ความยืดเยื้อการระบาดของCOVID-19 ทำให้เกิดวิกฤตทั่วโลกและส่งผลกระทบแทบทุกอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับเมืองไทยรับผลกระทบด้านสาธารณสุข การดำเนินชีวิตของประชาชน และธุรกิจเซ โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)ที่มีฐานะการเงินเปราะบางจากการระบาดระลอกแรก ยิ่งซ้ำเติมปัจจัยลบที่ฉุดศักยภาพของSMEsไทย ทั้งปัญหารายได้ แบกรับค่าใช้จ่าย เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าสถานที่/อุปกรณ์ รวมถึง การปรับลดพฤติกรรมการจับจ่ายนอกบ้านของประชาชนและความไม่แน่นอนของการระบาด เมื่อไล่เรียง วิบากกรรมเก่าเรื่องต้นทุนที่ปรับเพิ่มจากเงินบาทแข็งค่า ปัญหาขาดแคลนแรงงานช่วงก่อนหน้า แม้ผลกระทบจะแตกต่างกันแต่ละประเภทธุรกิจมากหรือน้อย แต่ภาพรวมดังกล่าวทำให้ความสามารถในการรองรับแรงกระแทกทางเศรษฐกิจของ SMEsน้อยลง
ที่สำคัญชีวิตคนไทยจำนวนมากต่างพึ่งพิงธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นฟันเฟืองสนับสนุนการเติบโตทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทย เห็นได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของSMEs ไตรมาสสองปี2564 นี้กลับมาขยายตัว 12.5% จากที่เคยลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีก่อน โดยมีมูลค่า1.34ล้านล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP รวมทั้งประเทศ เท่ากับ34.2%ลดลงจากสัดส่วน 34.7% ในไตรมาสที่แล้ว โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)ระบุว่า SMEsของไทยหลายธุรกิจได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ขาดรายได้และขาดเงินทุนหมุนเวียน โดยเฉพาะเงินทุนหล่อเลี้ยงธุรกิจที่หดหาย เพราะการขอสินเชื่อใหม่กับสถาบันการเงินยังมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก สอดคล้องกับผลสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อไตรมาส 2 ปี 2564 ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พบว่า ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากหลายธุรกิจ อาทิ โรงแรมและภัตตาคารการค้าและก่อสร้างเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินทุนภายในธุรกิจและเพื่อผลิตสินค้าคงคลังส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกหนี้เดิม อย่างไรก็ตามภาพรวมของอัตราการอนุมัติสินเชื่อลดลงจากไตรมาส 1 โดยสถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อปัจจัยภาวะเศรษฐกิจและคุณภาพหลักประกันเป็นสำคัญ
ทว่า ท่ามกลางสถาบันการเงินอื่นเข้มงวดหรือระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อนั้น หากย้อนกลับไปจะเห็นความเคลื่อนไหวของธนาคารกรุงไทยทยอยออกมาตรการช่วยเหลือทั้งลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก พักชำระหนี้และขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้กับลูกค้า SMEs ขนาดกลางเป็นกรณีเร่งด่วน พร้อมสำรวจสุขภาพทางการเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้าในเชิงรุกสอดคล้องตามสถานการณ์ของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ตอกย้ำจุดยืนของธนาคารว่าจะเคียงข้างทุกธุรกิจ และจะไม่ทิ้งลูกค้าให้เผชิญปัญหาเพียงลำพัง
ภายใต้การเชื่อมโยงประสิทธิภาพ Digital Supply Chain รองรับการเปลี่ยนแปลงของecosystemหรือระบบนิเวศน์ ธนาคารกรุงไทยพร้อมเคียงข้างช่วยแก้ไข ให้คำปรึกษาเพื่อประสานประโยชน์ให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEsสามารถก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ได้อย่างมั่นใจ ด้วย 7 มาตรการช่วยลูกค้า ประกอบด้วยมาตรการช่วยลูกค้าบุคคล 3 มาตรการ ได้แก่
มาตรการที่ 1 สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อ Home Easy Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน) วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือ ขยายระยะเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระ สูงสุด 12 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน
มาตรการที่ 2 สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ลดการผ่อนชำระค่างวดลง 30% นานสูงสุด 6 เดือน
มาตรการที่ 3 สินเชื่อวงเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan) ได้แก่ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ 5 Plus ปรับเป็นวงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ได้นาน 48 งวด หรือตามความสามารถในการชำระหนี้
สำหรับมาตรการลูกค้าธุรกิจ 4 มาตรการ ได้แก่
มาตรการที่ 1 มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี) ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ได้รับยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรก รวมทั้งได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นานสูงสุด 10 ปี
มาตรการที่ 2 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME
- ลูกค้าที่มีสินเชื่อธุรกิจ วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อประเภท Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน หรือ ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 24 เดือน สำหรับสินเชื่อประเภท P/N และTrade Finance ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน
- ลูกค้าที่มีสินเชื่อธุรกิจ วงเงินกู้ 20-500 ล้านบาทสำหรับสินเชื่อประเภท Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน สำหรับสินเชื่อประเภท P/N และTrade Finance ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน
มาตรการที่ 3 มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่มีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันให้สามารถลดภาระทางการเงินชั่วคราว ในช่วงที่รอให้ธุรกิจฟื้นตัว ด้วยวิธีการโอนทรัพย์ชําระหนี้และให้สิทธิซื้อทรัพย์คืนในอนาคต ในราคารับโอนบวกต้นทุนการถือครองทรัพย์ (Carrying Cost) 1 % ต่อปี บวกค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ที่ธนาคารจ่ายตามจริง หักค่าเช่าทรัพย์หลังตีโอนที่ลูกค้าชำระมาแล้ว
มาตรการที่ 4 โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง สำหรับลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงิน 50-500 ล้านบาท โดยพิจารณา ตามความสามารถและศักยภาพของลูกค้า เช่น ปรับลดการผ่อนชำระ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ ตลอดจนการเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าที่มีแผนธุรกิจชัดเจนภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร
ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือจากธนาคารกรุงไทยที่ www.krungthai.com/link/covid-19 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่านที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ Krungthai Contact Center 02-111-1111
#กรุงไทยSME #กรุงไทยเคียงข้างธุรกิจคุณ #มาตรการช่วยเหลือลูกค้าฝ่าวิกฤติ