zero-carbon

MQDC ย้ำต้องเร่งกู้วิกฤตโลกรวน  สู่คาร์บอนเป็นลบ

    MQDC ย้ำต้องเร่งกู้วิกฤตโลกรวน   สู่คาร์บอนเป็นลบ ก่อนการสูญพันธ์ุถึงคิวมนุษย์ แนวคิด มองไปข้างหน้า หากเราช่วยโลกใบนี้ให้เร็วขึ้น

 

โลกเผชิญความท้าทาย การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น จากภาวะโลกร้อนกลายเป็นภาวะโลกรวนที่หลายภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนต่างผลักดัน การมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่มีเป้าหมาย เป็นศูนย์ในปี2050    

  “ฐานเศรษฐกิจ”จัดงานสัมมนา Road To NET ZERO โอกาส & ความท้าทายทางธุรกิจวันอังคารที่ 5 กันยายน 2566 สยามพารากอน

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) ฉายภาพ หัวข้อ  “Net Zero-Carbon Credit ความท้าทายกับโอกาสทางธุรกิจ” ว่า แนวคิดของบริษัท มองไปข้างหน้า หากเราช่วยโลกใบนี้ให้เร็วขึ้นในฐานะบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ที่ทำให้สังคมก้าวไปสู่ Carbon Credit

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) ฉายภาพ หัวข้อ  “Net Zero-Carbon Credit  ความท้าทายกับโอกาสทางธุรกิจ” ว่า แนวคิดของบริษัท มองไปข้างหน้า หากเราช่วยโลกใบนี้ให้เร็วขึ้นในฐานะบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ที่ทำให้สังคมก้าวไปสู่ Carbon Credit  โดยมอง ว่า อาจสายไปนิดหนี่ง ในทางกลับกันต้อง ต้องเร่งช่วยโลกนี้ให้เร็วขึ้นเพื่อลดผลกระทบวิกฤตโลกรวน และในฐานะผู้ประกอบการใหญ่ ที่มีแนวคิดทำให้สังคม ก้าวไปสู่ โลก ที่มีการเปลี่ยนแปลง หากไม่ร่วมมือกันแก้ไข มองว่ากำลังเข้าสู่หายนะทางสภาพภูมิอากาศ    ที่ เป็นโอกาสสุดท้าย

“ปัจจุบันเรากระทำชำเรากับโลกที่มนุษย์อยู่ เราทำลายสัตว์ อื่นตาย สิ่งที่ตามมาคือ พืชสูญพันธุ์เราไม่มีอาหาร ตอนนี้เรากำลังทำลายโซนที่มนุษย์อยู่เป็นโซนที่ถูกทำลาย 50% แค่เพียง50ปีที่ผ่านมาหายไป ถ้าไม่แก้จะหายไปและสูญพันธ์เหมือนไดโนเสาร์”

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องพูดถึงมากที่สุดนั้นคือ คาร์บอนต้องเป็นลบ ไม่เพียงแค่เป็นศูนย์ เพราะหากอุณหภูมิมันขึ้นสูงเร็วมากและกำลังจะทะลุ1.2องศาที่เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับ1.5องศา  และหากอุณหภูมิขึ้น 3องศา จะเกิดภัยแรงรุนแรงและ มีปัญหาตามมา  ดังนั้นตอนนี้เรามี3สเตป1 Measure 2 Redce 3 Remove  โดยตัวอย่างที่ชัดเจนที่ได้ศึกษามาและได้เห็นเป็นรูปธรรม คือโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ ที่มีป่าแทรกอยู่ในที่อยู่อาศัย มีเทคโนโลยีส่งน้ำเย็นใต้พื้นดินเพื่อทำให้อาคารไม่ต้องใช้คอมเพรสเซอร์ใช้น้ำเย็นแทนลดการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น