เปิดคำวินิจฉัยฉบับเต็ม ศาลรธน.ฟัน “ศักดิ์สยาม” พ้นเก้าอี้ รมต.

17 ม.ค. 2567 | 19:14 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ม.ค. 2567 | 11:05 น.
570

เปิดละเอียดคำวินิจฉัยศาลรธน.ฟัน “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” พ้นเก้าอี้รมว.คมนาคม ตั้งแต่ 3 มี.ค. 66 เผยพฤติกรรมสุดอำพราง ทั้งให้นอมินีถือหุ้น - ทำนิติกรรม-ซื้อกองทุนแทน - บริจาคเงินเข้าพรรคภูมิใจไทย

วันนี้ (17 ม.ค. 67) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 วินิจฉัยว่าให้ความเป็นรัฐมนตรีของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในขณะนั้นสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 187 นับตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. 2566 ที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ นายศักดิ์สยาม หยุดปฏิบัติหน้าที่

โดยศาลรัฐธรรมนูญระบุพฤติการณ์ว่า พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อ (5) กระทำการต้องห้ามตามมาตรา 186 , 187 ซึ่งมาตรา 187 วรรคหนึ่งบัญญัติ ว่า รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทหรือไม่คงไว้ ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไปตามจํานวนที่กฎหมายบัญญัติ และต้องไม่เป็นลูกจ้างของบุคคลใด 


วรรคสอง บัญญัติว่า กรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีตามวรรคหนึ่งต่อไป ให้แจ้งประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้โอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้แก่นิติบุคคล ซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น 

ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ  วรรคสาม บัญญัติว่า รัฐมนตรีจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัทตามวรรคสองไม่ว่าในทางใดๆ มิได้ และวรรคสี่ บัญญัติว่า มาตรานี้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ให้ใช้บังคับแก่คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของรัฐมนตรี และการถือหุ้นของรัฐมนตรีที่อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางใดๆ ด้วย

ทั้งนี้ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำต้องห้ามของรัฐมนตรี ที่ห้ามไม่ให้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไปตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งยังคงหลักการตามรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อเป็นหลักประกันการทำหน้าที่รัฐมนตรีให้เป็นไปโดยสุจริต คำนึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ 

รวมทั้งมุ่งมั่นทำงานในตำแหน่งงานที่สำคัญต่อการบริหารบ้านเมือง และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีเป็นไปโดยสุจริต ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สาธารณะกับการประกอบธุรกิจเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและครอบครัว การจำกัดสิทธิการถือหุ้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 มิได้เป็นการห้ามโดยเด็ดขาด สิทธิการถือหุ้นของรัฐมนตรียังคงมีอยู่ 

เพียงแต่ถูกจำกัดให้ถือหุ้นตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด คือ พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 โดยมาตรา 4 บัญญัติห้ามรัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วน หรือ ผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่คงไว้ ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้ไม่เกินร้อยละห้าของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ เป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดพี่จำหน่ายได้ในบริษัท จำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด

กรณีที่รัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นมาตรา 5 กำหนดว่า ให้รัฐมนตรี แจ้งเป็นหนังสือให้ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทราบภายใน 30 วันนับ แต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีและโอนส่วน หรือหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้ แจ้งให้ประธานป.ป.ช.ทราบ และต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้โอนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้น

ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า ผู้ถูกร้องดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 10 ก.ค.เลย62 ก่อนที่ผู้ถูกร้องจะดำรงตำแหน่งดังกล่าว เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด แต่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.58 และกรรมการบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ในปีเดียวกัน 

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ผู้ถูกร้องมีความประสงค์ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จึงตกลงที่จะโอนหุ้นและห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น ให้ นายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์  โดยนายศุภวัฒน์ โอนเงินชำระค่าหุ้นให้ผู้ถูกร้องผ่านธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี ศุภวัฒน์ ไปยังบัญชธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รวม 3 งวด ได้แก่ งวดวันที่ 2 ส.ค. 60 จำนวน 35 ล้านบาท , งวดวันที่ 5 ก.ย. 60 จำนวนสาม 35 ล้านบาท และงวดวันที่ 5 ม.ค. 61 จำนวน สี่สิบเก้าล้านห้าแสนบาท รวมทั้งสิ้น หนึ่งร้อยสิบเก้าล้านห้าแสนบาท 

