ส่องนวัตกรรม "กากองุ่น" สู่เชื้อพลิงรถแข่งลดปล่อย "CO2" ถึง 65%

01 ส.ค. 2566 | 08:38 น.

ส่องนวัตกรรม "กากองุ่น" สู่เชื้อพลิงรถแข่งลดปล่อย "CO2" ถึง 65% หลังบริษัทน้ำมันฝรั่งเศส TotalEnergies ใช้ตะกอนของยีสต์และกากองุ่นที่เหลือทิ้งจากการผลิตไวน์นำมาผสมกับสารอื่นสร้างเชื้อเพลิงประสิทธิภาพสูง

"กากองุ่น" ได้กลายเป็น "เชื้อเพลิงรถแข่ง" ไปแล้วในยุคปัจจุบัน

นอกจากนี้ที่สาคัญยังสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย เพราะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้

ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปไขคำตอบกับเรื่องของกากองุ่นที่ได้กลายเป็นเชื้อเพลิงรถแข่ง 

กากองุ่น ของเหลือทิ้งจากการผลิตไวน์ สู่เชื้อเพลิงขับเคลื่อนรถแข่ง ที่จะช่วยลดการปล่อย CO2 ได้อย่างน้อย 65% 
 

“ไวน์กับกีฬาแข่งรถ” อาจเป็นการจับคู่ที่ไม่น่าไปด้วยกันได้ 

แต่ใครจะคิดว่าการจับคู่นี้จะเป็นหนึ่งก้าวสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนของวงการกีฬามอเตอร์สปอร์ต เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net zero ภายในปี 2050 ของประเทศฝรั่งเศส

ส่องนวัตกรรมกากองุ่นสู่เชื้อพลิงรถแข่งลดปล่อย CO2 ถึง 65%

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัทน้ำมันในประเทศฝรั่งเศส ‘TotalEnergies’ ได้ประกาศเปิดตัวเชื้อเพลิงชีวภาพ 100% ชื่อว่า "Excellium Racing 100" 

ด้วยการใช้ตะกอนของยีสต์และกากองุ่นที่เหลือทิ้งจากการผลิตไวน์ นำมาผสมกับสารอื่นๆ เช่น Ethyl Tertio Butyl Ether 

เพื่อสร้างเชื้อเพลิงรถแข่งประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะสามารถลดการปล่อย CO2 ได้ทันทีอย่างน้อย 65%
โดยเชื้อเพลิงชีวภาพนี้ ถูกนำมาใช้ในการแข่งรถในปี 2022 ในรายการแข่งขันแบบ Endurance Racing 

หรือการแข่งขันระยะยาว ที่ช่วยให้เห็นประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี 

และยังถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับรายการแข่งขันรถ FIA World Endurance Championship ในการเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน 100% และเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่สะอาดขึ้นในทุกมิติได้อีกด้วย

ข้อมูล : กระทรวงพลังงาน