zero-carbon

“เงิน เวลา เทคโนโลยี” คีย์สำคัญ Net Zero องค์กร ในยุคโลกเดือด

    “เงิน เวลา เทคโนโลยี” ถือเป็นกุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero สำหรับองค์กร ในยุคโลกเดือด

ปัญหาใหญ่ระดับโลกอย่าง “ภาวะโลกเดือด” ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ การเข้าถึง เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero เป็นสิ่งสำคัญในการรับประกันว่าอุณหภูมิโลกจะไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดโดยข้อตกลงปารีส ซึ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ช่วยให้เราสามารถบรรเทาผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างโลกที่ยั่งยืนมากขึ้นได้ แต่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะต้องลดลง

หากเราต้องการบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 หมายถึงการต้องพึ่งพาความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาจากทุกองคาพยพ ทุกองค์กรต้องให้ความสนใจ การเดินทางสู่ความยั่งยืนไม่เพียงแต่เป็นความรับผิดชอบขององค์กรเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการดำเนินงานที่พิสูจน์ได้ในอนาคต

งาน “SUSTAINABILITY FORUM 2024” ในหัวข้อ "Net Zero Milestone Plan" จัดโดย "กรุงเทพธุรกิจ" ถือเป็นฟอรัมที่ชวนหน่วยงานจากหลายภาคส่วนมาร่วม เรียนรู้ ถอดบทเรียน หาคำตอบของยุทธศาสตร์รับมือความรวนเรของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะใน Panel Discussion : Net Zero Millstone Plan

“SUSTAINABILITY FORUM 2024” ในหัวข้อ "Net Zero Milestone Plan" จัดโดย "กรุงเทพธุรกิจ"

 

คุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก สะท้อนภาพความเร่งด่วนของวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ความเสี่ยงคือการไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในจำนวนมาก เนื่องจากต้องดำเนินการหลายขั้นตอนและต้องใช้ “เงิน” จำนวนมาก ทำให้ธุรกิจ/องค์กรตั้งเป้าได้ยาก แต่ก็มีลู่ทางโดยเฉพาะ ข้อตกลงปารีส มาตรา 6 เปิดให้โลกช่วยกัน ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วเเละประเทศกำลังพัฒนา เกิดกลไกการตลาด

คุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

"โลกมีความเสี่ยง การลดก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก ต้องทำหลายขั้นตอน กว่าจะลดได้ต้องใช้เงินเยอะ หลายบริษัทตั้งเป้ายาก คำถามคือ แล้วใครจ่าย ตอนนี้พูดเยอะแต่หาสปอนเซอร์ไม่เจอ ทำอย่างไรจะอยู่กันต่อไปได้ ก็ต้องทำกันทุกคน นี่คือความยาก ต้องมีกฎเกนฑ์รัฐ ประชาชนถึงจะเกิดการบูรณาการ สำหรับประเทศไทยมีความเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ถ้านำวิกฤตินี้มาเป็นจุดลงทุนโดยเฉพาะธุรกิจสีเขียว พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ซึ่งมั่นในว่าไทยพร้อมเปลี่ยนแต่ต้องมีคนมาช่วย"

สอดคล้องกับ คุณกลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อความยั่งยืน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธาน Carbon Markets Club ที่ยกความท้าทายที่บางจากฯ ให้ความสำคัญ คือ การทำ ESG ในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จากโรงกลั่นขยายมาสู่สถานีน้ำมันชุมชนโดยสหกรการเกษตร มีปั๊มน้ำมัน เข้าไปในทุกธุรกิจ โดยต้องไม่มองแค่การทำ CSR  นอกจากนี้ก็ยังจำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ต้องดูแลโลกด้วย เพราะการเปลี่ยนผ่าน ต้องใช้ทั้งเวลา เทคโนโลยี และเงิน

คุณกลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อความยั่งยืน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธาน Carbon Markets Club

"เรายังต้องอยู่กับซอสซิลจะทำอย่างไรให้อยู่ได้  สำหรับตลาดคาร์บอนเป็นหนึ่งในเเผนบางจากที่จะไปสู่ปี 2050 วันนี้มีสมาชิกที่มีการซื้อขายเเละเกิดพลังงานทดเเทน ในช่วงเเรกเราตะหนักเพื่อซื้อขาย แต่พอทำไปมองว่าเป็นองความรู้ที่ผ่านช่องทางต่างๆ เพราะเราไม่ได้ไปเน็ตซีโร่คนเดียว เเต่ต้องไปด้วยกัน" 

สำหรับ บางจากฯ ขยายสถานีบริการน้ำมันสิ้นปีนี้ที่ 2,203 แห่ง พร้อมมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานสีเขียว โรงไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์พลังงานลม น้ำ ก๊าซธรรมชาติ ที่ดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ญี่ปุ่น ใต้หวัน ดำเนินธุรกิจต้นน้ำในนอร์เวย์ และหวังว่าจะนำประสบการณ์บริหารจัดการมาทำธุรกิจ

เช่นเดียวกันกับ คุณต้องใจ ธนะชานันท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั่งยืนเเละกลยุทธ์ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ฉายภาพเส้นทางการสู่เน็ตซีโร่ของไทยเบฟเวอเรจ โดยระบุว่า เส้นทางที่จะไปสู่เป้าหมายเน็ตซีโร่ยากขึ้น เนื่องจากมาตรฐานไม่นิ่ง ด้วยปัจจัยหลายอย่างทั้งหน่วยงานรัฐตรวจสอบมาตรฐานเข้มงวด นักลงทุน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาไทยเบฟก็ให้ความสำคัญกับ ESG มาตลอด ขณะที่เป้าหมายเน็ตซีโรของไทยเบฟระหว่างจะไปถึงปี 2030 มีแผนงานที่ชัดเจนทั้งเรื่องการลงทุน การทำงานร่วมกับเครือข่าย เช่น ร่วมเเม่ฟ้าหลวงฟื้นป่าชุมชน 

คุณต้องใจ ธนะชานันท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั่งยืนเเละกลยุทธ์ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

"การจะไปสู่เป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติสภาพอากาศต้องเร่งความเร็ว การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้มีความจำเป็นมาก"