ราคาน้ำมันดิบถูกกดดัน หลังเฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในปี 66

11 ต.ค. 2565 | 10:13 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ต.ค. 2565 | 17:20 น.

ราคาน้ำมันดิบเวสเท็กซัสและเบรนท์ปรับลด ตลาดกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย หลังเฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องในปี 66

หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ.ไทยออยล์ รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2565 

 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา

- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท๊กซัสและเบรนท์ปรับลด เนื่องจากตลาดกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) สาขาชิคาโก นายชาร์ลส์ อีแวนส์ กล่าวว่า FED มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปสู่ระดับที่ 4.5% ภายในเดือนมี.ค. 66 และจะคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงต่อเนื่องในปี 2566 เพื่อชะลอเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวในระดับสูง ขณะที่ CEO ของ JPMorgan Chase กล่าวว่าสหรัฐฯ มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีก 6 ถึง 9 เดือนข้างหน้า

 

- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการเดือนก.ย. 65 ของจีนปรับลดลงสู่ระดับที่ 49.3 จากระดับ 55.0 ในเดือนส.ค. 65 ซึ่งเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากการล๊อกดาวน์และใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกดดันต่อความต้องการใช้น้ำมันในประเทศและของโลก

+ ราคาน้ำมันดิบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตลาดคาดอุปทานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น จากปริมาณการส่งออกของจีน หลังจีนประกาศโควตาการส่งออกครั้งใหม่ในปี 2022 ขณะที่อุปสงค์ในเวียดนามมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น  หลังโรงกลั่นในประเทศประสบปัญหาทางด้านเทคนิค ส่งผลต่อการผลิตในประเทศ

 

ราคาน้ำมันดิบถูกกดดัน หลังเฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในปี 66

 

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตลาดคาดอุปทานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น จากปริมาณการส่งออกของจีน หลังจีนประกาศโควตาการส่งออกครั้งใหม่ในปี 2022 ขณะที่อุปสงค์ในเวียดนามมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น  หลังโรงกลั่นในประเทศประสบปัญหาทางด้านเทคนิค ส่งผลต่อการผลิตในประเทศ

 

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ปรับเพิ่มขึ้นจากตะวันออกกลาง โดยเฉพาะ Bahrain อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้แรงหนุนจากอุปทานฝั่งตะวันตกที่มีแนวโน้มตึงตัวจากเหตุการณ์ประท้วงของแรงงานในฝรั่งเศส

 

ที่มา : บมจ.ไทยออยล์