zero-carbon
818

เมื่อโลกกำลังเปลี่ยนจากปรากฎการณ์ “ลานีญา”เป็น "เอลนีโญ"

    เมื่อโลกกำลังเปลี่ยนจากปรากฎการณ์ “ลานีญา”เป็น "เอลนีโญ" คาดว่าจะส่งผลกระทบทำให้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นและอาจเกิดภัยแล้งรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลก

"เอลนีโญ" เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น เมื่อกระแสลมมีกำลังอ่อน และพัดเปลี่ยนทิศทางจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ทำให้ฝั่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียเกิดภาวะแห้งแล้ง

กรมอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลีย ระบุว่า ตามปกติแล้ว โลกจะสลับไปมาระหว่างปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” และ “ลานีญา” เพราะก่อนหน้านี้ โลกเผชิญกับ “ลานีญา” ถึง 3 ปีซ้อน เป็นสัญญาณเตือนว่าโลกกำลังเปลี่ยนเข้าสู่ปรากฎการณ์"เอลนีโญ" 

 

 

ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ตามปกติเหนือน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะมีลมค้าตะวันออกพัดปกคลุมเป็นประจำ ลมนี้จะพัดพาผิวหน้าน้ำทะเลที่อุ่นจากทางตะวันออก (บริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ เปรู และชิลีตอนเหนือ) ไปสะสมอยู่ทางตะวันตก (ชายฝั่งอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย) ทำให้บรรยากาศเหนือบริเวณแปซิฟิกตะวันตกมีความชื้น และมีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเกาะอยู่ในแปซิฟิกตะวันตก

ขณะที่ทางตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำและทำให้เกิดความแห้งแล้งบริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้ แต่เมื่อลมค้าตะวันออกมีกำลังอ่อนกว่าปกติ ลมที่พัดปกคลุมบริเวณด้านตะวันออกของปาปัวนิวกินี จะเปลี่ยนทิศทางจากตะวันออกเป็นตะวันตก ทำให้เกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาเอามวลน้ำอุ่นที่สะสมอยู่บริเวณแปซิฟิกตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นทางแปซิฟิกตะวันออก

เมื่อมวลน้ำอุ่นได้ถูกพัดพาไปถึงแปซิฟิกตะวันออก จะรวมเข้ากับผิวน้ำ ทำให้ผิวหน้าน้ำทะเลบริเวณนี้อุ่นขึ้นกว่าปกติ และน้ำอุ่นนี้จะค่อย ๆ แผ่ขยายพื้นที่ไปทางตะวันตกถึงตอนกลางของมหาสมุทร ส่งผลให้บริเวณที่มีการก่อตัวของเมฆและฝนซึ่งปกติจะอยู่ทางตะวัน ตกของมหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่บริเวณตอนกลางและตะวันออก บริเวณดังกล่าวจึงมีฝนตกมากกว่าปกติ ในขณะที่แปซิฟิกตะวันตกซึ่งเคยมีฝนมากจะมีฝนน้อยและเกิดความแห้งแล้ง

เมื่อโลกกำลังเปลี่ยนจากปรากฎการณ์ “ลานีญา”เป็น \"เอลนีโญ\"

ข้อเเตกต่างระหว่าง เอลนีโญ เเละ ลานีญา

“เอลนีโญ” จะมีฝนตกหนักทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ จะเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยอยู่กลางภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีโอกาสที่ฝนจะตกน้อย แม้จะอยู่ในหน้าฝนก็ตาม

“ลานีญา” ทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ เกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยช่วงต้นปี 2565 ฤดูฝนมาเร็วกว่าปกติ ไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2565 จากนั้นจะเริ่มเข้าฤดูแล้งเร็วกว่าปกติจากเอลนีโญ

เมื่อโลกกำลังเผชิญกับปรากฎการณ์เอลนีโญ ต่างประเทศทำอะไรบ้าง

รอยเตอร์ รายงานว่า เปรูทุ่มงบกว่า 1 พันล้านดอลล์ แผนรับมือสภาพอากาศลดปรากฏการณ์เอลนีโญ กระทรวงเศรษฐกิจได้ประกาศระหว่างการประชุมคณะรัมนตรี โดยเน้นความเสี่ยงที่สำคัญจากเหตุการณ์สภาพอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษกิจของประเทศ ก่อนหน้านี้เปรูเจอกับพายุไซโคลนยาคู ทำให้โครงสร้างพื้นฐานในประเทศ เสียหายมากกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์ 

รัฐบาลเปรูออกประกาศเตือนพื้นที่บริเวณชายฝั่ง เนื่องจากอุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกเพิ่มขึ้นสูงขึ้นคาดว่าจะเกิดขึ้นไปจนถึงเดือนกรกฎาคม อาจทำให้เปรูมีฝนตกหนักกว่าปกติในเดือนเมษายนและมิถุนายน

สำหรับเปรู เมื่อปี 2017 เผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 162 ราย โครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหายหนัก มูลค่าความเสียหายมากถึง 2% ของเศรษฐกิจของประเทศ