แต่เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 61 มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงห้างหุ้นส่วนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยผู้ถูกร้องออกจากการเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดฯ และโอนหุ้นให้นายศุภวัฒน์ คิดเป็นร้อยละ 99 ของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วน และให้นายศุภวัฒน์ เข้าเป็นหุ้นส่วนประเภท ไม่จำกัดความรับผิดฯ

นอกจากนี้ ผู้ถูกร้องยังออกจากการเป็นกรรมการบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 62 ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า การโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ของผู้ถูกร้องให้แก่ นายศุภวัฒน์ เป็นการแสดงเจตนารมณ์นิติกรรมอำพราง เนื่องจากนายศุภวัฒน์ ไม่ได้เป็นผู้มีรายได้เพียงพอต่อการชำระค่าหุ้นให้แก่ผู้ถูกร้อง 

สัญญาการลงหุ้นฉบับลงวันที่ 26 ม.ค. 61 เป็นโมฆะ หุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ยังเป็นของผู้ถูกร้อง โดยมีนายศุภวัฒน์ เป็นตัวแทน หรือ นอมินีการครอบครองดูแลหุ้น หรือได้รับมอบหมายจากผู้ถูกร้องให้ดำเนินการแทนเท่านั้น อันทำให้ผู้ถูกร้อง เข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้นของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวได้

พิจารณาแล้วเห็นว่า จากพยานหลักฐานบัญชีธนาคาร ของนายศุภวัฒน์ และเอกสาร หมาย ส.14/10 เอกสารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนฯ เอกสารหมายส.54/1.2 ประกอบกับหนังสือชี้แจงของนายศุภวัฒน์ ลงวันที่ 28 ส.ค.62 และเอกสารหมาย ส. 30/3 และ ส.31/1-4 ปรากฏข้อเท็จจริง ดังนี้ 

เงินงวดที่ 1 ที่นายศุภวัฒน์ โอนให้ผู้ถูกร้องเพื่อชำระค่าหุ้น เมื่อวันที่ 2 ส.ค.60 จำนวน 35 ล้านบาทนั้น มาจากการขายกองทุน TMB -T-ES-IPlus ของนายศุภวัฒน์ เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 60 โดยแหล่งที่มาของเงินส่วนหนึ่งมาจากการสับเปลี่ยนกองทุน TMB -T-ES-DPlus และมาจากการซื้อกองทุนด้วยเงินสดเมื่อวันที่ 24 ก.ค.60 จำนวน 23 ล้านบาท
ส่วนเงินงวดที่ 2 ที่โอนให้ผู้ถูกร้องเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 60 จำนวน 35 ล้านบาท มาจากการขายกองทุนทั้ง 2 รายการ ของนายศุภวัฒน์ เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 60  โดยกองทุนดังกล่าว มีแหล่งที่มาของเงินส่วนหนึ่งจากการซื้อกองทุนโดยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารของนายศุภวัฒน์ แบ่งเป็น TMB -T-ES-IPlus จำนวน 20 ล้านบาทและ TMB -T-ES-DPlus 15 ล้านบาท รวม 35 ล้านบาท 

จากการตรวจสอบเอกสารจากธนาคาร ประกอบสำเนาการเคลื่อนไหวบัญชีธนาคารธนชาติฯ ของนายศุภวัฒน์ บัญชีของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ และบัญชีบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ฯ พบว่า เงินที่นำมาซื้อกองทุนดังกล่าวนายศุภวัฒน์ ได้รับมาจากบัญชีธนาคารของบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ฯ จำนวน 35 ล้านบาท เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 60 เวลา 15.44 น. และปรากฏว่าวันเดียวกันบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ฯ ได้รับโอนมาจากบัญชีผู้ถูกร้องจำนวน 40 ล้านบาท เวลา 15.40 น. 

