เปิดแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวของ SCG ในการประชุม TCAC 2023

03 พ.ย. 2566 | 14:42 น.
อัปเดตล่าสุด :03 พ.ย. 2566 | 14:48 น.

การประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 หรือ Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากทุกภาคส่วน

Action Conference: TCAC 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากทุกภาคส่วน
โดยประกอบด้วยผู้เข้าร่วมประชุมระดับคณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง คณะทูตานุทูต ผู้ว่าราชการ ผู้บริหารภาครัฐ ผู้บริหารภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และบุคคลผู้สนใจ กว่า 3,700 คน จาก 48 ประเทศ เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน ตอบสนองต่อนโยบายของประเทศ


โดยในส่วนภาคเอกชนอย่าง SCG ได้เปิดแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว แผนนี้จะเป็นอย่างไรและมีความคืบหน้าอะไรบ้าง? เรามาดูกันดีกว่า โดยมีนายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารความยั่งยืน SCG อัพเดทให้ฟัง ดังนี้

ประเด็นที่หยิบยกมาพูดคุยในการประชุม TCAC 2023

หากเรามองย้อนไปในการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ครั้งที่ 26 จนถึงครั้งล่าสุดคือครั้งที่ 27 ที่พูดถึงเรื่อง Just Transition ว่าจะมีการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนตํ่าได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมี Stakeholder หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร ซึ่งถือเป็นเรื่องหลัก 3 เรื่องสำคัญคือ

1. พลังงาน

เรื่องการเปลี่ยนผ่านพลังงานในรูปแบบของการใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่หรือโครงข่ายของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงเรื่องพลังงานความร้อน ซึ่งในแผนของประเทศมีอยู่แล้ว รวมถึงในเรื่องของไฟฟ้า แก๊ส น้ำมัน หรือถ่านหิน อาจมีการขับเคลื่อนให้เกิดเร็วขึ้นในลักษณะของ Flexibility ที่สูงให้มีเครือข่ายเชื่อมโยงกันมากขึ้น

2. ความร่วมมือในรูปแบบ Public Private Partnership model (PPP)

นายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารความยั่งยืน SCG เผยว่าการจำลองประเทศเพื่อสร้าง Use case การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่พัฒนาโครงการลดคาร์บอนทั้ง 5 สาขา ตาม NDC โรดแมปลงไปที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีความสำคัญทางด้านการเป็นแหล่งอุตสาหกรรมในอดีตมายาวนาน และมีเขตแนวต่อกับ World Heritage อย่าง เขาใหญ่ ที่จังหวัดสระบุรีหลายคนอาจยังไม่ทราบว่ามีป่ากันชนที่ทำให้ป่าอุดมสมบูรณ์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นโป่งก้อนเส้าหรือเขาชะอม การย่อจังหวัดสระบุรีมีขึ้นเพื่อเช็กข้อจำกัดต่างๆ หรือแม้กระทั่งจุดไหนที่ทำสำเร็จแล้วไปขยายผลได้ในจังหวัดอื่นๆ อันไหนที่ยังติดปัญหาและอุปสรรคก็จะเป็นจุดร่วมสำคัญที่ทำให้แต่ละภาคส่วนร่วมมือกันแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าว

3. การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าหรือ Circular Economy เป็นเรื่อง Waste ซึ่งอยู่ในแผนของประเทศ มีการคุยและตกลงกันถึงเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หรือ Waste Circularity จะมีมาตรการการส่งเสริมในด้านกฎหมาย ซึ่งทางกรมโรงงานก็มีกฎหมายเกี่ยวกับ Waste Circularity ออกมาว่าต้องดูแลจนถึงเรียบร้อยทุกขั้นตอน นอกจากนี้ยังมีการประสานงานหลายภาคส่วน รวมไปถึงเรื่องของ Logistics ด้วย

ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องรับมืออย่างไร ต้องปรับแผนธุรกิจหรือไม่อย่างไร

เอสซีจี ได้นำเสนอ GDP ที่เติบโตขึ้น การทำอย่างไรให้ปล่อยคาร์บอนลดลงหรือที่เรียกว่า low carbon economy business ซึ่งเป็นแผนธุรกิจของเอกชนและภาครัฐ โดยนายกรัฐมนตรีมีการพูดเรื่องการส่งเสริมงบประมาณของเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งเป็นแนวโน้มที่ธุรกิจปรับตัวอยู่แล้ว ทางอุตสาหกรรมซีเมนต์เองก็ได้มีการปรับตัวมาก่อนหน้านี้ ประมาณ 3-4 ปี ได้มีการออกตัว product innovation ลดโลกร้อน มีส่วนร่วมกันระหว่างสมาชิก มีการนำ Waste จากการเกษตร waste ของเทศบาลหรือ industry waste เข้ามาใช้ในกระบวนการให้เกิดประโยชน์ มันไม่ใช่แค่ Reuse Reduce Recycle แล้ว มันคือ Regenerative ดังนั้นธุรกิจหรือเศรษฐกิจจากนี้จะไปในแนวนี้

จากการประเมินนวัตกรรมรักษ์โลกจะเติบโตและได้รับความนิยมมากขึ้นหรือไม่

นายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารความยั่งยืน SCG เผยว่า นวัตกรรมรักษ์โลกจะเติบโตขึ้นแน่นอนเพราะเด็กรุ่นใหม่ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงและจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ขณะที่ผู้ใหญ่ในปัจจุบันให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างมาก นวัตกรรมมีอยู่ทั่วไปที่เราเห็น ไม่ว่าจะในโทรศัพท์ซึ่งใช้ประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมได้เยอะ หรือแม้เรื่องของดาวเทียม การนำภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ในการติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลกร้อน หรือการนำ AI มาใช้บอกถึงข้อดีและเอาไปขยายผลในที่อื่น 

การสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน ควรทำอย่างไร

สิ่งเหล่านี้คือ culture change หรือ change management ต้องเริ่มด้วยการสื่อข้อความ ปลูกฝังเข้าไปในหลักสูตรของเด็กตั้งแต่เล็กๆ ว่าเรื่อง climate change เป็นเรื่องที่เข้ามาใกล้ตัว ผู้ใหญ่เองต้องหาวิธีว่าจะสื่ออย่างไรกับเด็กๆ ซึ่งเด็กมีพร้อมอย่างมากเพียงแต่สภาพแวดล้อมที่สร้างมาให้เอื้อในการตระหนักถึงเรื่องผลกระทบและสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างไร อันนี้จะช่วยให้เรื่องของการเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นและเตรียมพร้อมสำหรับโลกใบใหม่ ซึ่งผมเชื่อว่ามันจะดีขึ้น