zero-carbon
607

ไฟฟ้าสำรองคืออะไร จำเป็นยังไง ทำให้ค่าไฟแพงหรือไม่ เช็คที่นี่

    ไฟฟ้าสำรองคืออะไร จำเป็นยังไง ทำให้ค่าไฟแพงหรือไม่ เช็คที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมไว้ให้แล้ว สนพ.ชี้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศทำเพื่อวางแผนจัดหาไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

ไฟฟ้าสำรองกำลังกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่กลายเป็นโจทย์หนึ่งที่ประชาชนมองว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ค่าไฟแพง

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เพื่อไขข้อสงสัยเรื่องดังกล่าว พบว่า

ล่าสุดสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน มีการเผยแพร่ข้อความภายใต้หัวข้อเรื่อง "ประเทศไทยมีไฟฟ้าสำรองเท่าไหร่กันแน่?" โดยระบุว่า

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) จัดทำขึ้นเพื่อวางแผนจัดหาไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต รวมทั้งมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin) ทดแทนโรงไฟฟ้าที่เกิดเหตุขัดข้องหรือต้องหยุดซ่อมบำรุงอย่างไม่คาดคิด

การจัดทำแผน PDP ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อให้มีเวลาเตรียมการสำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสายส่ง รวมถึงการเตรียมการในด้านอื่นๆ 

จากสถานการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจทุกประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบทำให้ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลง ดังนั้น Reserve Margin จึงสูงกว่าแผนที่วางไว้เป็นผลในระยะสั้น 

ประมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เติบโตขึ้นพบว่าหลังปี 2568 ระดับ Reserve Margin จะกลับมาสู่ระดับที่เหมาะสมตามแผนที่วางไว้ 

ไฟฟ้าสำรองคืออะไร จำเป็นแค่ไหน ทำให้ค่าไฟแพงหรือไม่

นอกจากนี้การรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมเป็นปริมาณ 3,668 เมกะวัตต์ ดังนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และไม่ทำให้ระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserved Margin) สูงกว่าแผนที่วางไว้

ประเทศไทยมี Reserve Margin 36% และการสำรองดังกล่าวจะค่อยๆ ลงให้สอดคล้องตามแผน PDP 2018 Rev.1 ตลอดแผนอยู่ที่ระดับที่เหมาะสม

Reserve Margin ยังต้องทำหน้าที่ Back up โรงไฟฟ้าประเภท IPS เช่น โรงไฟฟ้า RE โรงไฟฟ้า Solar Rooftop จากหลังคาโรงงานและบ้านเรือน รวมถึงพวกที่ขายไฟฟ้าตรงตามนิคมอุตสาหกรรม (SPP Direct)  ที่ไม่ขายไฟเข้าระบบการไฟฟ้า ซี่งหากไม่มีเชื้อเพลิง ไม่มีแสงแดด หรือมีเหตุให้ไม่สามารถผลิตได้ ก็ยังคงจำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้า
 

Reserve Margin ต้องประเมินจากความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ในระบบ 3 การไฟฟ้า หากประเมินจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยซึ่งรวมความต้องการใช้ไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองและผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการซื้อขายกันโดยตรงในนิคมอุตสาหกรรม (Independent PowerSupply : IPS) ที่เชื่อมต่ออยู่กับระบบ 3 การไฟฟ้าด้วยแล้วจะทำให้ Reserve Margin ต่ำกว่าระดับที่ประเมินไว้ 

เนื่องจากหาก IPS ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ก็จะมีการใช้ไฟฟ้าจากระบบ 3 การไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก IPS ดังกล่าวต้องพึ่งไฟฟ้าจากระบบในช่วงที่เกิด Peak ของประเทศจะส่งผลให้ระดับ Reserve Margin ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