เอลนีโญมาถึงแล้ว โลกต้องเตรียมรับมือกับความร้อนที่มากขึ้น

06 ก.ค. 2566 | 11:40 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ก.ค. 2566 | 11:41 น.

เอลนีโญมาถึงแล้ว โลกต้องเตรียมรับมือกับความร้อนที่มากขึ้น สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

เอลนีโญ เป็นรูปแบบภูมิอากาศตามธรรมชาติในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน ซึ่งทำให้อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลอุ่นขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย และมีอิทธิพลอย่างมากต่อสภาพอากาศทั่วโลก คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายพันล้านคน

“การเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญจะเพิ่มโอกาสและกระตุ้นให้เกิดความร้อนสูงมากขึ้นในหลายส่วนของโลกและในมหาสมุทร การประกาศเป็นการส่งสัญญาณไปยังรัฐบาลทั่วโลกให้ระดมการเตรียมการเพื่อจำกัดผลกระทบต่อสุขภาพของเรา ระบบนิเวศของเรา และเศรษฐกิจของเรา" เพตเตอร์รี ตาลาส เลขาธิการ WMO องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก กล่าว

รัฐบาลต้องเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเตือนไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่ประกาศการเริ่มต้นของปรากฏการณ์เอลนีโญได้เริ่มขึ้นเเล้ว 

 

 

WMO หน่วยงานด้านสภาพอากาศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรน้ำของสหประชาชาติ ระบุว่า การเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรงขึ้นและความร้อนที่เกิดจากมนุษย์ด้วยการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้ปี 2559 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

แต่ปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 ปี เกิดจากความร้อนของโลกที่เกิดจากมนุษย์ อาจผลักดันให้ปี 2566 หรือ 2567 ทำลายสถิติความร้อนของปี 2559 ได้ เเละมีความเป็นไปได้ 90% ที่ปรากฏการณ์เอลนีโญจะเกิดขึ้นต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 โดยมีกำลังปานกลาง

นอกจากน้ำทะเลจะร้อนขึ้นแล้ว เอลนีโญมักเกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในบางส่วนของอเมริกาใต้  ฮอร์นออฟแอฟริกา และเอเชียกลาง โดยยังสามารถขยายความแห้งแล้งรุนแรง คลื่นความร้อน และไฟป่าในออสเตรเลีย อินโดนีเซีย บางส่วนของเอเชียใต้ อเมริกากลาง และตอนเหนือของอเมริกาใต้ ผลกระทบอื่นๆ ได้แก่ พายุเขตร้อนที่เป็นอันตรายในมหาสมุทรแปซิฟิกและการฟอกขาวจำนวนมากของแนวปะการังที่เปราะบาง

ผลการศึกษาล่าสุดพบว่า เอลนีโญในปีนี้อาจบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทุกอย่างตั้งแต่ราคาอาหารไปจนถึงยอดขายเสื้อผ้ากันหนาว การศึกษาระบุว่าการสูญเสียรายได้ทั่วโลก 5.7 ล้านล้านดอลลาร์จากปรากฏการณ์เอลนีโญในปี 1997-1998 และการสูญเสีย 4.1 ล้านล้านดอลลาร์จากปรากฏการณ์เอลนีโญในปี 1982-1983

โลกยังอาจถูกผลักให้ร้อนขึ้นจนเกิน 1.5 องศาเซลเซียสชั่วคราวเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ มีโอกาสที่เกิดน้ำท่วมรุนแรง ภัยแล้ง ไฟป่า และการขาดแคลนอาหารอาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ประเทศต่างๆ ให้คำมั่นในข้อตกลงด้านสภาพอากาศของกรุงปารีสว่าจะจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศา และควรอยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส แต่โลกได้รับรู้ถึงอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นประมาณ 1.2 องศาเซลเซียส เพราะมนุษย์ยังคงเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลและก่อให้เกิดมลพิษที่ทำให้โลกร้อนขึ้น

จากข้อมูลของ WMO มีความเป็นไปได้ 66%ที่อุณหภูมิเฉลี่ยใกล้พื้นผิวโลกระหว่างปี 2566 ถึง 2570 จะสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมชั่วคราวมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนภัยหรือการเตือนล่วงหน้าว่าเราอาจยังไม่ได้ไปในทิศทางที่ถูกต้องเท่าที่ควรหรือไม่ ในการจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ภายในเป้าหมายที่ตั้งไว้ในกรุงปารีสในปี 2558 

ข้อมูล : 

CNN

The world just failed its annual health checkup

The oceans just reached their hottest temperature on record as El Niño looms. Here are 6 things to watch for