ขึ้นทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ต้องรู้ กทพ.-BEM เล็งหารือชะลอเก็บค่าทางด่วน65-150บาท

20 ต.ค. 2564 | 14:32 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ต.ค. 2564 | 22:05 น.

กทพ.เตรียมถก BEM หารือออกแคมเปญ-มาตรการเยียวยาชะลอเก็บค่าทางด่วน สัปดาห์หน้า หวังช่วยประชาชนช่วงโควิด-19 ระบาด หลังบอร์ดกทพ.รับทราบการปรับขึ้นค่าผ่านทางอัตราใหม่บนทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ 65-150 บาท คาดได้ข้อสรุปต้นเดือนพ.ย.นี้

นาสุรเชษฐ์  เหล่าพูลสุข  ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกทพ. (กทพ.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกทพ.รับทราบการปรับขึ้นค่าผ่านทางบนทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เนื่องจากครบกำหนดตามสัญญาสัมปทานจะมีการปรับขึ้นค่าผ่านทางทุกๆ5ปี โดยจะเริ่มจัดเก็บค่าผ่านทางในอัตราใหม่วันที่ 15 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป เบื้องต้นที่ประชุมได้สั่งการให้กทพ.ไปหารือกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)   (BEM) ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญาร่วมกับกทพ.ถึงมาตรการเยียวยาชะลอการปรับขึ้นค่าผ่านทางเพื่อช่วยเหลือประชาชนหรือออกแคมเปญพิเศษ หลังจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามข้อร้องเรียนของกระทรวงคมนาคม

 

 


ทั้งนี้ภายในสัปดาห์หน้ากทพ.จะเชิญเอกชนคู่สัญญาเข้าหารือเพื่อหามาตรการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนอีกครั้ง หากได้ข้อสรุปแล้วจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณาในช่วงต้นเดือนพ.ย.นี้  ส่วนการออกแคมเปญนั้นที่ผ่านมาเคยมีการออกแคมเปญของดอนเมืองโทรล์เวย์ โดยจำหน่ายคูปองเงินสดแทน หลังจากที่มีการปรับขึ้นค่าผ่านทาง 80 บาท จากเดิมที่จัดเก็บในอัตรา 70 บาท เพิ่มขึ้น 10 บาท แต่ในเส้นทางนี้จะค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากระบบการจัดเก็บค่าผ่านทางใช้รูปแบบEasy Pass ซึ่งไม่มีการใช้คูปองแล้ว 
 

“การหารือกับเอกชนในครั้งนี้หนักใจมาก เพราะเป็นการหารือที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา รวมทั้งฝ่ายเอกชนก็ได้รับความเดือดร้อนด้วย เมื่อเราไปขอให้คนที่เขาเดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนด้วยก็ต้องมีวิธีจูงใจหาข้อมูลมาหารือกันถึงการปรับขึ้นค่าผ่านทางในครั้งทำให้ได้ผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน  ส่วนจะได้ข้อสรุปหรือไม่นั้น ก็คงต้องเจรจาร่วมกัน เพราะเราเคยมีบทเรียนในการปรับขึ้นทค่าผ่านทางในช่วงที่ผ่านมา หากไม่มีการตกลงระหว่างกันทั้ง 2 ฝ่าย จะเกิดการฟ้องร้องจนกลายเป้นค่าโง่ ซึ่งจะต้องระวังในเรื่องนี้ด้วย”

นายสุรเชษฐ์  กล่าวต่อว่า  เมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับบริษัทเอกชนบ้างแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาการออกแคมเปญเพื่อช่วยเหลือประชาชน ขณะเดียวกันเอกชนได้มีการยื่นหนังสือร้องถึงกทพ. เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบปริมาณรถที่ใช้บริการบนทางด่วนลดลงอยู่ที่ 50,000 คันต่อวัน ซึ่งเป็นการใช้บริการก่อนเกิดสถานการณณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าปริมาณรถที่ใช้บริการอยู่ที่ 80,000 ต่อวัน ส่งผลให้รายได้ลดลง 50% 

 

 


“เอกชนถือเป็นประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม แต่เรื่องนี้เหตุกาณ์ยังไม่สิ้นสุด เชื่อว่าการเยียวยาในครั้งนี้จะเป็นการเยียวยาอย่างทั่วถึงไม่ใช่เฉพาะรายเท่านั้น แต่ถ้าการเจรจายังไม่ได้ข้อสรุปจนถึงวันที่ 15 ธ.ค.64 นี้ ทางกทพ.จำเป็นต้องจัดเก็บค่าผ่านทางในอัตราใหม่ตามสัญญาที่กำหนดไว้”

 

 


สำหรับประเภทรถที่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางในอัตราใหม่ดังนี้ 1.รถ 4 ล้อ จำนวน 65 บาท จากเดิม 50 บาท (เพิ่มขึ้น 15 บาท) 2.รถ 6-10 ล้อ จำนวน 105 บาท จากเดิม 80 บาท (เพิ่มขึ้น 25 บาท)3.มากกว่า 10 ล้อขึ้นไป จำนวน 150 บาท มจากเดิม 115 บาท (เพิ่มขึ้น 35 บาท)