ยกฟ้อง"อิทธิพล คุณปลื้ม" คดีวอเตอร์ฟร้อนท์ มัดขา ป.ป.ช.

20 พ.ค. 2567 | 16:58 น.
อัปเดตล่าสุด :20 พ.ค. 2567 | 18:32 น.
605

ยกฟ้อง"อิทธิพล คุณปลื้ม" มัดขา ป.ป.ช. ยกฟ้อง"อิทธิพล คุณปลื้ม" มัดขา ป.ป.ช. ยกฟ้อง"อิทธิพล คุณปลื้ม" มัดขา ป.ป.ช.

KEY

POINTS

  • "วิชา มหาคุณ" มองการยกฟ้องนายอิทธิพล คุณปลื้ม อดีตนายกเมืองพัทยา ในคดีออกใบอนุญาตก่อสร้างโครงการวอเตอร์ฟร้อนท์ฯ โดยมิชอบ เสี่ยงต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
  • คำพิพากษาว่า ป.ป.ช.ไม่ได้มุ่งหมายให้การดำเนินดีอยู่ภายในกรอบเวลาการฟ้องคดี เป็นกรณีที่มัดขา ป.ป.ช. ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความไม่เชื่อถือขึ้นได้ โดย ป.ป.ช. ควรอุทธรณ์ต่อไป
  • ประเด็นสำคัญคือการพิจารณาว่าควรนำกฎหมายเรื่องการหยุดนับอายุความมาใช้กับคดีนี้หรือไม่ เนื่องจากเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนมีกฎหมายดังกล่าว ซึ่งจะต้องติดตามผลการพิจารณาต่อไป

จากกรณีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2 ได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 ในมูลคดีที่นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยาในขณะนั้นและพวกออกใบอนุญาต และต่อใบอนุญาตก่อสร้างโครงการวอเตอร์ฟร้อนท์ สวีท แอนด์เรสซิเดนซ์ ให้แก่บริษัทบาลีฮาย จำกัดโดยมิชอบ

จำเลยในคดีมี 10 ราย ได้แก่ 1.นายวุฒิศักดิ์ เริ่มกิจการ 2.นายอภิชาติ พืชพันธ์ 3.นายสุธีร์ ทับหนองฮี 4.นายชานนทร์ เกิดอยู่ 5.นายชัยวัฒน์ แจ้งสว่าง 6.นายวิทยา ศิรินทร์วรชัย 7.นายพิเชษฐ อุทัยวัฒนานนท์ 8.นายญัติพงค์ อินทรัตน์ 9.นายเอกพงษ์ บุญชาย และ 10.นายอิทธิพล คุณปลื้ม

สำหรับนายอิทธิพล คุณปลื้ม ศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 แต่แต่คดีขาดอายุความแล้ว จึงต้องยกฟ้องโจทก์ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

โดยศาลพิจารณาพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีพฤติการณ์ไม่ได้มุ่งหมายให้การดำเนินดีอยู่ภายในกรอบเวลาการฟ้องคดีภายในวันที่ 10 ก.ย.2566 

ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ อดีตคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์พิเศษ กับฐานเศรษฐกิจว่า กรณีที่ยกฟ้องนายอิทธิพล คุณปลื้ม ว่าเป็นคดีที่เสี่ยงอย่างยิ่งต่อความเชื่อมั่นในระบบกระบวนการยุติธรรม เป็นกรณีที่มัดขา ป.ป.ช.เอาไว้อาจำทำให้เกิดความไม่เชื่อถือขึ้นได้ ว่าเหตุใดหลังจาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ยังมีเวลาอีกกว่า 40วัน เหตุใดไม่รีบดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว แต่กลับปล่อยระยะเวลาไว้จนใกล้หมดอายุความ 

เพราะเป็นกรณีที่ศาลใช้เป็นข้อสังเกตว่า ป.ป.ช.ไม่ได้มีเจตนาเร่งรัดในการดำเนินคดีให้เรียบร้อยภายในอายุความ ด้านอัยการเองก็ยืนยันว่าได้สั่งฟ้องภายในอายุความแล้ว เรื่องนี้จึงเหมือนโยนกันไปโยนกันมา แต่ป.ป.ช.ควรต้องอุทธรณ์ต่อไป

ยกฟ้อง\"อิทธิพล คุณปลื้ม\" คดีวอเตอร์ฟร้อนท์ มัดขา ป.ป.ช.

