เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2566 ที่ JICA Office ประเทศญี่ปุ่น นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนางปรางทิพย์ กาญจนหัตถกิจ อัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงฯ นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงฯ นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติฯ พร้อมด้วย นางชญานันท์ ภักดีจิตต์ ผู้ช่วยปลัดฯ และนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
เข้าร่วมหารือกับ นายเคอิจิโร นากาซาวะ รองประธานอาวุโสองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA (Japan International Cooperation Agency)ในประเด็นโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาพัฒนา ทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ทางคณะฯ ได้เข้าหารือกับ JICA ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีนะครับ เพราะทั้งไทย และญี่ปุ่นต้องการสานงานต่อภายใต้กรอบความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อม เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงขยะในทะเล เพราะส่วนตัวเชื่อว่าการพัฒนาการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในอนาคตของประเทศไทย จะได้องค์ความรู้จากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงเทคโนโลยี และงบประมาณ ที่จะช่วยให้ประเทศไทยพัฒนาโครงการฯ ต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น
นายวราวุธ กล่าวต่อว่า JICA เป็นองค์การฯ ที่มีบทบาทในประเทศไทย เรื่องการดำเนินโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ตามข้อตกลงของรัฐบาลประเทศที่กำลังพัฒนา หนึ่งในประเด็นในการหารือเรื่องแนวทางการ ขยายกรอบ การศึกษาปัญหา PM 2.5 ที่ JICA ให้ความสนใจ เพื่อเพิ่มเนื้องานในการศึกษาประโยชน์และคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นการสานต่องานร่วมกันระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
ปัญหา PM 2.5 ประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการจัดการเรื่องนี้ ถ้าไทยได้เรียนรู้ หรือได้สานต่อโปรเจคร่วมกัน เชื่อว่าจะสามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทยได้ เพราะญี่ปุ่นน้อยมากที่จะประสบปัญหาเรื่อง PM 2.5 เพราะประชาชนให้ความตระหนัก และเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ อย่างมากซึ่งเป็นเรื่องดี ถ้าเราได้นำเทคโนโลยีมาใช้
นอกจากนี้ยังได้ พูดคุยเกี่ยวกับแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ตามเป้าหมายของประเทศไทย ที่จะก้าวเข้าสู่ Net Zero Greenhouse Gas Emissions และความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 โดยระหว่างนี้เราจะทำอย่างไรให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณ 388 ล้านตัน ลดลงไปเหลือ 120 ล้านตัน และแผนระยะสั้น Nationally Determined Contributions หรือ NDC ที่
ประเทศไทยตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40 % นอกจากนี้ยังได้มีการหารือด้านการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพการจัดการขยะอย่างยั่งยืนอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง