มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ เดินหน้าภารกิจฟื้นฟู-เพิ่มพื้นที่สีเขียวในไทย

21 ต.ค. 2565 | 19:29 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ต.ค. 2565 | 02:40 น.

มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ เดินหน้าผนึกพันธมิตรทุกภาคส่วน เร่งฟื้นฟู เพิ่มพื้นที่สีเขียวในประเทศไทย เช็คเลยปัจจุบันผืนป่าในไทยมีมากน้อยแค่ไหน และเป้าหมายของการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ไทยในอนาคตจะมีอะไรบ้าง

มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก "มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ " โดยได้บอกเล่าถึงภารกิจที่ร่วมกับพันธมิตรต่างๆในการฟื้นฟู รักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย พร้อมกันนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลผืนป่าในประเทศไทยว่าเหลือมากน้อยแค่ไหน  และเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม นโยบายป่าไม้แห่งชาติ ที่ประกาศว่าจะเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ทั้งป่าเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อเศรษฐกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศไทย  รวมไปถึงการรองรับโมเดลเศรษฐกิจสีเขียว ตลาดค้าคาร์บอนเครดิต ในอนาคต ซึ่งจากเป้าหมายต่างๆที่วางไว้ จะขับเคลื่อนหรือคืบหน้าอย่างไรบ้างนั้น สามารถติดตามได้ดังต่อไปนี้ 

 

เล่าสู่กันฟังตลอด 35 ปี ในย่างก้าวสู่ปีที่ 36 มานี้ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์(หน่วยงานดีเด่นเเห่งชาติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม) ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตามเป้าหมายแห่งรัฐร่วมเอกชนและทุกภาคีเครือข่าย ในการฟื้นฟู เพิ่มเเละรักษาพื้นที่สีเขียวทุกประเภทให้คงอยู่และเพิ่มขึ้น
 

โดยในปี 61-65 มีการกำหนดสัดส่วนพื้นที่สีเขียวพื้นที่เป็นป่าธรรมชาติร้อยละ 3 , พื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ร้อยละ 10 , พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชนบทร้อยละ 2  ซึ่งป่าไม้สำคัญต่อทั้งโลกอย่างยิ่ง รวมไปถึงประเทศไทยด้วย

 

ในสมัยปี 2516 ป่าไม้ในไทยมีอยู่ 43.21% ของพื้นที่ในประเทศ เเละมากกว่านี้ในก่อนปี2516 แต่ในปี 2564 ที่ผ่านมา เรามีพื้นที่ป่าเพียง 31.59% ของพื้นที่ทั้งหมด แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว แต่พวกเราทุกคนสามารถตระหนักและช่วยกันรักษาและเพื่มป่าไม้ของเราได้ จากคนละไม้คนละมือ  

    

ย้อนเวลาไปในสมัยการประชุมระดับโลก COP15 โดยท่าทีและกรอบการเจรจาของประเทศไทย สำหรับการเจรจาในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties : COP15) ณ กรุงโคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ก โดยผู้เเทนกรรมการและบุคลากรของมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ได้มีโอกาสเข้าร่วมในบรรยากาศการประชุม และได้ร่วมประกาศกับประชาคมโลกในการเพิ่มป่าไม้ให้คืนสู่สมดุล ในร้อยละ40%ของพื้นที่ประเทศไทย

 

ขณะนี้ประเทศไทยเพิ่มป่าชุมชนได้กว่า 11,000 แห่ง รวมพื้นที่ป่าเกือบ 7 ล้านไร่ พร้อมตั้งเป้าเพิ่มป่าชุมชนให้ได้ 15,000 แห่ง เพื่อเป็นตลาดการค้าคาร์บอนเครดิตและแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก
 

โดยปัจจุบันรัฐบาลประเทศไทยและทุกองคาพยพ ได้จัดตั้งป่าชุมชนไปแล้วกว่า 11,327 แห่ง มีชุมชนที่มีส่วนร่วมดูแลอนุรักษ์ และได้ใช้ประโยชน์กว่า 13,028 หมู่บ้าน รวมพื้นที่กว่า 6.29 ล้านไร่ โดยตั้งเป้าขยายการจัดตั้งป่าชุมชนทั่วประเทศเพิ่มขึ้นให้ได้ 15,000 แห่ง รวมพื้นที่ถึง 10 ล้านไร่ เพื่อให้ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมรองรับโมเดลเศรษฐกิจสีเขียว และตลาดการค้าคาร์บอนเครดิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ที่มีไทยเป็นศูนย์กลางการเงินการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน 

 

จากข้อมูลของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร(บางส่วน) ได้เผยเเพร่สู่สาธารณะชน ว่าการสำรวจล่าสุดพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยปี 2563 อยู่ที่ 102,353,484.76 ไร่ คิดเป็น 31.64% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ 

 