สำหรับเงินงวดที่ 3 ที่โอนให้แก่ผู้ถูกร้องเมื่อวันที่ 5 ม.ค.ม 2561 จำนวน 49,500,000มาจากการขายกองทุน TMB -T-ES-IPlus ของนายศุภวัฒน์ เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 61 จำนวนสี่สิบหกล้านห้าแสนบาท โดยเงินส่วนหนึ่งมาจากการซื้อกองทุนเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 60 

จากการตรวจสอบเอกสารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนฯ พบว่า เงินที่นำมาซื้อกองทุนดังกล่าว นายศุภวัฒน์ ได้รับโอนมาจากบัญชีบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ฯ และห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น  โดยมีผู้ถูกร้องเป็นผู้นำฝากเงินเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 61 

ข้อเท็จจริงจากหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของ นายศุภวัฒน์ ฉบับวันที่ 28 ส.ค.66 และฉบับลงวันที่ 3 ต.ค.66 พร้อมเอกสารประกอบเอกสารที่ชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าเงินที่นำซื้อกองทุนรายการดังกล่าวมาจ่ายเงินสดที่ได้จากการรับจ้างจัดหาเพิ่งจัดอะไหล่ และซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น และรับจ้างตัดหินให้กับโรงโม่หินของบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ยกเว้นในส่วนของการซื้อกองทุน TMB-T-ES-IPlus เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2560 จำนวน 56,702,680.1 บาท 

เงินส่วนหนึ่งจำนวน 36,702,680.1 บาท มาจากเงินโอนของบัญชีธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชีบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด เลขที่ 884-2-01055-8 เดิมบัญชี 401-2-02809-8 เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งขัดแย้งกับเอกสารของบริษัทหลักทรัพย์กองทุน อีสปริงค์ ประเทศไทย จำกัด ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีเพียงการซื้อขายกองทุนเอ็มบีทีอีเอสไอพลัส เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2560 จำนวนเงิน 23 ล้านบาทเท่านั้น ที่เป็นการซื้อขายด้วยเงินสด 

ส่วนรายการอื่นๆ ซื้อขายด้วยเงินโอนบัญชีธนาคารตามเอกสารขัดแย้งกับเอกสารสำเนางบการเงินของบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ในปี 2560 จากกรมธุรกิจการค้า เอกสารประกอบคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องและเอกสารประกอบคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และหนังสือชี้แจ้งข้อเท็จจริงของนายเอกราช ชิดชอบ ฉบับลงวันที่ 28 ส.ค. 66 และเอกสารปรากฏข้อเท็จจริงว่าในปี 2560 บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด มีการชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่นายศุภวัฒน์ เพียง 17 ล้านบาท 

แม้ว่านายศุภวัฒน์ ชี้แจงตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็น และคำเบิกความของศาลในชั้นไต่สวนพยานบุคคลว่า ข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง 2 ฉบับของตน ก่อนหน้านี้เกิดจากความเข้าใจผิดของตน เนื่องจากการตอบด้วยความจำ และโดยปกติซื้อกองทุนด้วยเงินสดเป็นหลักก็ตาม แต่คำชี้แจงของนายศุภวัฒน์ มีลักษณะกลับไปกลับมาไม่น่าเชื่อจึงไม่อาจรับฟัง 

                          ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

นอกจากนี้กรณีการซื้อกองทุน TMB-T-ES-IPlus และTMB-T-ES-DPlus เมื่อวันที่ 18 ส.ค.60 จำนวน 35 ล้านบาท เมื่อพิจารณาจากเส้นทางการเงินระหว่างนายศุภวัฒน์ บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด และผู้ถูกร้องพบว่า เงินจำนวน 35 ล้านบาท ที่นายศุภวัฒน์ นำมาซื้อกองทุนเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2560 เป็นเงินที่นายศุภวัฒน์ ได้รับโอนมาจากบัญชีของบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2560 จำนวน 35 ล้านบาท ในวันและเวลาที่ใกล้เคียงกันก่อนที่บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด จะโอนเงินให้แก่นายศุภวัฒน์ บริษัทได้รับเงินมาจากบัญชีของผู้ถูกร้องจำนวน 40 ล้านบาท 

แม้ว่าผู้ถูกร้องและน.ส.ฐิติมา เกลาพิมาย ชี้แจงตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นว่า การโอนเงินดังกล่าวจากบัญชีผู้ถูกร้องไปยังบัญชีบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด เป็นการชำระเงินกู้ยืมที่ผู้ถูกร้องเคยกู้ยืมบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ตามสัญญาฉบับลงวันที่ 5 ต.ค. 58 โดยผู้ถูกร้องเบิกความว่า รับเงินกู้ยืมโดยโอนผ่านทางบัญชีธนาคารดังกล่าว 

แต่จากการตรวจสอบบัญชีของธนาคารของบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ในปี 2558 ตามสำเนารายการเคลื่อนไหวบัญชีธนาคารธนชาต เลขบัญชี 401-2-02809-8 เอกสารหมายในวันที่ 5 ต.ค. 58 ไม่ปรากฏว่า มีเงินจำนวน 40 ล้านบาท โอนออกจากบัญชีดังกล่าว และตลอดทั้งปี 2558 บัญชีดังกล่าวมีเงินในบัญชีไม่ถึง 40 ล้านบาท ซึ่งย้อนแย้งและแตกต่างจากการส่งมอบเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมระหว่างผู้ถูกร้อง กับบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด สัญญาฉบับลงวันที่ 21 ธ.ค.59 จำนวน 68,500,000 บาท เอกสารฉบับลงวันที่ 10 เม.ย.60 จำนวน 20 ล้านบาท 

ในวันที่ทำสัญญาดังกล่าว ปรากฏยอดเงินโอนออกจากบัญชีธนาคารบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด อีกทั้งเมื่อพิจารณาตามเอกสารประกอบคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องที่นายเอกราช ให้ข้อมูลกับแก่ทนายความของผู้ถูกร้อง เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินระหว่างผู้ถูกร้อง กับบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ให้เงินกู้ยืมแก่ผู้ถูกร้องในปี 2559 จำนวน 68,500,000 บาท และปี 2560 จำนวน 20 ล้านบาทเท่านั้น 

นอกจากนี้สัญญากู้ยืมเงินฉบับลงวันที่ 5 ต.ค. 2558 ระบุวัตถุประสงค์การกู้ยืมเงินจำนวน 40 ล้านบาท ว่า เพื่อใช้เพิ่มทุนจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น แต่จากการตรวจสอบเอกสารของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า การจดทะเบียนเพิ่มทุนจำนวน 40 ล้านบาทของผู้ถูกร้องเกิดขึ้นเมื่อ 2 เม.ย. 2558 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดขึ้นก่อนการกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าว กรณีดังกล่าวผู้ถูกร้องเบิกความต่อศาลว่าเป็นการทำสัญญากู้ยืมเงินย้อนหลัง ย่อมทำให้ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงินเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2558 ขาดความน่าเชื่อถือ 

แม้ว่าผู้ถูกร้องยื่นคำแถลงปิดคดีในภายหลังว่า การเบิกความดังกล่าวเป็นการสำคัญผิดข้อเท็จจริง เนื่องจากการกู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นการนำไปเพิ่มทุนเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 58 จำนวน 54 ล้านบาท โดยผู้ถูกร้องได้กู้ยืมเงินเพิ่มจากบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด อีกจำนวน 14 ล้านบาท 

แต่กรณีการเพิ่มทุนจำนวน 54 ล้านบาทดังกล่าว ผู้ถูกร้องเบิกความว่าเงินอีกจำนวน 14 ล้านบาทนั้น เป็นเงินส่วนตัวจากการทำงาน ประกอบกับจัดการตรวจสอบเอกสารของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปรากฏใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น- เงินลงหุ้น ของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ระบุว่า ห้างหุ้นส่วนได้รับเงินชำระเงินลงหุ้นจากผู้ทุกข์ร้องโดยฝากเงินเข้าบัญชีธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น เลขบัญชีที่ 401-6-05130-2 จำนวน 54 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 ต.ค.2558 

ข้อความเอกสารดังกล่าวขัดแย้งกับยอดเงินตามสำเนาเคลื่อนไหวบัญชีดังกล่าว ในวันที่ 8 ต.ค.58 เอกสารหมาย 76/2 ซึ่งปรากฏยอดเงินโอนเข้าบัญชีงบเข้าบัญชีเพียง 40 ล้านบาท จึงมีข้อพิรุธว่าเมื่อวันที่ 9 ต.ค.2558 ผู้ถูกร้องได้เพิ่มทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น จริงหรือไม่

นอกจากนี้ แม้ว่าตามรายการเคลื่อนไหวบัญชีธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ของผู้ถูกร้องเลขบัญชีที่ 401-6-01432-6 จะปรากฏว่ามีรายการโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าวในวันที่ 5 ต.ค.58 จำนวน 40 ล้านบาท แต่ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่น่าเชื่อว่าเงินดังกล่าวมาจากการกู้ยืมเงินจากบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด คำชี้แจงดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟัง

