กทม.อ่วม ค่าฝุ่น PM 2.5 วันที่ 11-17 ธ.ค.แนวโน้มพุ่ง มีผลกระทบสุขภาพ

11 ธ.ค. 2566 | 02:32 น.
1.1 k

ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพมหานคร วันที่ 11-17 ธันวาคมนี้ แนวโน้มพุ่ง กระทบกับสุขภาพ เช็คเลยพิกัดพื้นที่เขตใดต้องเฝ้าระวัง

กรมควบคุมมลพิษ คาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 วันข้างหน้า (วันที่ 11-17 ธันวาคม 2566)โดยระบุว่า แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 10-18 ธ.ค. 66 การระบายอากาศค่อนข้างไม่ดี (ยกเว้นวันที่ 18 ธ.ค. 66 การระบายอากาศดี) สภาวะใกล้ผิวพื้นปิดสลับเปิด จึงคาดว่าจะทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัว ทั้งนี้ได้คาดการณ์พื้นที่ที่้ต้องเฝ้าระวัง  ดังต่อไปนี้

 

วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2566 ฝุ่น PM 2.5 เริ่มกระทบสุขภาพ

พื้นที่เฝ้าระวัง

  • กรุงเทพเหนือ หลักสี่ จตุจักร
  • กรุงเทพใต้ คลองเตย พระโขนง บางนา
  • กรุงเทพกลาง พญาไท ดินแดง ห้วยขวาง 
  • กรุงเทพตะวันออก คลองสามวา มีนบุรี สะพานสูง
  • กรุงธนเหนือ ตลิ่งชัน บางกอกน้อย ทวีวัฒนา 
  • กรุงธนใต้ บางแค หนองแขม บางบอน

วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566 ฝุ่น PM 2.5 เริ่มกระทบสุขภาพ 

พื้นที่เฝ้าระวัง 

  • กรุงเทพตะวันออก
  • กรุงธนใต้

วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2566 ฝุ่น PM 2.5 เริ่มกระทบสุขภาพ 

พื้นที่เฝ้าระวัง 

  • กรุงเทพตะวันออก
  • กรุงธนใต้

วันพฤหัสบดี ที่ 14 ธันวาคม 2566 ฝุ่น PM 2.5 เริ่มกระทบสุขภาพ 

พื้นที่เฝ้าระวัง 

  • กรุงเทพตะวันออก
  • กรุงธนใต้

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 ฝุ่น PM 2.5 เริ่มกระทบสุขภาพ 

พื้นที่เฝ้าระวัง 

  • กรุงเทพตะวันออก
  • กรุงธนเหนือ

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับปานกลาง

พื้นที่เฝ้าระวัง 

  • กรุงเทพตะวันออก
  • กรุงธนเหนือ

วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2566 ฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับปานกลาง

พื้นที่เฝ้าระวัง 

  • กรุงเทพตะวันออก
  • กรุงธนใต้
     

ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพมหานคร วันที่ 11-17 ธันวาคมนี้ แนวโน้มพุ่ง กระทบกับสุขภาพ

สำหรับประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศ เช็คค่าฝุ่นละออง PM2.5 ก่อนออกจากบ้าน ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้ 

 

อนึ่งกรุงเทพมหานคร ได้มีข้อแนะนำด้านสุขภาพ ในกรณีค่าฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพดังนี้ 

คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป 

  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
  • จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
  • ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 

  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
  • เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

คุณภาพอากาศระดับสีแดง: มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทุกคน 

  • งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด