การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศทำให้อุณภูมิสูงขึ้น กำลังส่งผลกระทบกับ น้ำแข็งทะเลอาร์กติก สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ข้อมูลล่าสุดจากองค์การนาซา (NASA) ของสหรัฐฯ ระบุว่าขนาดของน้ำแข็งทะเลอาร์กติกอาจแตะขั้นต่ำที่สุดของปีนี้เมื่อวันที่ 19 ก.ย. ซึ่งถือเป็นปีที่มีระดับต่ำที่สุดอันดับ 6 นับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลผ่านดาวเทียม
ขณะเดียวกันองค์การฯ ระบุว่าขนาดของน้ำแข็งทะเลแอนตาร์กติกแตะขั้นต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 10 ก.ย. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น้ำแข็งควรขยายตัวด้วยอัตราเร็วขึ้นมากเพราะเป็นช่วงเดือนที่มืดมิดและหนาวเย็นมากที่สุด
คณะนักวิทยาศาสตร์เฝ้าติดตามความผันผวนตามฤดูกาลและรายปีเพราะน้ำแข็งในทะเลเหล่านี้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศขั้วโลกและบทบาทสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศโลก โดยทีมนักวิจัยจากองค์การฯ และศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐฯ ได้ใช้ดาวเทียมตรวจวัดน้ำแข็งในทะเลระหว่างละลายและแข็งตัวอีกครั้ง
องค์การฯ ระบุว่าขนาดของน้ำแข็งในอาร์กติกหดตัวจากสูงสุด 14.62 ล้านตารางกิโลเมตร อยู่ที่ 4.23 ล้านตารางกิโลเมตร ระหว่างเดือนมีนาคม-กันยายน 2023 ซึ่งปริมาณน้ำแข็งในทะเลที่สูญเสียไปนั้นมากพอจะปกคลุมทั่วทั้งสหรัฐฯ
ขนาดน้ำแข็งในทะเลรอบแอนตาร์กติกาแตะขั้นต่ำสุดประจำช่วงฤดูหนาวเมื่อวันที่ 10 ก.ย. ด้วยขนาด 16.96 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งลดลงจากสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 1986 ราว 1.03 ล้านตารางกิโลเมตร
วอลท์ ไมเออร์ นักวิทยาศาสตร์น้ำแข็งในทะเลจากศูนย์ข้อมูลฯ เปิดเผยว่า ขนาดของน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกหดตัวอย่างมาก และการขยายตัวของน้ำแข็งในทะเลนั้นลดต่ำลงเกือบทั่วทั้งทวีปเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลจาก "ภาวะอุณหภูมิสูง" ขึ้นมานานหลายทศวรรษ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง