ประกาศการคำนวณโครงสร้างอาคารเพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

09 พ.ย. 2564 | 20:33 น.
อัปเดตล่าสุด :10 พ.ย. 2564 | 03:40 น.
2.3 k

กระทรวงมหาดไทยประกาศการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มีผลพรุ่งนี้

วันนี้(9 พ.ย.64) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

 

โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์การออกแบบและคํานวณอาคารต้านทานแรงสั่นสะเทือน ของแผ่นดินไหวที่เป็นรายละเอียดด้านเทคนิคและหลักวิชาการด้านแผ่นดินไหวที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว เพื่อให้การก่อสร้างและดัดแปลงอาคารในบริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวมีความปลอดภัย

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกอบข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวงกําหนดการรับน้ําหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคาร ในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. ๒๕๖๔ ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมอาคาร ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้

“กฎกระทรวง” หมายความว่า กฎกระทรวงกําหนดการรับน้ําหนัก ความต้านทาน ความคงทน ของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. ๒๕๖๔

“บริเวณที่ ๑” หมายความว่า บริเวณที่ ๑ ตามกฎกระทรวง “บริเวณที่ ๒” หมายความว่า บริเวณที่ ๒ ตามกฎกระทรวง “บริเวณที่ ๓” หมายความว่า บริเวณที่ ๓ ตามกฎกระทรวง

 

“การเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ระหว่างชั้น” หมายความว่า การเคลื่อนตัวด้านข้างสัมพัทธ์ระหว่าง พื้นของชั้นถัดไปที่อยู่เหนือชั้นที่พิจารณาและชั้นที่พิจารณา

 

“ไดอะแฟรม” หมายถึง ระบบโครงสร้างที่วางตัวอยู่ในแนวราบหรือใกล้เคียงแนวราบ ทําหน้าที่ส่งถ่ายแรงด้านข้างไปสู่ชิ้นส่วนในแนวดิ่งซึ่งเป็นส่วนของระบบต้านแรงด้านข้าง และหมายความรวมถึง ระบบค้ํายันในแนวราบด้วย

 

“แผ่นดินไหวรุนแรงสูงสุดที่พิจารณา” หมายความว่า แผ่นดินไหวที่มีระดับความรุนแรงสูงสุด ที่พิจารณาในมาตรฐานฉบับนี้ ซึ่งความน่าจะเป็นที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงกว่าระดับที่พิจารณาเท่ากับ ร้อยละสองในช่วงเวลาห้าสิบปี

 

“แผ่นดินไหวสําหรับการออกแบบ” หมายความว่า แผ่นดินไหวที่มีระดับความรุนแรงเป็นสอง ในสามของแผ่นดินไหวรุนแรงสูงสุดที่พิจารณา

 

“วิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก” หมายความว่า วิธีการออกแบบเพื่อหาขนาดสัดส่วน ขององค์อาคาร โดยแรงที่เกิดขึ้นในองค์อาคารภายใต้น้ำหนักบรรทุกใช้งานที่คูณด้วยตัวคุณน้ำหนักบรรทุกที่เหมาะสมไม่สูงเกินกว่ากําลังระบุที่คูณด้วยตัวคูณความต้านทาน และเรียกว่าการออกแบบ โดยวิธีกําลังสําหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

 

“วิธีหน่วยแรงที่ยอมให้” หมายความว่า วิธีการออกแบบเพื่อหาขนาดสัดส่วนขององค์อาคาร โดยหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในองค์อาคารภายใต้น้ําหนักบรรทุกใช้งานไม่สูงเกินหน่วยแรงที่ยอมให้ และเรียกว่าการออกแบบโดยวิธีหน่วยแรงใช้งานสําหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

                                                   หมวด ๑ บททั่วไป

 

ข้อ ๓ ประกาศนี้กําหนดรายละเอียดด้านเทคนิคเกี่ยวกับการออกแบบและคํานวณ โครงสร้างอาคารต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวในเรื่อง ดังต่อไปนี้

 

(๑) ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่ใช้ในการออกแบบและคํานวณ (๒) การคํานวณแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

 

(๓) การจัดโครงสร้างทั้งระบบ การกําหนดรายละเอียดปลีกย่อยของชิ้นส่วนโครงสร้าง และบริเวณรอยต่อระหว่างปลายชิ้นส่วนโครงสร้างต่าง ๆ ให้มีความเหนียว

 

ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้กับการออกแบบและคํานวณโครงสร้างอาคารที่กําหนดตามกฎกระทรวง เว้นแต่การออกแบบและคํานวณโครงสร้างอาคารดังต่อไปนี้ ให้การคํานวณแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่จัดทําโดยส่วนราชการอื่นที่มีหน้าที่และอํานาจในเรื่องนั้น และให้ ใช้ค่าระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวไม่ต่ํากว่าที่กําหนดในประกาศนี้

 

(๑) สะพานหรือทางยกระดับ รวมถึงอาคารที่ใช้ในการควบคุมการจราจรของสะพาน หรือทางยกระดับดังกล่าว

 

(๒) อุโมงค์ที่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง

 

(๓) เขื่อนเก็บกักน้ํา เขื่อนทดน้ํา หรือฝายทดน้ํา รวมถึงอาคารประกอบที่ใช้ในการบังคับ หรือควบคุมน้ำของเขื่อนหรือของฝายดังกล่าว

 

(๔) เครื่องเล่นตามกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมเครื่องเล่น

 

ข้อ ๕ การออกแบบและคํานวณโครงสร้างอาคารตามกฎกระทรวง ซึ่งไม่ใช่อาคารที่กําหนด ตามข้อ ๔ อาจใช้หลักเกณฑ์อื่นนอกเหนือจากที่กําหนดในประกาศนี้ได้ แต่ต้องกระทําโดยนิติบุคคล ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือได้รับการรับรองโดยนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม โดยนิติบุคคลนั้นต้องมีวิศวกรระดับวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร เป็นผู้ให้คําแนะนําและลงลายมือชื่อรับรองวิธีการออกแบบและคํานวณ ตามหลักเกณฑ์นั้นด้วย และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้

 

คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : การออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเพื่อต้านแผ่นดินไหว