กลุ่มไทยออยล์ เดินหน้าหนุนยุทธศาสตร์ชาติ ขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ด้วย BCG Model

27 ธ.ค. 2565 | 13:00 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ธ.ค. 2565 | 22:59 น.

กลุ่มไทยออยล์ เดินหน้าหนุนยุทธศาสตร์ชาติ ขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ด้วย BCG Model

BCG Model หรือ Bio-Circular-Green Model เป็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยสู่ยุคใหม่ โดยการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่ไทยมีศักยภาพโดดเด่น โดยรัฐบาลมีความมุ่งหวังที่จะใช้ BCG Model ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด เพื่อข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่รายได้สูง รวมถึงเพื่อกระจายโอกาสต่าง ๆ จากเศรษฐกิจ BCG ไปสู่ชุมชนอย่างทั่วถึงและยั่งยืน

 

“กลุ่มไทยออยล์” เป็นกลุ่มธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมีชั้นนำที่ได้รับคะแนนประเมินสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลกในอุตสาหกรรมการตลาดและการกลั่นน้ำมันและก๊าซเป็นปีที่ 7 และ ได้รับการรับรองเป็นสมาชิก DJSI เป็นปีที่ 10 ต่อเนื่องกัน มีวิสัยทัศน์  “สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน” ได้วางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวโน้มของโลกที่เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานสะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตาม แนวทาง BCG Model

Bio Economy : เศรษฐกิจชีวภาพ


เป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรชีวภาพซึ่งกลุ่มไทยออยล์มุ่งสร้างธุรกิจแห่งอนาคต (New S – Curve) ผ่านแผนกลยุทธ์สำคัญ โดยมุ่งเน้นลงทุนในธุรกิจไบโอที่มีศักยภาพ และสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจสูง โดยอยู่ระหว่างการศึกษาหลายโครงการ เช่น โครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (Bio - Jet) โครงการผลิต “ไฮโดรเจนสีเขียว” ความบริสุทธิ์สูง (Green Hydrogen) เทคโนโลยีการดักจับการใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอน (CCUS) โครงการชีวเคมี (Biochemicals) และ โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)


Circular Economy : เศรษฐกิจหมุนเวียน
    


เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยสามารถนำของที่ใช้ในการผลิตกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งกลุ่มไทยออยล์นำหลักการ CE มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง ผ่านแนวคิด TOP CE WE GO ประกอบด้วย 


1. W - Water and wastewater management : การจัดการน้ำ โดยการประหยัดการใช้น้ำทั้งในพื้นที่กระบวนการผลิตของโรงกลั่น และการใช้งานในสำนักงาน การเฝ้าระวังการรั่วไหลของน้ำ 


2. E - Energy conservation : การอนุรักษ์พลังงาน โดยลดการใช้พลังงานทั้งในกระบวนการผลิต และในสำนักงาน เช่น การปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน การเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED เป็นต้น


3. G-Green label focus : การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว โดยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฉลากเขียว 
 

4. O-Opportunity for upcycling waste :  การนำของเสียหรือของเหลือใช้กลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ การบริหารจัดการของเสีย รวมถึงดำเนินโครงการนำขยะเข้าสู่ Upcycling เช่น คัดแยกขวดพลาสติกเพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้งานต่อไป เป็นต้น

Green Economy : เศรษฐกิจสีเขียว
    

เป็นการสร้างนวัตกรรมที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่งกลุ่มไทยออยล์ใช้กลยุทธ์การลงทุนในผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 5 ประเภทต่างๆ 1. Composable ผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดิน หรือปุ๋ยชีวภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์สารชะล้างทำความสะอาด 2.Bio – Based ผลิตภัณฑ์ที่ใช้พืช หรือผลผลิตทางการเกษตรทดแทนวัตถุดิบจากปิโตรเลียม เช่น เอทานอลจากมันสำปะหลัง 3.Biodegradable ผลิตภัณฑ์ที่สามารถแตกสลายได้โดยชีวภาพ เช่น สารตั้งต้นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 4.Avoided GHG Emission ผลิตภัณฑ์ที่ผสมกับสารอื่นเพื่อให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่ลดลง เช่น แก๊สโซฮอล์, ไบโอดีเซล 

    

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นแผนในการขับเคลื่อนธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์ด้วย BCG Model ที่ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่เป็นทิศทางอนาคตของโลก รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติเรื่องเศรษฐกิจ BCG ที่ไทยได้ประกาศไว้ในเวทีการประชุม APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพครั้งล่าสุดด้วย