นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีนโยบายรื้อโครงสร้างพลังงานด้านก๊าซธรรมชาติครั้งสำคัญ โดยการแก้ไขการจัดสรรก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยให้เกิดความเป็นธรรมขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีสิทธิการใช้ก๊าซธรรมชาติราคาถูกจากอ่าวไทย
ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ได้ถูกนำมาหารเฉลี่ยกับราคาก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี (LNG) นำเข้าจากต่างประเทศ และแหล่งอื่น หรือที่เรียกว่าพูลก๊าซ(Pool Gas) ที่เป็นฐานต้นทุนที่ผลิตไฟฟ้าคนทั้งประเทศ ซึ่งมีราคาสูงกว่า
กระทั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) สั่งแก้ไข โดยโยกก๊าซธรรมชาติที่ได้จากอ่าวไทยป้อนการผลิตแอลพีจีให้ประชาชนใช้หุงต้มดำรงชีวิตในราคาถูกที่สุดประมาณ 219 บาทต่อล้านบีทียู
และให้ก๊าซที่เหลือป้อนการผลิตปิโตรเคมี เป็นราคาพูลก๊าซ ประมาณ 362 บาทต่อล้านบีทียู ส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าของประชาชนลดลงถาวรประมาณ 11.50 สตางค์ต่อหน่วย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดก๊าซธรรมชาติ พบว่า
การบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติตามหลักเกณฑ์ปัจจุบันเป็นการคิดราคา Pool Gas ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันโดยนำปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ได้จาก 3 แหล่ง คือ
ทำให้ราคา PoolGas เท่ากับ 387 บาท/ล้านบีทียู
ก๊าซธรรมชาติที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซฯ ยังคงใช้ราคาก๊าซธรรมชาติเท่ากับก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยที่ 219 บาท/ล้านบีทียู
ภาคไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง (NGV) ใช้ ราคาPoolGas เท่ากับ 387 บาท/ล้านบีทียู
สำหรับการบริหารจัดก๊าซธรรมชาติตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. (Single Pool) และช่วยเหลือ LPG เชื้อเพลิง (ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566) ได้แก่
นำปริมาณก๊าซธรรมชาติจัดหาได้จาก 3 แหล่งคือ
ทำให้ราคา PoolGas เท่ากับ 362 บาท/ล้านบีทียู
โรงแยกก๊าซธรรมชาติ (ไม่รวมส่วนที่นำไปผลิต LPG ภาคเชื้อเพลิง) ภาคไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง (NGV) ใช้ราคา PoolGas เท่ากับ 362 บาท/ล้านบีทียู
LPG ภาคเชื้อเพลิงใช้ราคา Gulf Gas ที่ 219 บาท/ล้านบีทียู
ประมาณการราคาก๊าซธรรมชาติและผลกระทบสำหรับรอบเดือน มกราคม 2567 ถึงเดือนเมษายน 2567 ตามแนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติตามข้อเสนอของ กกพ. และช่วยเหลือ LPG ภาคเชื้อเพลิง จะทำให้ราคา Pool Gas เดิมมีราคาลดลงเหลือ 362 บาท/ล้านบีทียูคาดว่าต้นทุนก๊าซฯ ที่ลดลงจะทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงได้ประมาณ 0.1150 บาท/หน่วย
โดยไม่ส่งผลกระทบต่อรายรับของกองทุนน้ำมันฯ ที่นำไปช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยผู้ใช้ก๊าซฯ ทุกรายใช้ก๊าซฯ ในราคาที่ถูกลงยกเว้นโรงแยกก๊าซฯ จะมี
ภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ประมาณ 10,921 ล้านบาท
ด้านมติกพช. เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ประกอบด้วย
อย่างไรก็ตาม ฐานเศรษฐกิจพบว่า โครงสร้างราคาก๊าซใหม่ดังกล่าวจะเสนอเข้าบอร์ด ปตท. พิจารณาวันที่ 12 ม.ค. 67
ข่าวที่เกี่ยวข้อง