ส่วนการโอนเงินจำนวน 35 ล้านบาทให้กับนายศุภวัฒน์ ในวันและเวลาที่ใกล้เคียงกับที่บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด รับโอนเงินมาจากผู้ร้องจำนวน 40 ล้านบาทดังกล่าว ไม่ว่าผู้ถูกร้อง นายศุภวัฒน์ และ น.ส.ฐิติมา ชี้แจงตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นว่า การโอนเงินดังกล่าวเป็นกรณีที่บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด คืนเงินสำรองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ อะไหล่ เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักร ตลอดจนการจัดเตรียมหินเข้ากระบวนการผลิตของโรงโม่ในรอบปี 2560 ให้แก่นายศุภวัฒน์ 

โดยสาเหตุที่นายศุภวัฒน์ เข้ามาสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆให้กับบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ผู้ถูกร้อง นายศุภวัฒน์ น.ส.วรางศิริ ระกิติ น.ส.ฐิติมา ชี้แจงตามหนังสือบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นสอดคล้องกันว่า ในช่วงปี 2558 บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ขาดสภาพคล่องทางการเงินเนื่องจากการทุจริตของพนักงาน และผู้บริหารในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ ผู้ถูกร้องจึงขอความช่วยเหลือจากนายศุภวัฒน์ ให้ช่วยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวการจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ อะไหล่ และการซ่อมบำรุงเครื่องจักร ตลอดจนเตรียมหิน และกระบวนการผลิตของโรงโม่ โดยให้นายศุภวัฒน์ เป็นผู้สำรองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดไปก่อน ตลอดจนการกู้ยืมเงินสดหมุนเวียน 

โดยนายศุภวัฒน์ จะทยอยส่งมอบเงินสด และเงินสดหมุนเวียนให้กับบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด เป็นระยะ ต่อมาบริษัทไม่สามารถนำเงินมาชำระคืนแก่นายศุภวัฒน์ ได้ จึงเป็นที่มาของการทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 8 ครั้ง โดยเป็นการรวมยอดเงินสำรองจ่าย และการกู้ยืมเงินสดหมุนเวียน โดยในปี 2559 จำนวน 3 สัญญา ในปี 2561 จำนวน 3 สัญญา ในปี 2563 จำนวน 1 สัญญา ในปี 2564 จำนวน 1 สัญญา รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 345,500,000 บาท 

การชี้แจงข้อเท็จจริงของบุคคลต่างๆ เกี่ยวกับการสำรองค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้ถูกร้องได้ตรวจพยานหลักฐานของศาล ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับหนังสือข้อชี้แจงฉบับลงวันที่ 3 ต.ค. 66 ของนายศุภวัฒน์ เอกสารที่กล่าวอ้างว่าภายหลังการลงนามในสัญญากู้ยืมเงินของนายศุภวัฒน์ ไม่ได้นำเงินก้อนเข้าบัญชีบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด แต่จะเป็นการย่อยเบิกเป็นกรณีฯไป โดยนำเงินสดมาให้กับบริษัทกู้ยืมเงินครั้งละประมาณ 5 แสน ถึง 1 ล้านบาท เมื่อเงินกู้ใกล้จะเต็มวงเงินตามสัญญาแล้ว จะมีการทำสัญญากู้ยืมเงินเพิ่มเติม เป็นที่มาขอสัญญากู้ยืมเงินหลายฉบับ และมีการลงบันทึกการกู้ยืมเงินไว้ในงบการเงินของบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด รายการชำระเงินกู้ส่วนมาก เป็นการชำระคืนด้วยเงินสด มีเพียงบางครั้งที่โอนผ่านธนาคาร

นอกจากนี้ที่ผู้ถูกร้องกล่าวอ้างว่าบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ได้รับความเสียหายจากการทุจริต ทำให้ขาดสภาพคล่อง จึงต้องกู้ยืมเงิน จากนายศุภวัฒน์ ข้อเท็จจริงจากสำเนาคำขอท้ายฟ้องต่างๆ ที่ผู้ถูกร้องกล่าวอ้าง ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง ความเห็นของตนปรากฏค่าเสียหายรวมกัน 12 ล้านบาทเท่านั้นประกอบกับจากสำเนาคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขแดงที่32 09-3211/2562 และสำเนาคำพิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์ในคดีหมายเลขแดงที่อ.567/2565 ที่ผู้ถูกร้องยื่นประกอบคำแถลงการปิดคดีปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้กระทำผิดใช้ราคาแก่บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด เป็นจำนวนเงินเพียง 2,181,073.60 บาท เท่านั้น 

