33,000 บาทต่อปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง