ปรับผังเมืองกทม.ขยายศูนย์กลางธุรกิจ สู่มหานครระดับโลก

10 ม.ค. 2567 | 13:14 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ม.ค. 2567 | 13:47 น.
827

ปรับผังเมืองกทม. (ปรับปรุงครั้งที่4) สู่มหานครระดับโลก รับโครงข่ายรถไฟฟ้ากว่า10เส้นทาง -ไฮสปีดอีอีซี เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับมหานครอื่นอย่างเกาหลี่ ญี่ปุ่น หลังนักท่องเที่ยวมองไทยเบอร์1โลก เดินทางผ่าน3สนามบินโดยไฮสปีดเทรน

 

แม้มีเสียงสะท้อนจากภาคประชาชนและองค์กรต่างๆ ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่4)  ที่เอื้อต่อเอกชนแต่ในทางกลับกัน เป้าหมายหลักในการปรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีสาเหตุมา จากกายภาพของเมืองและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป  สะท้อนได้จากการใช้ “ล้อ” ในรอบ 10 ปี เปลี่ยนมาเดินทางโดย

ระบบราง  ซึ่งการวางผังเมืองรวมฉบับปี 2556 ในขณะนั้น มีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นเพียง 3 สายแต่ปัจจุบันมีมากขึ้นกว่า 10 สาย พาดผ่านจังหวัดปริมณฑล รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ให้บริการไปยังเขตพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มีผลทำให้พื้นที่ดอนเมือง มักกะสัน ลาดกระบัง ต้องเปลี่ยนแปลง ขณะใจกลางเมืองขยับต่อเนื่อง พญาไท คลองเตย ประตูนํ้า สะพานควาย  สยามสแควร์ เปลี่ยนตึกแถวเป็นตึกสูงย่านชิดลมสถานทูตหายไปเปลี่ยนเป็นศูนย์การค้ามีการพัฒนาศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ใหม่

               ที่ชัดเจนมากคือถนนพระราม4  ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจในปัจจุบัน มีโครงการขนาดใหญ่  วัน แบงค็อก  กับดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค เกิดขึ้น  และผังเมืองรวมได้ขยายศูนย์กลางธุรกิจ หรือซีบีดี จากสยามสแควร์ สีลม สาทร ฯลฯ ออกไปยังเขตวัฒนาและเขตคลองเตย ซึ่งพิจารณาจาก การเกิดขึ้นของกลุ่มอาคารสำนักงาน โรงแรมและห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก  ขณะเดียวกันพระราม 9 อยู่ใกล้ศูนย์มักกะสัน ปรับเป็นพื้นที่สีแดงเพราะมีห้างสรรพสินค้าโรงแรมแหล่งงงาน จึงกำหนดให้เป็นศูนย์พาณิชยกรรมรองหรือศูนย์กลางธุรกิจใหม่ รวมถึงรถไฟไทย-จีนเชื่อมทะลุไปสปป.ลาวและจีนแผ่นดินใหญ่โดยมีกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลาง

มหานครแห่งเอเชีย

อย่างไรก็ตาม กรุงเทพฯ เป็นมหานครขนาดใหญ่ มีจังหวัดปริมณฑลเป็นเมืองบริวาร ที่มีการแข่งขันกับ มหานครอื่นอย่าง เกาหลี  ญี่ปุ่น ฯลฯ  กรุงเทพฯจึง ไม่ได้เป็นเมืองเดียวแต่ปัจจุบันเป็นเบอร์หนึ่ง ด้านการท่องเที่ยว สร้างรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ มีหมุดหมายดึงนักลงทุนทั่วโลกเข้าพื้นที่  แต่ต้องยอมรับว่าด้านอื่นคุณภาพชีวิตอาจสู้มหานครอื่นไม่ได้

ทำให้ ผังเมืองรวมฉบับนี้จึงมีการปรับเปลี่ยนระบบกายภาพของเมืองให้เป็นพื้นที่เขียวและการพัฒนา ระบบสาธารณูปโภค ดังนั้นผังเมืองกับสาธารณูปโภคต้องไปด้วยกันและประเมินว่าภายในทศวรรษหน้ากรุงเทพฯจะเชื่อมต่อกับทุกประเทศทั่วโลกจากไฮสปีดส่งผ่านสนามบิน ทั้ง3แห่ง ที่มีเป้าหมายเป็นมหานครแห่งเอเชีย

