กทม. ปลุกย่านเศรษฐกิจ9 วัน 9 ย่าน สู่เมืองสร้างสรรค์โลก ผ่านBKKDW2023

05 ก.พ. 2566 | 13:32 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ก.พ. 2566 | 13:54 น.
758

กทม. ปลุกพื้นที่ย่านเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ 9 วัน 9 ย่าน สำคัญ ผู้ว่าฯกทม “ชัชชาติ” ผนึก “CEA “ เพิ่มศักยภาพ  มุ่งสู่เมืองสร้างสรรค์โลก ผ่านเทศกาล Bangkok Design Week 2023

 

 

 

กรุงเทพ มหานคร  จุดหมายปลายทางของใครหลายคน โดยเฉพาะต่างชาติ ที่ยังคงความนิยม เนื่องจากเสน่ห์ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความต่างระหว่างเมืองเก่าและเมืองทันสมัย ที่พึ่งพาอาศัยและเชื่อมโยงกันได้อย่างผสมกลมกลืน

 อย่างไรก็ตามพื้นที่  1,500 ตารางกิโลเมตร ของมหานครแห่งนี้ ยังมีหลายย่านที่มีอัตลักษณ์ในตัวเอง  โดยเฉพาะชุมชุนเก่าที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางความเจริญของเมือง ที่รัฐต้องการให้สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน หล่อเลี้ยงดังเอง ได้อย่างยั่งยืนผ่านกิจกรรมในด้านต่างๆ

 ล่าสุด กรุงเทพมหานคร(กทม.) ร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566 หรือ Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023) บริเวณโถงอาคารไปรษณีย์กลาง เขตบางรัก  ถ่ายทอดย่านสำคัญ9วัน 9 ย่าน ที่จะถักทอ ออกมาอย่างรังสรรค์สวยงาม

จากความร่วมมือ ของ กทม. ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ และภาคีเครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัด BKKDW2023 ระหว่างวันที่ 4 - 12 กุมภาพันธ์ 2566

เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้ไปต่อได้ จึงขอเชิญชวนร่วมสัมผัสมหกรรมไอเดียสร้างสรรค์ระดับโลกตลอด 9 วัน 9 ย่าน ภายใต้ธีม “urban‘NICE’zation เมือง - มิตร - ดี”

กทม. ปลุกย่านเศรษฐกิจ9 วัน 9 ย่าน สู่เมืองสร้างสรรค์โลก ผ่านBKKDW2023

ที่อัดแน่นด้วยกิจกรรมกว่า 530 โปรแกรม คาดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 300,000 คน เปิดพื้นที่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้ได้เที่ยวรับแรงบันดาลใจ จุดประกายไอเดีย เปิดรับไลฟ์สไตล์ทุกเพศทุกวัย ให้เมืองกรุงเทพฯ เป็น “มิตร” สำหรับทุกคน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ระบุว่า  การจัดงานดังกล่าวที่ได้ขยายพื้นที่ออกไปถึง 9 ย่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เชื่อว่าทุกอย่างในโลกจะดีได้ต้องเริ่มจากการออกแบบ ที่ผ่านมาเมืองไม่ได้ถูกออกแบบแต่เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งปัญหาหนึ่งที่เจอคือภาครัฐเองไม่เก่งในการออกแบบ

อย่างกทม.หน้าที่คือทำตามกฎ ทำตามกรอบ ยึดถือระเบียบ ส่วนดีไซเนอร์นั้นจะคิดนอกกรอบ  หากไม่ประสานความร่วมมือกันก็ยากที่จะเกิดผลที่เป็นงานสร้างสรรค์หรือแปลกใหม่ได้ ฉะนั้น ภาครัฐกับเอกชนต้องคุยกัน เข้าใจบริบทซึ่งกันและกัน สุดท้ายแล้วผลลัพธ์มันก็คือเมืองที่ดีขึ้น เมืองที่น่าอยู่ขึ้น

“กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่สวยงาม เป็นเมืองที่มีโอกาส โดยสิ่งที่มีค่าที่สุดของเมืองไม่ใช่ทรัพย์สิน ไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง แต่คือความหวังและความไว้วางใจของพวกเราทุกคนว่าเมืองนี้ยังสามารถทำให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ขึ้นได้ หัวใจของงานนี้คือภาคเอกชน คือดีไซเนอร์ทุกคนที่ยังมีความหวังกับเมือง ๆ นี้ กทม.ไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนหลัก แต่เราเป็นผู้ช่วยสนับสนุน ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วน พลังจากพวกเราทุกคนคือสิ่งที่จะเปลี่ยนเมืองนี้ได้”

กทม. ปลุกย่านเศรษฐกิจ9 วัน 9 ย่าน สู่เมืองสร้างสรรค์โลก ผ่านBKKDW2023

สำหรับ 9 ย่านที่เข้าร่วมเทศกาลจะอยู่ในพื้นที่ 12 เขต ประกอบด้วย

 1.ย่านเจริญกรุง - ตลาดน้อย ชวนนักท่องเที่ยวเดินชมงานดีไซน์บนถนนสายแรกของประเทศไทย จากนั้นลัดเลาะเข้าไปในชุมชนเก่าที่กลายเป็น “ย่านต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ที่มีกว่า 200 โปรแกรมสร้างสรรค์จากนักสร้างสรรค์ทั่วสารทิศตบเท้าเข้ามาจัดงานในย่านนี้ โดยมีไฮไลต์สำคัญได้แก่

-Circular Café ณ ชั้น 2 อาคารส่วนหลัง TCDC กรุงเทพฯ โดยมีแนวคิดแบบ Zero Waste ตั้งแต่การตกแต่งพื้นที่และออกแบบเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ด้วยวัสดุรีไซเคิล การลดใช้พลังงานและทรัพยากรในการจัดการ

ไปจนถึงการนําเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ สร้างสรรค์ออกแบบโดย QUALY ร่วมกับ HARV และ LMLM ที่ชวนคนเมืองมาร่วมทดลองเป็นผู้ผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบอย่างสร้างสรรค์ ร่วมบริหารจัดการทรัพยากรและขยะให้เป็นศูนย์ผ่านการเรียนรู้ที่สนุกสนานในรูปแบบการจําลอง

- Seatscape & Beyond by One Bangkok ที่นั่งสาธารณะที่มอบประสบการณ์ใหม่แก่คนเมือง การนำเสนอผลงานรอบสุดท้าย โดย 10 ทีมผู้ชนะในโครงการ One Bangkok Urban Furniture Competition 2022 “Seatscape & Beyond” ที่ออกแบบเฟอร์นิเจอร์สาธารณะ เพื่อยกระดับบริบทแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ

   - WASTE IS MORE สร้างสรรค์ออกแบบโดย MORE ณ โถงกลาง อาคารไปรษณีย์กลาง โดยเป็นการสร้างสรรค์และส่งต่อความคิดผ่านนิทรรศการที่จุดประกายความคิดที่ว่า “ไม่มีของเสีย มีเพียงทรัพยากรที่มีคุณค่า” ชวนวงการการออกแบบ วงการวิจัยและพัฒนาวัสดุ โรงงาน ผู้ประกอบการที่มีขยะอยู่ในมือ หรือผู้ที่สนใจแนวคิดความยั่งยืนมาช่วยกันส่งต่อไอเดียพร้อมลงมือทำต่อไป

   - Re-Vendor เจริญกรุง 32 โดยเป็นการออกแบบของ CEA ร่วมกับ Cloud-Floor  CommDe/ID CU  KU  และ Street Vendors CRK32 ร่วมกันออกแบบเชิงทดลองของร้านค้าแผงลอยในซอยเจริญกรุง 32 เพื่อสร้างนำเสนอสตรีทฟู้ดริมทางในรูปแบบใหม่ให้เป็นมิตรกับเมือง ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ธุรกิจ ชุมชน และผู้คนที่มีหลากหลายในเมือง

2. ย่านเยาวราช บนพื้นที่ไชน่าทาวน์ - ย่านเยาวราช ทรงวาด สำเพ็ง สู่การสร้างสรรค์ให้ย่านแห่งนี้ไม่มีวันหลับใหลและกลายเป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ Bangkok City of Design ออกแบบโดย “City Trooper X Academic Program”

เปิดประสบการณ์ใหม่ในย่านเก่าที่ไม่ได้มีดีแค่สตรีทฟู้ดระดับโลกแต่ยังมีความเข้มข้นทางวัฒนธรรมจีนหลากหลายยุคสมัย จากความร่วมมือของนักพัฒนาเมือง สถาบันการศึกษา และกลุ่มนักวิชาการ ร่วมค้นหาความต้องการของเมือง โดยมีไฮไลต์สำคัญได้แก่

 -New bus stop design เขตสัมพันธวงศ์ ภายใต้แนวคิด Academic Program: Bangkok City Trooper ที่มีการนําความคิดสร้างสรรค์โดยการหยิบอัตลักษณ์จีนที่เป็นวัฒนธรรมหลักของพื้นที่มาออกแบบป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่ จากกลุ่ม MAYDAY! เขตสัมพันธวงศ์ ให้ใช้งานง่ายขึ้น โดยป้ายนี้ก็จะติดตั้งถาวรใช้งานต่อไป

 - You do me I do you ณ ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ออกแบบโดย D&O association โดยรังสรรค์ผลงานที่มีการใช้วัสดุที่ไม่คุ้นเคยด้วยการแลกเปลี่ยนวัสดุระหว่างสตูดิโอ เช่น เหล็กไปสู่โรงงานหวาย โดยนำหลักการและสไตล์การออกแบบเฉพาะตัวของศิลปินมาปรับใช้และสร้างสรรค์ผลงานใหม่

3. ย่านสามย่าน - สยาม ศูนย์รวมแหล่งการเรียนรู้ และศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ และสนามทดลองของคนสร้างสรรค์มาระดมไอเดียนอกกรอบในพื้นที่ เช่น Art4C House of Passa Saratta โดยมีไฮไลต์สำคัญได้แก่

-CASETiFY และ BKKDW2023 ออกแบบโดย CASETiFY แบรนด์ไลฟ์สไตล์และอุปกรณ์เสริมเทคโนโลยีระดับโลก สร้างคอลเลคชัน “เคสโทรศัพท์” ที่สะท้อนบริบทกรุงเทพฯ โดยศิลปินไทย 10 ท่าน บอกเล่าเรื่องราวของกรุงเทพฯ ให้พกพาไปได้ทุกที่

4. ย่านพระนคร / ปากคลองตลาด / นางเลิ้ง เมืองเก่าที่มีความคลาสสิกสะท้อนความเจริญของยุคสมัย พร้อมวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นที่นำมาต่อยอดสร้างสรรค์เพื่อการอนยุรักษ์ สู่บริบทใหม่ของกรุงเทพฯ ตามจุดต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ประปาแม้นศรี ลานคนเมือง ไปรษณียาคาร บ้านนางเลิ้ง เป็นต้น โดยมีไฮไลต์สำคัญได้แก่

 -32F #น้ำแข็งละลายเพราะโลกร้อน หัวใจไหลอ่อนเพราะโรครัก ออกแบบโดย FOS design studio ค้นพบเสน่ห์ของอาคารประวัติศาสตร์ที่ข้ามผ่านกาลเวลาและได้กลายเป็นพื้นที่ปิดในปัจจุบัน เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในย่านเก่าให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ โดยจัดแสดงการออกแบบแสงสว่างทางสถาปัตยกรรม ณ ประปาแม้นศรี กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Unfolding Bangkok - Living Old Building

- จรจัดสรร ณ พยัคฆ์ แกลเลอรี ออกแบบโดย จรจัดสรร Stand for Strays มีต้นแบบจากที่พักพิงสุนัขจรจัดในชุมชน โดยออกแบบที่พักขนาดเล็ก เพื่อหลบแดด หลบฝน กินอาหาร ให้กับสุนัขในซอยต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ

 -SATORIAL ณ The Umber Housepresso & More ออกแบบโดย SENSE OF NANG LOENG พัฒนาพื้นที่ในย่านนางเลิ้ง แหล่งวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อสร้างพื้นที่และประสบการณ์ใหม่ผ่านเสียงดนตรีพร้อม Projection Mapping ท่ามกลางบรรยากาศชุมชนดั้งเดิมซึ่งเป็นแหล่งพำนักของศิลปินนักดนตรีไทยและนางรำ

นี่คือย่านสำคัญในกทม.ที่พูดถึงกันปากต่อปากดังไกลถึงมุมโลก!!!