ทำความรู้จัก "น้ำผึ้งเดือนห้า" จากป่าชายเลน บ้านไหนหนัง จังหวัดกระบี่  

27 ก.ค. 2564 | 21:15 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ค. 2564 | 04:28 น.
1.0 k

ทำความรู้จัก "น้ำผึ้งเดือนห้า" จากป่าชายเลน สุดยอดผลิตภัณฑ์แปลงใหญ่ผึ้งบ้านไหนหนัง จังหวัดกระบี่

ผึ้งเป็นแมลงมหัศจรรย์ ทั้งในเรื่องการช่วยผสมเกสรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของพืช และคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์จากผึ้งที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ช่วงเวลาที่ผ่านมาผึ้งจำนวนมากตายเพราะสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช ผนวกกับจำนวนพื้นที่ป่าลดลง กรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเลี้ยงผึ้งในรูปแบบแปลงใหญ่ ร่วมกันปกป้องผึ้ง

ทำความรู้จัก \"น้ำผึ้งเดือนห้า\" จากป่าชายเลน บ้านไหนหนัง จังหวัดกระบี่  

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ปัจจุบันทั่วประเทศมีแปลงใหญ่ผึ้ง จำนวน 76 แปลง แยกเป็นผึ้งพันธุ์ 9 แปลง และผึ้งโพรง 67 แปลง ในภาคใต้เองมีแปลงใหญ่ผึ้งมากถึง 62 แปลง เป็นแปลงใหญ่ผึ้งโพรงทั้งหมด กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ รวม 10 จังหวัด ตัวอย่างแปลงใหญ่

ผึ้งบ้านไหนหนัง ตำบลเขาคราม อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง และกิจกรรมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน แต่เดิมนั้นเกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่ต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยมีป่าชายเลนที่ต้องดูแลประมาณ 3,500 ไร่ และเห็นว่าการเลี้ยงผึ้งโพรงก็ต้องอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของป่าเป็นแหล่งอาหาร จึงได้ทำกิจกรรมเลี้ยงผึ้งโพรงขึ้น

ทำความรู้จัก \"น้ำผึ้งเดือนห้า\" จากป่าชายเลน บ้านไหนหนัง จังหวัดกระบี่  

โดยได้รับความร่วมมือจาก MAP ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ดูแลสนับสนุนกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน และยังให้การสนับสนุนกิจกรรมอื่น ๆ ของกลุ่มด้วย ต่อมาในปี 2557 กลุ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น จึงได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนในชื่อ “วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งบ้านไหนหนัง” สร้างรายได้จากการจำหน่ายน้ำผึ้งได้พอสมควร ในปี 2562 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกระบี่ได้ส่งเสริมให้ตั้งเป็นแปลงใหญ่ 

มีสมาชิก 31 ราย ผึ้งจำนวน 800 ลัง ปีนี้เป็นปีที่ 3 มีการพัฒนาทั้ง 5 ด้านของแปลงใหญ่ โดยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 25% พัฒนาคุณภาพเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน อย. มีเครือข่ายตลาดรองรับแน่นอน บริหารจัดการกลุ่มโดยเกื้อกูลธรรมชาติและวิถีชุมชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นการต่อยอดความยั่งยืนของกลุ่ม 

ทำความรู้จัก \"น้ำผึ้งเดือนห้า\" จากป่าชายเลน บ้านไหนหนัง จังหวัดกระบี่  

นายสุธีร์ ปานขวัญ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งโพรงบ้านไหนหนัง กล่าวว่า การเลี้ยงผึ้งโพรงของกลุ่มแปลกแหวกแนวไม่เหมือนใคร ใช้วิธีการล่อผึ้งโพรงป่าตามธรรมชาติให้เข้ามาอยู่ในรังที่เตรียมไว้ แล้วปล่อยให้ผึ้งหากินเองแบบธรรมชาติ เหมือนกับอยู่ในป่า ทำให้ได้น้ำผึ้งคุณภาพดี มีสรรพคุณทางยาเหมือนเก็บ
จากในป่า

และที่สำคัญเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ผึ้งโพรงไปในตัวด้วย การเลี้ยงผึ้ง 1 รัง สามารถเก็บน้ำผึ้งได้กว่า 10 ขวด ขายขวดละ 400-500 บาท ได้เงินราว 4,000-5,000 บาท/ปี ครั้งแรกที่ลงทุนทำรังผึ้งใช้งบประมาณเพียง 400-500 บาทเท่านั้น หลังจากนั้น ปีถัดไปก็ไม่มีต้นทุนเลย ได้กำไรล้วน ๆ เพราะไม่ต้องไปให้อาหาร ไม่ต้องดูแล แค่ป้องกันมด และตัวต่อไม่ให้รบกวน

ผลผลิตจะจำหน่ายเป็นน้ำผึ้งสด 75% โดย 40% จำหน่ายให้กับโรงแรมมาริออสและโรงแรมในเครืออนันตรา (เกาะสมุย) โดยทำ MOU ร่วมกัน และอีก 60% จำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ ตลาดทั่วไปในประเทศและงานแสดงสินค้า ผลผลิต 25% นำมาแปรรูปเป็น สบู่น้ำผึ้ง ยาสระผม ครีมนวด จำหน่ายขวดละ 50 บาท

ทำความรู้จัก \"น้ำผึ้งเดือนห้า\" จากป่าชายเลน บ้านไหนหนัง จังหวัดกระบี่  

และขนมต่างๆ อมยิ้ม เป็นต้น ด้านการพัฒนาคุณภาพ มีการผลิตน้ำผึ้งคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) น้ำผึ้งที่นี่มีคุณภาพสูงโดยเฉพาะน้ำผึ้งเดือนห้าจากป่าชายเลน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารเฉพาะ มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าชายเลนและไม้ดอก เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้ผึ้ง และส่งเสริมการเลี้ยงชันโรง

ทั้งนี้กลุ่มมีแผนสร้างโรงเรือนในการบรรจุน้ำผึ้ง โดยใช้งบประมาณ 300,000 บาท แต่ไม่ต้องการกู้เงินจากแหล่งทุนต่างๆ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการระดมทุนในกลุ่ม สมาชิกมีมติให้เก็บเงิน 20% ของรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต เข้าสมทบให้กับกลุ่มโดยจัดสรรเป็น 2 ส่วน คือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่ม 10% และใช้ในกิจกรรมอนุรักษ์ป่าชายเลน 10% และแปลงใหญ่ผึ้งโพรงบ้านไหนหนังยังเป็นเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอเมืองกระบี่

ทำความรู้จัก \"น้ำผึ้งเดือนห้า\" จากป่าชายเลน บ้านไหนหนัง จังหวัดกระบี่  

โดยเป็น“ศูนย์เรียนรู้ด้านแมลงเศรษฐกิจ” มีเกษตรกรและบุคคลทั่วไปทั้งในและนอกจังหวัดกระบี่เข้ามาศึกษาเรียนรู้เป็นจำนวนมาก

ทำความรู้จัก \"น้ำผึ้งเดือนห้า\" จากป่าชายเลน บ้านไหนหนัง จังหวัดกระบี่