"อินเดีย" จ่อขึ้นแท่นเบอร์ 1 โลกต้องการใช้น้ำมันมากสุดแซงสหรัฐฯ-จีน

22 พ.ย. 2567 | 07:53 น.
อัปเดตล่าสุด :22 พ.ย. 2567 | 07:53 น.

"อินเดีย" จ่อขึ้นแท่นเบอร์ 1 โลกต้องการใช้น้ำมันมากสุดแซงสหรัฐฯ-จีน PRISM Experts กลุ่มปตท. เผยมีการใช้งานภาคขนส่งมากที่สุด 58% รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรม 28% คาดปีนี้การเติบโตทั่วโลกที่ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

PRISM Experts ของกลุ่มปตท.วิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มพลังงานในอนาคต (Market Outlook Session) โดยมองว่าอนาคตอันใกล้นี้ อินเดียจะเป็นประเทศที่มีความต้องการใช้น้ำมันเยอะสุด แซงหน้าสหรัฐอเมริกา จีน และ EU จากปัจจุบันมีการบริโภคอันดับที่ 4 โดยการใช้งานน้ำมันมีการใช้งานภาคขนส่งมากที่สุดถึง 58% รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรม 28% ทำให้ในปีนี้การเติบโตทั่วโลกที่ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการว่าการเติบโตเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ 3.2% ถือว่าคงที่เมื่อเทียบกับปีนี้ทั้ง ๆ ที่เห็นปัจจัยที่การสนับสนุนเศรษฐกิจโตแต่อัตราการเติบโตยังคงที่เนื่องจากยังมีปัจจัยหลายปัจจัยที่เป็นแรงกดดันเศรษฐกิจคือ ปัญหาหนี้สาธารณะตั้งแต่โควิดเป็นต้นมา เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ดังนั้น การจะเศรษฐกิจโลกเติบโตคือนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐในรอบ 4 ปี

นโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์จะแก้ไขการขาดทุนการค้าโดยเพิ่มกำแพงภาษีสินค้านำเข้า ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากสุดคือจีน และทำให้สินค้าอื่นได้รับผลกระทบอีก ซ้ำเติมประเทศจีนจะเห็นความอ่อนแอจากเศรษฐกิจจีน อีกทั้งยังเผชิญกับปัญหารุมเร้าภายในอาทิ วิกฤติอสังหาฯ และหนี้ครัวเรือน หากจีนแก้ปญหาได้เป็นรูปธรรมการใช้น้ำมันของคนจีนก็จะเพิ่มขึ้นในปีหน้าเช่นกัน ส่วนราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงมีความผันผวนโดยเฉพาะสงครามรัสเซีย-ยูเครน

"อินเดีย" จ่อขึ้นแท่นเบอร์ 1 โลกต้องการใช้น้ำมันมากสุดแซงสหรัฐฯ-จีน

“อนาคตการใช้น้ำมันของคนจีนอาจไม่รุ่งเรืองเหมือนที่ผ่านมา แต่จะเป็นประเทศอินเดียขึ้นมาแทนตั้งแต่ปี 2325 น่าจะถึง 75% ของการใช้ทั้งโลกในปี 2025-2030 มาจากจำนวนประชากรที่สูง และมีประชากรวัยทำงานเยอะกว่าประเทศอื่นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย อีกทั้งอินเดียยังเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเซาท์อีสเอเชียและภูมิภาคตะวันออกกลาง มีระบบไฟเบอร์ออปติกที่พัฒนาและรัฐบาลสนับสนุนให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ 100%”

นอกจากนี้ หัวใจหลักที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ โลกปัจจุบันเปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนเป็น 2 ทาง ได้แก่ ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และใช้คู่กับพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ฟอสซิลสูงประมาณ 73% ของพลังงานทั่วโลก 
 

ขณะที่พลังงานหมุนเวียนมีแค่ 27% เท่านั้นแต่ในทศวรรษนี้อาจจะเปลี่ยนภาพการใช้พลังงานไปเลยคือพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนกว่า 53% มากกว่าครึ่งของพลังงานทั่วโลกในปี 2040

อย่างไรก็ดี การปฏิวัติอุตสาหกรรมแต่ละครั้งเปลี่ยนภาพการใช้ชีวิตของมนุษย์ทุกคน และในทศวรรษนี้ทั้งที่ 4 นี้ เป็นเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแบตเตอรี่จะมาเปลี่ยน ซึ่งมีข้อดีคือ ประสิทธิภาพสามารถบริหารต้นทุนได้ง่ายขึ้น จากข้อมูลพบว่าโลกมีการลงทุนพลังงานหมุนเวียนปีนี้โตถึง 25% ดังนั้น สิ่งสำคัญคือนโยบายรัฐบาลที่จะสนับสนุนเอกชนให้เปลี่ยนเทคโนโลยีและผู้บริโภคร่วมกันประหยัดไฟเพื่อให้มีพลังงานสะอาดเพิ่มมากยิ่งขึ้น