‘บางจากฯ’ ชี้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Regenerative Fuels ตอบโจทย์ขับเคลื่อนโลกยั่งยืน

23 พ.ย. 2566 | 17:00 น.
อัปเดตล่าสุด :23 พ.ย. 2566 | 17:04 น.

‘บางจากฯ’ ชี้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Regenerative Fuels ตอบโจทย์ขับเคลื่อนโลกยั่งยืน ในงานสัมมนาแห่งปี Greenovative Forum ครั้งที่ 13 ปี 2566

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนาครั้งใหญ่แห่งปี 2566 Bangchak Group Greenovative Forum ครั้งที่ 13 ในหัวข้อ “Regenerative Fuels: Sustainable Mobility” นำเสนอประเด็นเชื้อเพลิงอนาคตที่จะตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืน โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับโลกและระดับประเทศร่วมสะท้อนมุมมองภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมที่อาคารเอ็มทาวเวอร์ เกือบ 300 คน และผ่านช่องทางออนไลน์ประมาณ 2,700 คน และได้รับเกียรติจากมิสซิส แอสทริด เอมิเลีย เฮลเลอ เอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ ประจำประเทศไทย นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และนายสไกร คงธรรม ผู้ช่วยผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมรับฟัง

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “Regenerative Fuels: Sustainable Mobility” ชี้ถึงเชื้อเพลิงอนาคตที่จะตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืนว่า ด้วยสภาวะปัจจุบัน ทำให้โลกให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาดมากขึ้น ไฮโดรเจนถูกมองว่าเป็นทางเลือกสำหรับอนาคต แต่ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและการนำไปใช้งานจริงให้มีราคาและต้นทุนที่แข่งขันได้ ซึ่งจากความต้องการใช้เชื้อเพลิงของโลกที่อยู่ในระดับสูงถึง 220 ล้านบาร์เรลต่อวัน เชื้อเพลิงเหลว หรือ Liquid Fuels จะเป็นรูปแบบพลังงานหลักที่สำคัญ จาก 2 ปัจจัยคือ ความหนาแน่นของพลังงาน (energy density) สูงและการขนส่งที่สะดวก 

สำหรับภาคการเดินทางและการขนส่ง ซึ่งจะยังคงมีความต้องการการใช้เชื้อเพลิงเป็นอย่างมาก เชื้อเพลิงที่จะตอบโจทย์สำหรับการเดินทางและขนส่งอย่างยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ การใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Regenerative Fuels ซึ่งเป็นโมเลกุลสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuels) นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญคือ การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะช่วยบริหารจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage - CCUS) เพื่อให้โลกอยู่กับเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สะอาดและยั่งยืนขึ้น
 


สำหรับภาคการบิน เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF เป็นทางเลือกพลังงานที่จะตอบโจทย์ภาคขนส่งอย่างยั่งยืน เมื่ออุตสาหกรรมการบินตั้งเป้าหมาย Net Zero ในปี ค.ศ. 2050 กลุ่มบริษัทบางจาก จึงได้บุกเบิกธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิง SAF จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (Used Cooking Oil) โดยหน่วยผลิต SAF ที่โรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง เป็นเชื้อเพลิงที่ภาคการบินทั่วโลกสามารถนำมาใช้ทดแทนได้ทันทีโดยไม่ส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์  
 

ภายในงานยังได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรด้านพลังงานชั้นนำระดับโลกมาร่วมนำเสนอข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเชื้อเพลิงอนาคตเพื่อตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืน โดย Mr. Ji Yang Lum, Associate Director, Biofuels Research and Analytics, S&P Global Commodity Insights บรรยายเรื่อง “Global Transportation with Sustainable Fuel Market” และบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีกระบวนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี และเชื้อเพลิงอนาคต Mr. Michael Spivey Sales Director, Honeywell UOP บรรยายเรื่อง “A Total Solution for Low Carbon Intensity Renewable Fuels” และ Mr. Jeff Caton Commercial Director - Asia Pacific, Axens Group บรรยายเรื่อง “Solutions for Energy Transition by Innovated Technologies”
 


นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายวงการร่วมเสวนา “Pioneering Sustainable Aerospace: พลิกโฉมน่านฟ้า สู่การบินยั่งยืน” โดย ม.ล.ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), Dr. Kan Ern Liew, Head of Technology, Airbus Malaysia, นายยงยุทธ ลุจินตานนท์ Area Manager IATA Thailand, Laos, Cambodia and Myanmar, นายปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด และแขกรับเชิญพิเศษ นางสาวอินทิพร แต้มสุขิน (แม็กซีน) ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์สายกรีน พร้อมด้วย นายสุวิกรม อัมระนันทน์ (เปอร์) พิธีกร และ CEO บริษัท แบล็คดอท จำกัด ดำเนินรายการโดย นายพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ (หนุ่ย แบไต๋) สะท้อนมุมมองของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งสายการบิน ผู้ให้บริการและผู้ส่งเสริมมาตรฐานในธุรกิจการบิน รวมไปถึงนักธุรกิจและนักเดินทาง ในประเด็นเรื่องการขับเคลื่อนเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) รวมทั้งแนวทางการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะทำให้การบินด้วย SAF เป็นเรื่องที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและยกระดับการใช้งาน เพื่อช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมการบิน เดินหน้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้ในอนาคต
 


บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัด Greenovative Forum เป็นประจำปีทุกปีตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา เพื่อสะท้อนให้สาธารณชนได้เห็นถึงประเด็นด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่ควรตระหนักและร่วมมือกันแก้ไขหรือพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นวัตกรรมที่ตอบโจทย์การบรรเทาภาวะโลกร้อนและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.bangchak.co.th และรับชมย้อนหลัง
ได้ทาง Facebook: Bangchak
 


เกี่ยวกับบางจากฯ

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานใน 5 ธุรกิจหลัก คือ 1) กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ผู้นำด้านการกลั่นน้ำมันของประเทศ ด้วยกำลังการผลิตรวมเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน จากโรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex Refinery มาตรฐานระดับโลก 2 แห่ง คือโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนงและโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขยายสู่ธุรกิจการค้าน้ำมันผ่านบริษัทบีซีพี เทรดดิ้ง (BCPT) และต่อยอดเครือข่ายธุรกิจขนส่งเชื้อเพลิง ผ่านบริษัทกรุงเทพขนส่งเชื้อเพลิงทางท่อและโลจิสติกส์ (BFPL) รวมถึงลงทุนในธุรกิจเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF ผ่านบริษัทบีเอสจีเอฟ (BSGF)

2) กลุ่มธุรกิจการตลาด ส่งมอบ Greenovative Experience ผ่านเครือข่ายสถานีบริการกว่า 2,200 แห่ง เสริมด้วยธุรกิจ non-oil เช่น กาแฟอินทนิล น้ำมันหล่อลื่น Furio EV Charger รวมทั้งความร่วมมือกับพันธมิตรด้านอาหารหลากหลายและนำระบบดิจิทัลมาส่งมอบประสบการณ์ทันสมัย สะดวก ปลอดภัย ให้กับผู้ใช้บริการ

3) กลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และการนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการการใช้พลังงานของผู้บริโภคและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย บมจ. บีซีพีจี ผู้นำธุรกิจพลังงานสะอาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

4) กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ดำเนินการภายใต้ บมจ. บีบีจีไอ ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวภาพรายใหญ่ของประเทศและขยายสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง

5) กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ ลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมผ่านการถือหุ้นใน OKEA ASA ประเทศนอร์เวย์ ที่เป็นที่ยอมรับว่ามีมาตรฐานด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และมีกลุ่มธุรกิจขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ ๆ (New Frontier Businesses) อาทิ ธุรกิจแพลตฟอร์มให้บริการรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Winnonie และสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ (BiiC) เน้นการลงทุนในธุรกิจใหม่ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งช่วยสร้างระบบนิเวศสำหรับนวัตกรรมสีเขียว

นอกจากนี้ ยังได้ก่อตั้ง Carbon Markets Club เพื่อส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และร่วมก่อตั้งภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งอนาคต SynBio Consortium

บางจากฯ ได้รับการประเมินจาก S&P Global CSA ผู้จัดทำการประเมินความยั่งยืนดัชนี DJSI ได้คะแนนการประเมินสูงเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil & Gas Refining and Marketing และได้รับการประเมิน MSCI ESG Rating ระดับ AA ซึ่งเป็นระดับสูงสุดขององค์กรในธุรกิจพลังงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 

กลุ่มบริษัทบางจากตั้งเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2030 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2050