ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาส 2 ยังก้าวไม่พ้นกับดักปัจจัยเสี่ยง ประชาชนขาดความเชื่อมั่นเศรษฐกิจประเทศผันผวน สถานการณ์เศรษฐกิจโลกส่อถดถอย
แม้จะมีมาตรการรัฐ เข้ามาสนับสนุน กระตุ้นกำลังซื้อไม่ว่าจะเป็น การผ่อนคลายอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (เกณฑ์LTV) ขอสินเชื่อได้ 100% ทุกราคาทุกสัญญา
รวมถึง มาตรการ ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนและจำนองเหลือ 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน7ล้านบาทก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงการประคองไม่ให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ “เดินเซ”ไปมากกว่านี้
เนื่องจากประเมินแล้วว่า สถาน การณ์มีความรุนแรงมากขึ้นหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อนโยบายการขึ้นภาษี ศุลกากรนำเข้าสินค้าใหม่ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา “โดนัลด์ ทรัมป์” สร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย
แม้ว่าล่าสุด “ทรัมป์” ได้ประกาศ ใช้มาตรการระงับภาษีนำเข้าสินค้าใหม่เป็นเวลา 90 วัน ให้กับประเทศที่ขอเจรจา และไม่ตอบโต้ โดยยกเว้นจีนก็ตาม แต่ นั่นไม่ได้หมายความว่าผลกระทบดังกล่าวจะยุติลงในทางกลับกัน “ทรัมป์” อาจเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ตลอดเวลาส่งผลให้ผู้ประกอบการทั่วโลกรวมถึงไทยต้องเฝ้าระวังและตั้งรับ
อย่างไรก็ตามปัจจยที่มีกระทบ ทั้งแผ่นดินไหวเศรษฐกิจปั่นป่วนจาก “ภาษีทรัมป์” ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ขณะสถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ
สุนทร สถาพร
ผลกระทบที่ตามมาสต๊อกที่อยู่อาศัยรอระบาย หรือจำนวนหน่วยเหลือขายอาจระบายได้ช้าลง จากตัวเลข ณ สิ้นปี 2567 จำนวน215,956 หน่วย มูลค่า 1,351,198 ล้านบาท ไม่รวมโครงการเสนอขายใหม่ (ข้อมูล ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์) จึงเป็นคำถามว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร
ต่อเรื่องนี้ นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ” ว่า อสังหา ริมทรัพย์ ในไตรมาส2 พบปัจจัยลบเรื่องของความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจจาก “Trump effect”
มีบางสถาบันการเงินประเมินว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพีไทยปี 2568 อาจลดลงจากประมาณการเดิม 2.8% เหลือไม่ถึง 2%
ส่วนปัจจัยลบจากปัญหาแผ่นดินไหวนายสุนทร มองว่ามีผลเพียงระยะสั้น ไม่น่าจะส่งผลกระทบมากเนื่องจาก เพราะอาคารส่วนใหญ่สามารถ “recover” ได้เร็ว และพิสูจน์มีความแข็งแรงมั่นคงอยู่
ขณะปัจจัยบวกทั้งการยกเลิก LTV และออกมาตรการรัฐ ค่าจดจำนอง ค่าธรรมเนียมโอนเหลือ 0.01% นั้นเป็นตัวประคองตลาดเพื่อให้ผลกระทบจากปัจจัยลบ 2 ประการข้างต้นน้อยลง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องการให้รัฐพิจารณา ได้แก่
1) แก้ไขปัญหา reject rate สูงเป็นเรื่องใหญ่สุด
2) วงเงิน soft loan กระตุ้นตลาด อย่างที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ( ธอส.) และธนาคารออมสิน ดำเนินโครงการเมื่อปี 2567 ซึ่งครั้งนี้เช่นกัน สมาคมฯ ต้องการให้กลับมาพิจารณาอัตราดอกเบี้ยตํ่ากว่า3% จาก 3ปี เป็น 6ปี หรือผ่อนแต่เงินต้นดอกเบี้ย 0% ในช่วง 3 ปีแรกเพื่อให้ “match”กับกำลังซื้อของผู้บริโภคในช่วงนี้
3) ผลักดันการแก้หนี้ตามมาตรการคุณสู้เราช่วย ให้ลูกหนี้มาเข้าร่วมโครงการมากยิ่งขึ้น เพื่อให้หลุดพ้นจากกลุ่มเฝ้าระวัง กลับมามีเครดิตใหม่ และสถาบันการเงินมี “room” ในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น
4) ลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลงสักครึ่งหนึ่ง เป็นช่วงระยะเวลาสั้นประมาณ 1 ปี เพื่อช่วยบรรเทาปัญหา ผู้ประกอบการ ที่ขาดสภาพคล่อง
หน้า 20 หนังสือพิมพ์ ปีที่ 45 ฉบับที่ 4,088 วันที่ 17 - 19 เมษายน พ.ศ. 2568