ศาลปกครอง เพิกถอนคำสั่ง ป.ป.ช. ทำขรก. 12 ราย เสียสิทธิขึ้นเงินเดือน

07 มี.ค. 2568 | 17:52 น.
อัปเดตล่าสุด :07 มี.ค. 2568 | 17:56 น.

"ศาลปกครองกลาง" มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่ง ป.ป.ช. กรณีหลักเกณฑ์การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ชี้ ออกระเบียบมิชอบ ทำให้ข้าราชการ 12 ราย เสียสิทธิ เป็นอีกคดีที่กระทบต่อชื่อเสียงองค์กร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีดำเลขที่ บ.97/2563 คดีเเดงเลขที่ บ.149/2565 ระหว่างผู้ฟ้องคดี คือข้าราชการสำนักงานป.ป.ช.รวม 12 ราย(โจทก์)กับ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ผู้ถูกร้องที่1เเละสำนักงานป.ป.ช. ผู้ถูกร้องที่2(จำเลย) ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

คำพิพากษาระบุใจความหลักว่า ผู้ฟ้องคดีทั้ง12เป็นข้าราชการ สำนักงานป.ป.ช. บรรจุในปี2559 ต่อมาสำนักงานป.ป.ช.ออกระเบียบคณะกรรมการปปช.ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล  สำนักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่สอง) พศ.2557เเก้ไขสาระสำคัญในข้อ31(4)เเละประกาศหลักเกณฑ์เเละวิธีการคัดเลือกเพื่อให้ดำรงตำเเหน่งทางวิชาการ ระดับชำนาญการเเละชำนาญการพิเศษ(ฉบับที่สอง)ลงวันที่5มิย.2557 บังคับใช้วันที่23มค.2557ต่อมาได้มีประกาศหลักเกณฑ์เเละวิธีการคัดเลือกเพื่อดำรงตำเเหน่งฯลงวันที่22มิย.2561ที่ใช้หลักเกณฑ์การประเมินเดิมตามที่สำนักงานกพ.ระบุไว้ 

ดังนั้นผู้ฟ้องคดีทั้ง12มีสิทธิได้รับการลดระยะเวลาการดำรงตำเเหน่งจาก 6 ปีเหลือ 4 ปีนับเเต่วันบรรจุเพื่อเลื่อนตำเเหน่ง ต่อมาสำนักงานป.ป.ช. ออกระเบียบคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลสำนักงาน ป.ป.ช. พศ.2561 ให้ยกเลิกออกระเบียบคณะกรรมการป.ป.ช.ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลสำนักงาน ป.ป.ช. พศ.2555เเละที่เเก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด เเละยังออกประกาศคณะกรรมการป.ป.ช. เรื่องหลักเกณฑ์เเละวิธีการประเมินบุคคลเเละผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นเเต่งตั้งให้ดำรงตำเเหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ เเละระดับชำนาญการพิเศษ พศ.2562ลงวันที่27 ธ.ค.2562

 

เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีทั้ง12 ที่ บรรจุรับราชการในปี2559ก่อนที่ผู้ถูกฟ้องที่1จะมีประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวเเละช่วงที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง12ได้รับการบรรจุนั้น ผู้ถูกร้องที่2ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เเละวิธีการให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนในกรณีที่วุฒิการศึกษาเพิ่ม/สูงขึ้น  การดำเนินการของผู้ถูกร้องที่1เเละที่2ทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้ง12 เสียสิทธิจึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนประกาศคณะกรรมการปปช.เรื่องหลักเกณฎ์เเละวิธีการประเมินบุคคลเเละผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นเเต่งตั้งให้ดำรงตำเเหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ เเละระดับชำนาญการพิเศษ พศ.2562 ข้อ8(ข)(1)เเละอื่นๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลได้พิพากษาว่า ”พิพากษาเพิกถอนข้อ8(ข)(1)ของประกาศคณะกรรมการปปช.เรื่องหลักเกณฑ์เเละวิธีการประเมินบุคคลเเละผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นเเต่งตั้งให้ดำรงตำเเหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ เเละระดับชำนาญการพิเศษ พศ.2562เฉพาะส่วนของข้อความว่า หากเป็นผู้ได้รับวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้นภายหลังการบรรจุซึ่งเป็นวุฒิการศึกษาที่ตรงตามมาตฐานกำหนดตำเเหน่งนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการเเละเงื่อนไขตามความในประกาศคณะกรรมการป.ป.ช. เรื่องหลักเกณฑ์เเละวิธีการให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนในกรณีที่ได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นเเละให้นับระยะเวลาการดำรงตำเเหน่งตามวุฒิการศึกษาที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้นได้ “โดยให้มีผลตั้งเเต่วันที่ประกาศนั้นมีผลบังคับ คำขออื่นๅให้ยก (รายละเอียดอ่านได้จากคำพิพากษาฉบับเต็มตามลิงก์ที่เเนบ)

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในตอนนี้ยังมีคดีต่างๆฟ้องร้องสำนักงานปปช.เเละคณะกรรมการ  ป.ป.ช.  อีกหลายคดี เช่น คดีนาฬิกาหรูที่นายวีระ สมความคิด ฟ้องสำนักงานป.ป.ช. เเละบุคลากรของสำนักงานป.ป.ช.

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ประธาน ป.ป.ช.ให้นโยบายว่า ขอให้สำนักงานป.ป.ช.ในปัจจุบันพิจารณาเเละทบทวนคำสั่งประกาศ/ระเบียบ/ผลการวินิจฉัยสำนวนคดึ/การร้องขอความเป็นธรรมของผู้ถูกล่าวหาในช่วงที่ผ่านมาหลายวาระนั้นว่าดำเนินการถูกต้อง/เป็นธรรม/ยึดหลักกฎหมายหรือไม่ หากสิ่งใดผิดพลาดให้ตรวจสอบเเละเเก้ไขเพื่อสร้างความโปร่งใสเเละเป็นธรรมเพื่อกู้ชื่อเสียงเเละความเชื่อมั่นของสังคมที่มีต่อสำนักงานป.ป.ช.กลับมาเร็วที่สุด

 

ศาลปกครอง เพิกถอนคำสั่ง ป.ป.ช. ทำขรก. 12 ราย เสียสิทธิขึ้นเงินเดือน

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาคือ เมื่อวันที่26 พ.ค.2549ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาในคดีที่นายคัมภีร์ แก้วเจริญ อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ประธาน ป.ป.ช. เเละคณะรวม9ราย กระทำผิดทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีขึ้นค่าตอบแทนให้ตนเองโดยศาลเห็นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองโดยอำเภอใจ ถึงแม้ภายหลังจำเลยจะนำเงินที่ได้มาส่งกลับคืนแต่ก็ไม่ได้ทำให้ความผิดที่สำเร็จแล้วสูญหายไป


ดังนั้นศาลจึงมีมติ 6 ต่อ 3 พิพากษาให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี แต่เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยทั้ง 9 แล้ว โทษจำคุกศาลให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี