ลุ้น ไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เดินหน้าต่อ หลัง"ทักษิณ"กลับเชียงใหม่

16 มี.ค. 2567 | 17:24 น.
อัปเดตล่าสุด :16 มี.ค. 2567 | 18:59 น.
830

เปิดงบลงทุนปี 2567 ในวันที่ "ทักษิณ" กลับเชียงใหม่ เหยียบเมืองหลวงเพื่อไทย ลุ้นโครงการใหญ่-เมกะโปรเจ็กต์ไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ หยิบขึ้นมาสานต่อ

ก้าวแรกของ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี กลับบ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกในรอบ 17 ปี – เปิดปากตอบคำถามนักข่าวแบบตัวเป็น ๆ เคาะสนิม "อดีตนายกรัฐมนตรีสองสมัย" ด้วยการแนะนำวิธีการแก้ปัญหาปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" ด้วย “ฝายแม้ว”

แน่นอนว่าการออกจากโรงพยาบาลตำรวจ-พักโทษ "ทักษิณ" สามารถที่จะแสดงความคิด-ความเห็น และด้วยบารมี-ผู้ทรงอิทธิพลของพรรคเพื่อไทยจึงไม่แปลกที่จะให้คำชี้แนะ-แนะนำรัฐบาลเศรษฐาได้อย่างตรงไปตรงมา 

โดยเฉพาะ “เมกะโปรเจ็กต์” อย่างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ตั้งไข่มาตั้งแต่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ แต่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า ถูกเก็บใส่ลิ้นชักกรมขนส่งทางรางจนเปลี่ยนรัฐบาล-รอเสนอรัฐบาลใหม่

สถานะล่าสุดของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ (ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และกรมขนส่งทางราง

ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่3/2566 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ที่มี “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ นั่งเป็นประธาน ที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ได้มีมติมอบให้กระทรวงทรัพยพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ติดตามโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่จะครบอายุโครงการตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ.2561 มาตรา 51/6 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2567

ทั้งนี้ มาตรา 51/6 ระบุว่า รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือได้รับความเห็นชอบหรือถือว่าได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชํานาญการสามารถนําไปใช้เพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือประกอบการพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายได้เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่สผ.หรือหน่วยงานของรัฐตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทนได้มีหนังสือแจ้งความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ชํานาญการแล้วแต่กรณี

หากไปดู "งบลงทุน" ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จังหวัดเชียงใหม่ได้รับการจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 351.464 ล้านบาท ไม่นับงบกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย 

 

  • ก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบท่อส่งน้ำ บ้านใหม่สารภี 3ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 1 แห่ง วงเงิน 36 ล้านบาท 

 

  • ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กปรับปรุงเส้นทางเพื่อสนับสนุนโลจิสติกส์การเกษตร ถนนวงแหวนอมก๋อย กม.93+150 = กม.96+475ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 3.325 กิโลเมตร 1 สายทาง วงเงิน 25 ล้านบาท 

 

  • ค่าปรับปรุงทางและสะพานที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาท วงเงิน 36.282 ล้านบาท 

 

  • ปรับปรุงเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวบ้านแม่ก าปองทางหลวงหมายเลข 1317 ตอน สันกลางใต้ – ห้วยแก้วระหว่าง กม.29+173 - กม.36+991 ตำบลบ้านสหกรณ์ ตำบลออนเหนือตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 7.818 กิโลเมตร1 สายทาง วงเงิน 45 ล้านบาท 

 

  • พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวดอยม่อนล้านทางหลวงหมายเลข 1150 ตอน ปิงโค้ง 7 กิ่วไฮ ระหว่าง กม.8+000 –กม.16+000 ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ระยะทาง 8.000 กิโลเมตร 1 สายทาง วงเงิน 28.341 ล้านบาท

 

  • ปรับปรุงเส้นทาง ชม.4067 สนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวเข้าสู่ทุ่งดอกเก๊กฮวย กม.22+385 7 24+185 ตำบลป่าแป๋ ตำบลแม่สาบอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 1.800 กิโลเมตร 1 สายทาง วงเงิน 10 ล้านบาท 

 

  • ปรับปรุงเส้นทางสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวเข้าสู่เขื่อนพลังน้ำแม่มาว สายทางชม.3059 กม.0+000 - 18+261 (เป็นแห่ง ๆ)ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 1 สายทาง วงเงิน 15 ล้านบาท 

 

  • ยกระดับความปลอดภัยทางถนนเชื่อมโยงอุตสาหกรรมร่มบ่อสร้างสายทาง ชม.3013 กม.0+000 7 9+115 (เป็นแห่ง ๆ) 7 บ้านร้องขุ่นตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 1 สายทาง วงเงิน 15 ล้านบาท 

 

  • ปรับปรุงเส้นทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมม่อนกุเวรกม.0+000 7 2+230 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ระยะทาง 2.230 กิโลเมตร 1 สายทาง วงเงิน 15 ล้านบาท 

 

  • เพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางบนทางหลวงหมายเลข 108ตอนเชียงใหม่ - ปากทางท่าลี่ - สะพานแม่กลาง ช่วงระหว่างกม. 28+020 - กม.49+800 (เป็นแห่ง ๆ) ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตองตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 1 สายทาง วงเงิน 14 ล้านบาท 

 

  • ค่าก่อสร้างแหล่งน้ำที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาท วงเงิน 9.2 ล้านบาท 

 

  • ปรับปรุงอาคารป้องกันตลิ่งคลองแม่ข่าน้อย ระยะที่ 3 ตำบลป่าแดดอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ความยาว 900.00 เมตร 1 แห่ง วงเงิน 20 ล้านบาท 

 

  • ค่าก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาท วงเงิน 2,553,600 บาท 

 

  • ค่าปรับปรุงทางและสะพานที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 7 10 ล้านบาท วงเงิน 6.521 ล้านบาท 

 

  • ติดตั้งเสาไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวง ทางหลวงหมายเลข 1103ตอนพระบาทตะเมาะ - ฮอด ช่วงระหว่าง กม.18+000 = กม.62+150(เป็นช่วง ๆ) พื้นที่ตำบลโป่งทุ่ง ตำบลดอยเต่า ตำบลท่าเดื่อ ตำบลบ้านแอ่นอำเภอดอยเต่า และตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 1 สายทาง วงเงิน 10 ล้านบาท 

 

  • งานปรับปรุงไฟฟ้าแสงสว่างทางหลวง ทางหลวงหมายเลข 1001(ถนนเชียงใหม่ – พร้าว) ทางหลวงหมายเลข 1001 ตอน เชียงใหม่ = บ้านโป่งระหว่าง กม.1+600 = กม.10+800 ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ตำบลหนองจ๊อม ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ระยะทาง 9.200 กิโลเมตร 1 สายทาง วงเงิน 11.998 ล้านบาท 

 

  • ค่าก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาท วงเงิน 865,200 บาท 

 

ต้องจับตาว่าโครงการไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะถูกรื้อฟื้นขึ้นมา ก่อนที่โครงการจะหมดอายุตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ.2561 มาตรา 51/6 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2567 หรือไม่