"ฝนตก"หลงฤดู แนะวางแผนเดินทาง 22-25 พ.ย.

21 พ.ย. 2565 | 08:40 น.
อัปเดตล่าสุด :21 พ.ย. 2565 | 15:47 น.

ผู้เชี่ยวชาญน้ำ เผย ทั่วประเทศ เฝ้าระวัง 'ฝนตกหนัก' หลงฤดู ขณะคนกรุง อาจเผชิญ น้ำท่วมรอระบาย แนะวางแผนการเดินทาง ช่วง 22-25 พ.ย. นี้ พร้อมชู แก้ 'น้ำท่วม' อีสาน เจ้าภาพต้องชัด

21 พ.ย.2565 - จากกรณี กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ระบุ ช่วงวันที่ 23 -24 พ.ย. นี้ ให้หลายพื้นที่ของประเทศไท เฝ้าระวัง 'ฝนตกหนัก' จากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำ เคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนและเข้าสู่อ่าวไทย 

 

ล่าสุด ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ เตือนภัยประชาชนเกี่ยวกับ ฝนตกหลงฤดู , น้ำท่วม เพื่อวางแนวทางรับมือ และ แนะรัฐ ถึงการบริหารจัดการน้ำ ดังใจความปรากฎดังนี้... 

\"ฝนตก\"หลงฤดู แนะวางแผนเดินทาง 22-25 พ.ย.

ตั้งแต่วันที่ 22-25 พฤศจิกายน ฝนตกหนักหลงฤดูทั่วทุกภาค (แต่ลมไม่แรงมาก อุณหภูมิสูงขึ้นมานิดหน่อย) จากหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ และทะเลอันดามัน เริ่มจากภาคอีสานล่าง (วันที่ 22 พ.ย.) ต่อเนื่องภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอีสาน ภาคใต้ตอนบน (วันที่ 23-24-25 พ.ย.) และค่อยๆเบาลงทั่วทุกภาค (วันที่ 26 พ.ย.) เกษตรกรควรงดตากผลผลิตในช่วงวันดังกล่าว  พื้นที่เปิดในต่างจังหวัด พื้นที่ที่มีความชื้นในดินต่ำ ประกอบกับระดับน้ำในแม่น้ำ ลำคลองลดต่ำลงกว่าตลิ่งจะมีความเสี่ยงน้ำท่วมต่ำ 

\"ฝนตก\"หลงฤดู แนะวางแผนเดินทาง 22-25 พ.ย.

กทม.-ปริมณฑล เฝ้าระวัง 'น้ำท่วมขัง'

แต่พื้นที่ปิดในเมืองพื้นผิวแข็ง รวม กทม. และปริมณฑล จะมีความเสี่ยงสูงกว่าจากน้ำท่วมรอระบาย จึงควรวางแผนการเดินทางช่วงวันที่ 23-24-25 พฤศจิกายนนี้ด้วย

" ผม และคณะทำงานฯได้เดินทางไปสำรวจน้ำภาคอีสาน (ขอนแก่น ร้อยเอ็ด) วันที่ 17-18 พฤศจิกายน  (หลังน้ำลด) พบว่ายังคงมีน้ำค้างทุ่งอยู่ปริมาณมาก และบางแห่งเริ่มเน่าเสีย โดยเฉพาะในลุ่มน้ำชี สำรวจผนังกั้นน้ำขาดหลายแห่ง สำรวจสภาพตลิ่งซึ่งปัจจุบันน้ำกำลังลดลง และปัญหาวิกฤติที่จะตามมาคือ ตลิ่งกำลังพังจาก Rapid drawdown (ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว) เนื่องจากเป็นตลิ่งแบบดินปนทราย จะต้องใช้งบประมาณมหาศาล จึงควรแก้ปัญหาให้ตรงจุด ร่วมกับท้องถิ่น ชาวบ้าน สถานศึกษา (นวัตกรรม Soil cement เป็นทางออกหนึ่งที่ประหยัด และรวดเร็วในการทำงาน) "

\"ฝนตก\"หลงฤดู แนะวางแผนเดินทาง 22-25 พ.ย.

ปัญหาน้ำท่วม - น้ำแล้ง อีสาน แก้ไม่ตก

พื้นที่ภาคอีสานกลับมาแล้งอีก หลังจากน้ำท่วมหนัก 2-3 เดือนที่ผ่านมา มันเกิดอะไรขึ้น เรื่องของการจัดการทั้งนั้นเลย ด้าน Supply  มีอ่างเก็บน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งไม่มีน้ำ ตื้นเขิน ทั้งๆที่เพิ่งท่วมไป ห้วยหนอง คลองบึง ฝนทุกเม็ด น้ำทุกหยด ต้องกัก เก็บ หน่วง และใช้เป็นน้ำต้นทุน ในขณะเดียวกันด้าน Demand ต้องถามตรงๆว่าเราใช้น้ำกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลหรือไม่ ทำไมผลผลิตข้าวต่อไร่เราต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก ทำไมชาวนายิ่งทำ ยิ่งจน ทำมาก ได้น้อย และทำไมปล่อยปะละเลยกันมาหลายสิบปี คิดกันเฉพาะโครงการใหม่ๆ ใหญ่ๆ งบประมาณมากๆ คันกั้นน้ำพังทุกปี ชาวบ้านรับเคราะห์ทุกปี ตั้งงบประมาณซ่อมแซมทุกปี 

 

" ผมรับประกันได้เลยว่าถ้าทำตามสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมด ใช้คนรู้พื้นที่จริง ศึกษาจริง ทำจริง มีเจ้าภาพชัดเจน ภายใน 5 ปี ภาคอีสานจะไม่มีท่วม และไม่มีแล้ง และ จะกลับมาสมบูรณ์พูลสุขตลอดไป "