zero-carbon

บูติคนิวซิตี้  ชู ‘A’MAZE GREEN SOCIETY’  ผนึกดีไซน์ เพิ่มมูลค่า ลดขยะแฟชั่น 

    บูติคนิวซิตี้ แปลงสภาพ Fashion is Waste สู่ Fashion is Fashion ผสานพันธมิตร “ลฤก” และ “เดอะแพคเกจจิ้ง” นำความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพิ่มมูลค่าเศษผ้า 20% จากการผลิต สู่โปรดักต์ใหม่ดีไซน์เก๋ ลดปริมาณขยะ พร้อมเพิ่มประโยชน์

“ประวรา เอครพานิช” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บูติคนิวซิตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บูติคนิวซิตี้ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายที่มีความคงทน สวยงาม และยังผสมผสานด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยสนับสนุนให้ใช้สิ่งของหรือทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งผสานความร่วมมือกับพันธมิตรในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้ สร้างให้เกิดมูลค่า และสามารถนำกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่ได้
  บูติคนิวซิตี้  ชู ‘A’MAZE GREEN SOCIETY’  ผนึกดีไซน์ เพิ่มมูลค่า ลดขยะแฟชั่น 

ล่าสุด ได้นำ “ขยะ” ที่เหลือจากกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม คือเศษผ้าที่เหลือจากการผลิตประมาณ 20% มาพัฒนาร่วมกับพันธมิตรคู่คิด ผ่านโครงการ A’MAZE green society by BTNC: Create your own happiness ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Industry ไม่ใช่ Fashion is Waste อย่างที่มีคนเคยกล่าวไว้

เศษผ้าส่วนที่เหลือประมาณ 20% จากกระบวนการผลิต ได้นำส่งมอบให้กับแบรนด์ “ลฤก” สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์ “ระลึกรักษ์” ทำเป็นดอกไม้นำมาใช้ตกแต่งบนพวงหรีดเสื่อ ประมาณ 15% และอีก 5% เดอะ แพคเกจจิ้ง ช่วยต่อยอดผ้าส่วนเกินให้กลายเป็นแบรนด์ “Mimi (มีมี่)” กระเป๋ารักษ์โลก 
  บูติคนิวซิตี้  ชู ‘A’MAZE GREEN SOCIETY’  ผนึกดีไซน์ เพิ่มมูลค่า ลดขยะแฟชั่น 

จาก 4 ทิศทางการทำงานของ บูติคนิวซิตี้ “ประวรา” บอกว่า บริษัทฯให้ความสำคัญกับ Customer First, Timless Design ผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่มีคุณภาพใช้งานได้นาน, Circular Economy ใช้วัตถุดิบให้คุ้ม และ Keep Learning เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ จาก 4 ทิศทางการดำเนินงาน ทำให้บูติคนิวซิตี้ตระหนักดีว่า ทั้งโลกและลูกค้า กำลังต้องการผู้ที่มาช่วยทำให้โลกของเราร้อนน้อยลง ดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

จากปริมาณการผลิตเครื่องแต่งกายจากผ้า บูติคนิวซิตี้ ทำให้เกิดคาร์บอนราว 1.3 ล้านกิโลคาร์บอนต่อปี และจากโครงการความร่วมมือครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้ราว 3 แสนกิโลคาร์บอนต่อปี โดยบริษัทยังพยายามมองหาคู่คิด และการสร้างโปรเจ็กต์ใหม่ๆ เช่น การย้อม การรีไซเคิล เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ 

 

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,890 วันที่ 25 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566