RISC by MQDC เสนอเครื่องมือวางแผนพัฒนาเมือง และอสังหาฯ รับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมในงาน UN Climate Change ดูไบ

12 ธ.ค. 2566 | 13:15 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ธ.ค. 2566 | 13:18 น.

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) ร่วมเป็นวิทยากรในงาน UN Climate Change Conference UAE 2023 ภายใต้ COP28 ในวันที่ 2 ธ.ค. 2023 ณ Thailand Pavilion เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีตัวแทนจากประเทศสมาชิก 197 ประเทศเข้าร่วม

ดร.สิงห์ บรรยายในหัวข้อ “Resilience Framework for Nature Positive Developments” ใน session “How do non-technological Innovation Concepts Catalyze the Achievement of Net-zero Emissions?” นำเสนอเครื่องมือ Resilience Framework ในการวางแผนการพัฒนาเมืองและแนวทางการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่พร้อมรับมือกับ ความไม่สมดุลของโลก ทัังจากปัญหาภาวะโลกรวน ที่มีสาเหตุจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจากสภาพสังคมที่ตึงเครียด และจากปัจจัยอื่นๆ อย่างเศรษฐกิจ สงคราม เป็นต้น

 

RISC by MQDC เสนอเครื่องมือวางแผนพัฒนาเมือง และอสังหาฯ รับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมในงาน UN Climate Change ดูไบ

RISC by MQDC เสนอเครื่องมือวางแผนพัฒนาเมือง และอสังหาฯ รับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมในงาน UN Climate Change ดูไบ

 

Resilience Framework ระบุปัจจัยเสี่ยง (Shock & Stresses) ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต โดยมุ่งเน้นที่การเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาและความเสี่ยง (Adaptation) ใน 3 มิติ ได้แก่

1. Nature & Environment ความเสี่ยงด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. Living & Infrastructure ความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตและและระบบสาธารณูปโภคของเมือง

3. Society & Economy ความเสี่ยงด้านสังคมและเศรษฐกิจ 

ในการบรรยายครั้งนี้ ดร. สิงห์ นำเสนอโครงการ The Forestias และกล่าวว่า แนวคิดด้าน “ความยั่งยืน (Sustainability)” ไม่เพียงพอต่อการสร้างความอยู่ดีมีสุขและการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป โดยทุกหน่วยงาน จะต้องนำแนวคิดด้าน Resilience มาปรับใช้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับทุกๆ ความไม่สมดุลในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม จากการใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางธรรมชาติ (Nature-based solution) เช่น การสร้างสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่สามารถรับมือภัยพิบัติ การนำ Green Technology มาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวปฏิบัติที่ตอบโจทย์การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงการพัฒนา Sustainnovation ที่ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การนำขยะพลาสติกมาเป็นส่วนผสมในวัสดุก่อสร้าง ถนน ผืนพรม การใช้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนมาใช้ในการพัฒนาโครงการ
นอกจากนี้ ดร. สิงห์ ได้เน้นย้ำว่า ภาคส่วนต่างๆ ต้องวางแผนในการร่วมลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นรูปธรรมได้แล้ว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนปี 2050 และรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5°C ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของ COPs ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ MQDC ที่ตั้งใจจะบรรลุเป้าหมาย “Nature Positive & Carbon Negative" ภายในปี 2050