ดังนั้นทั้งเมืองต้องเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันใน 6 กลุ่มเขต ได้แก่

กลุ่มกรุงธนเหนือ

“กลุ่มกรุงธนเหนือ” ประกอบด้วยคลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางพลัด ทวีวัฒนา  สงวนรักษาย่านประวัติศาสตร์ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาแบบผสมผสานชุมชนดั่งเดิมและการพัฒนาใหม่ตามระบบรางสร้างสมดุลระหว่างที่อยู่อาศัยและแหล่งงานในพื้นที่ต่อเนื่องสถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ และสถานีบางขุนนนท์ให้เป็นศูนย์พาณิชยกรรมรองระดับเมืองและศูนย์พาณิชยกรรมใหม่

กลุ่มกรุงธนใต้

 “กลุ่มกรุงธนใต้”ประกอบด้วย บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม ราษฎร์บูรณะ บางขุนเทียน บางบอน ทุ่งครุ โดยส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พัฒนาเป็นศูนย์ชุมชนชานเมืองตามแนวรถไฟฟ้า

“กลุ่มกรุงเทพตะวันออก” ประกอบด้วย บางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่มคันนายาว หนองจอก ลาดกระบัง มีนบุรี คลองสามวา ประเวศ โดยส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของบริเวณที่อยู่อาศัยชานเมืองและสร้างสมดุลระหว่างที่อยู่อาศัยและแหล่งงานโดยการพัฒนาศูนย์ชุมชนชานเมือง บริเวณสายสีส้มสายสีเหลือง สายสีชมพูและสายสีแดง (พญาไท-สุวรรณภูมิ)ในย่านบางกะปิ  มีนบุรี รามอินทราและลาดกระบัง ในฐานะเมืองบริวาร

กลุ่มกรุงเทพโซนตะวันออก

“กลุ่มกรุงเทพใต้” ประกอบด้วยบางคอแหลม ปทุมวัน บางรัก สาทร ยานนาวา คลองเตย พระโขนง วัฒนา สวนหลวง บางนา ผลักดันการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯในด้านธุรกิจการค้า การบริการและนวัตกรรมต่อเนื่องจากย่านสีลม-สาทร ขยายสู่ย่านคลองเตย บางนาและสมุทรปราการและ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทุกด้านและการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับการเติบโตของท่าเรือกรุงเทพรูปแบบใหม่

กลุ่มกรุงเทพใต้

 “กลุ่มกรุงเทพกลาง” ประกอบด้วย ดุสิต พระนครป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี วังทองหลาง ส่งเสริมการเป็นศูนย์พาณิชยกรรมรองที่มีความพร้อมด้านการเชื่อมต่อการเดินทางระดับนานาชาติต่อเนื่องจากศูนย์พาณิชยกรรมหลักคือย่านประตูนํ้า อโศก ขยายสู่ย่านมักกะสันและพระราม9 ใช้ที่ดินแบบเข้มข้นภายในวงแหวนรัชดาภิเษกเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจระดับอาเซียนมี สถานีมักกะสันเป็นศูนย์กลางดึงการลงทุนจากต่างประเทศและเป็นประตูสู่นานาชาติผ่านการเชื่อมต่อระหว่างสถานีมักกะสันกับสนามบินสุวรรณภูมิ และพื้นที่ใจกลางเมือง

กลุ่มกรุงเทพกลาง

 "กลุ่มกรุงเทพเหนือ” ลาดพร้าว จตุจักร บางซื่อหลักสี่ สายไหม ดอนเมือง บางเขน ส่งเสริมเป็นย่านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ที่รองรับการพัฒนารอบศูนย์คมนาคมพหลโยธินและสนามบินดอนเมืองโดยมีสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางระดับประเทศ และเป็นศูนย์พาณิชยกรรมรองระดับเมืองด้านที่อยู่อาศัย และแหล่งงานแห่งใหม่ที่ทันสมัยในอนาคต

กลุ่มกรุงเทพเหนือ

 นี่คือโฉมใหม่ของผังเมืองรวมกทม. (ปรับปรุงครั้งที่4) ที่จะเปลี่ยนไปสู่มหานครระดับโลก จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน  !!!