สิ่งที่ควรต้องพิจารณาคือเรื่องข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนีหรือไม่ เพราะจะเป็นเหตุให้อายุความต้องสะดุดหยุดลงในขณะที่คดียังไม่ขาดอายุความ หรือหมายถึงการหยุดนับอายุความ แต่มีเงื่อนไขที่ยังมีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันคือการนำกฎหมายเรื่องการหยุดนับอายุความมาบังคับใช้ย้อนหลัง

ก่อนหน้านี้ศาลฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ให้กฎหมายหยุดนับอายุความมีผลย้อนหลังในกรณีที่คดีเกิดขึ้นก่อนมีกฎหมายเรื่องการหยุดนับอายุความ ซึ่งคดีของนายอิทธิพลเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนมีกฎหมายเรื่องการหยุดนับอายุความ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ว่าท้ายที่สุดศาลจะพิจารณาข้อนี้อย่างไร

โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าแม้จะเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนแต่ก็ควรนำกฎหมายเรื่องหยุดนับอายุความมาใช้ได้ เนื่องจากไม่ใช่เรื่องของการลงโทษตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของการกำหนดวิธีพิจารณาความอาญา ไม่ใช่ตัวประมวลกฎหมายอาญาที่ต้องถือเรื่องไม่มีผลย้อนหลัง 

ซึ่งการที่มีคำพิพากษาออกมาโดยไม่ได้พิจารณากรณีหยุดนับอายุความเลยนั้น ก็เป็นเพราะไม่ได้มีการหยิบเรื่องการหลบหนีของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ โดยจะเห็นได้ว่าทางจำเลยได้อ้างเรื่องติดโควิด-19 จากการเดินทางไปประเทศกัมพูชาจนทำให้ไม่สามารถกลับมาได้ทันส่งตัวในการส่งส่งฟ้องของอัยการ จะเห็นได้ว่าทางจำเลยก็สู้ในข้อเท็จจริงเอาไว้ เพื่อจะแสดงว่าไม่ได้หลบหนีจึงไม่สามารถนำเรื่องการหยุดนับอายุความมาใช้ได้ แต่ทางอัยการเองก็ถือว่าได้ส่งฟ้องภายในอายุความ เนื่องจากได้มีการออกหมายจับด้วยเหตุที่จำเลยหลบหนี

ทาง ป.ป.ช.ต้องแก้ตัวในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลคดีชำนาญพิเศษให้ได้ว่า เป็นกรณีที่ทำงานมาตลอดเวลา ไม่ใช่มีเจตนาให้ขาดอายุความตามที่ศาลอาญาได้ยกเป็นข้อวินิจฉัย ต้องมีการชี้แจงไทม์ไลน์ให้ชัดเจน ด้านอัยการก็ต้องมีการยืนยันว่าจำเลยมีการหลบหนี จึงได้ออกหมายจับ

นายอิทธิพล คุณปลื้ม

ซึ่งจากคำพิพากษาของศาลอาญาว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีพฤติการณ์ไม่ได้มุ่งหมายให้การดำเนินดีอยู่ภายในกรอบเวลาการฟ้องคดีภายในวันที่ 10 ก.ย.2566 ถือเป็นประเด็นสำคัญที่อาจทำให้ ป.ป.ช.ถูกยื่นฟ้องม.157 ได้อย่างแน่นอน

สำหรับการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ หลังจากมีรัฐธรรมนูญ 2560 ก็เพื่อให้การทำคดีมีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็วยิ่งขึ้นมีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนชัดเจน เพราะการทำคดีของเจ้าหน้าที่รัฐโดยมากจะคำนึงถึงอายุความเป็นหลัก ว่าหากยังไม่หมดอายุความก็ไม่เร่งรัดคดี จึงเห็นได้ว่ามักมีกรณีเจ้าหน้าที่รัฐโดนวินัยเรื่องไม่เร่งรัดคดีให้เสร็จจนขาดอายุความ

สำหรับระบบของป.ป.ช.เมื่อที่ยังไม่มีกำหนดเรื่องระยะเวลาการทำคดีก่อนหน้านั้น ก็มักจะยึดเรื่องอายุความเป็นหลัก โดยส่วนตัวเห็นว่าป.ป.ช.ควรจะต้องเร่งรัดดำเนินการให้ยิ่งกว่าเรื่องอายุความ เพราะจะถือเป็นประโยชน์แก่ตัวจำเลยเอง การดำเนินคดีควรจะต้องได้ข้อยุติโดยเร็ว ไม่ควรต้องอยู่ระหว่างการดำเนินคดียาวนานเกินสมควร

อ.วิชา กล่าวทิ้งท้ายว่าประเด็นใหญ่ในเรื่องนี้ คือการหาความกระจ่างว่าคดีนี้ควรต้องหยุดนับอายุความหรือไม่ ซึ่งยังคงต้องติดตามกันต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด ซึ่งยังมีอะไรให้ได้ติดตามอีกมาก