อีกทั้งสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้นิยามของ “พื้นที่ป่าไม้” ว่าหมายถึง พื้นที่ปกคลุมของพืชพรรณที่สามารถจําแนกได้ว่าเป็นไม้ยืนต้น ปกคลุมเป็นผืนต่อเนื่องขนาดไม่น้อยกว่า 3.125 ไร่ และหมายรวมถึงทุ่งหญ้าและลานหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่ปรากฏล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่จําแนกได้ว่าเป็นพื้นที่ป่าไม้ โดยไม่รวมถึงสวนยูคาลิปตัส หรือพื้นที่ที่มีต้นไม้

 

แต่ประเมินได้ว่าผลผลิตหลักของการดําเนินการไม่ใช่เนื้อไม้ อันได้แก่ พื้นที่วนเกษตร (ระบบเกษตรกรรมที่ทำในพื้นที่ป่า เช่น ปลูกพืชแซมในพื้นที่ป่าธรรมชาติ นำสัตว์ไปเลี้ยงในป่า เก็บผลผลิตจากป่ามาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมทั้งการสร้างระบบเกษตรให้มีลักษณะเลียนแบบระบบนิเวศป่าธรรมชาติ นั่นคือ มีไม้ยืนต้นหนาแน่น มีร่มไม้ปกคลุมและมีความชุ่มชื้นสูง) สวนผลไม้ สวนยางพารา และสวนปาล์ม ป่าไม้ 

 

จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการผลักดันให้มีสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในทุกจังหวัดของประเทศไทย ด้วยการประกาศนโยบายป่าไม้แห่งชาติเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ทั้งป่าเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 40% ของพื้นที่ประเทศไทย 

 

ด้วยเกณฑ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีเพียงภาคเหนือและภาคตะวันตกเท่านั้นที่มีสัดส่วนพื้นป่าไม้เกิน 40% โดยภาคเหนือมีสัดส่วน 63.99% และ 59.15% ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนดังกล่าวน้อยที่สุดเพียง 15.03% รองลงมาคือภาคกลาง มีสัดส่วน 21.47% ขณะที่จังหวัดที่ไม่พบพื้นที่ป่าไม้เลยมีอยู่ 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และอ่างทอง

 

ส่วน“กรุงเทพมหานคร” มีพื้นที่ป่าไม้ 3,901.83 ไร่ คิดเป็นสัดส่วน 0.40% ของพื้นที่ทั้งหมด โดยพื้นที่ป่าไม้ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณเขตบางขุนเทียนซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้อ่าวไทย สภาพพื้นที่ป่าไม้โดยรวม มีจํานวนเพิ่มขึ้นเพียง 14.54 ไร่ หรือ 0.37% ในรอบปี 

 

ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการผลักดันให้มีสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในทุกจังหวัดของประเทศไทย ด้วยการประกาศนโยบายป่าไม้แห่งชาติเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ทั้งป่าเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อเศรษฐกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศไทย เพื่อให้ครบตามที่กำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลทรัพยากรป่าไม้ที่เป็นปัจจุบันและต่อเนื่องทุกปี เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดการพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 40 อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ การประเมินผลและการติดตามการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ และนโยบายการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในเรื่องที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย หรือการใช้ประโยชน์อื่น ๆ 

 

ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2561 – 2562 จำนวน 102,484,072.71ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.68 ของประเทศ ซึ่งลดลงจากปี พ.ศ. 2560 – 2561 จำนวน 4,229.48 ไร่ 


 
แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว ในคืนสู่สมดุลร้อยล่ะ40%ของผืนเเผ่นดินไทย แต่มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์เชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถตระหนักและช่วยกันรักษา ฟื้นฟูป่าไม้ไทยของเราได้ คนละไม้คนละมือมารักษ์ป่าไปด้วยกัน เเต่ละมือของคนไทยสร้างความชอุ่มได้ในเเผ่นดิน

 

ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ของไทย

อนึ่งก่อนหน้านี้  ณ สวนป่าธรรมชาติทุ่งหลวงราชพฤกษ์(รังสิต) ทีมครูกัลยาได้ เข้าแปลงเก็บข้อมูลวัดการเจริญเติบโตของกล้าไม้ที่แปลง สวนป่าธรรมชาติทุ่งหลวงราชพฤกษ์รังสิต คลอง2 10ไร่เเรกจาก70ไร่ โดยเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ร่วมกับ นายปฏิเวธ ชินเชษฐ ผจก.ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน  นายสมภพ แก้วขอมดี และทีมพนักงานบริษัทกรีนสปอต(ไวตามิ้ลค์) 

 

พร้อมทั้ง กลุ่มน้องๆ อาสาสมัคร มาร่วมช่วยกันเก็บข้อมูลติดตามผลกล้าไม้หลังปลูก เพื่อตรวจเช็คอัตราการรอดของกล้าไม้ แต่ละชนิดที่ปลูกไว้ว่ามีผลเป็นอย่างไรบ้าง โดยจะวัดความสูง วัดความกว้างทรงพุ่ม วัดขนาดคอราก สุขภาพของกล้าไม้ ทำแบบนี้ทุกต้นในพื้นที่แปลงทดลองวิจัย

ติดตามผลกล้าไม้หลังปลูก เพื่อตรวจเช็คอัตราการรอดของกล้าไม้