ส่วนศาลจังหวัดบุรีรัมย์พิพากษายกฟ้อง ในกรณีที่บริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ร้องขอให้ผู้กระทำผิดใช้ราคาทรัพย์เป็นจำนวนเงิน 10,511,234.08บาท โดยความเสียหายการที่ผู้ถูกร้องกล่าวอ้างว่าเกิดจากการทุจริตของพนักงานบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัดไม่สอดคล้องกับยอดเงินตามสัญญากู้ยืมเงินระหว่างบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัดกับนายศุภวัฒน์ ในปี 2559 จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งมีจำนวนเงินกู้ยืมมากถึง 137 ล้านบาท 

อีกทั้งข้อกล่าวอ้างที่ว่า บริษัทศิ ลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ขาดสภาพคล่องทางการเงิน เมื่อพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทฯตามที่ปรากฏในงบการเงินระหว่างปี 2558 -2562  พบว่า ส่วนมากการประกอบกิจการของบริษัทมีผลกำไร อีกทั้งปี 2558-2560บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัดได้ให้ผู้ถูกร้องกู้ยืมเงินจำนวน3 ครั้งรวมเป็นเงินกว่า 128 ล้านบาท แม้ผู้ถูกร้องเบิกความว่า การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างผู้ถูกร้องกับบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด มีสาเหตุเนื่องจากผู้ถูกร้องไม่มั่นใจว่าอาจจะมีการทุจริตภายในบริษัทหรือไม่ จึงต้องนำเงินในบัญชีของบริษัทออกมาไว้ที่ตน 

แต่ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวขัดแย้งกับข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำเนารายการเคลื่อนไหวบัญชีธนาคารธนชาตจำกัด มหาชน ของบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด เลขที่บัญชี 401-2-202-809-8  ที่ในระหว่างปี2558-2560บริษัทมีการสะสมเงินไว้ในบัญชีจำนวนหลายสิบล้านบาท ในระหว่างที่ผู้ถูกร้องยังไม่ได้กู้ยืมเงินเพื่อนำเงินออกจากบัญชีของบริษัท 

อีกทั้งยังปรากฏข้อเท็จจริงตามสำเนางบการเงินของบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ในปี 2560 ประกอบกับคำเบิกความของผู้ถูกร้องว่า บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด มีการจัดซื้อเครื่องบินส่วนบุคคล ราคา 12 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าสภาพคล่องของบริษัทไม่ดีเท่าที่ควรแต่เนื่องจากเป็นความประสงค์ของผู้ถูกร้องในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทจึงมีการจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ในขณะที่ผู้ถูกร้องเป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย

นอกจากนี้ หากการโอนเงินของบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัดให้แก่นายศุภวัฒน์ จำนวน 35 ล้านบาท ในวัน และเวลาที่ใกล้เคียงกับที่บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์จำกัดรับโอนเงินมาจากผู้ถูกร้องจำนวน 40 ล้านบาท กรณีดังกล่าวเป็นเงินที่บริษัทคืนเงินสำรองค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้แก่นายศุภวัฒน์  โดยไม่มีความสัมพันธ์กับเงินที่โอนมาจากผู้ถูกร้อง 

แต่เมื่อพิจารณาจากสำเนารายการเคลื่อนไหวบัญชีธนาคารธนชาตจำกัดมหาชน ของบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์จำกัด เลขที่บัญชี401-2-402-809-8 ปรากฏว่าช่วงระยะเวลาก่อนที่ผู้ถูกร้องจะโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทจำนวน 40 ล้านบาทบริษัทมีเงินในบัญชีดังกล่าวประมาณ 40-50 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอต่อการคืนเงินสำรองจ่ายให้แก่นายศุภวัฒน์  จำนวน 35 ล้านบาท โดยไม่มีความจำเป็น จะต้องมีเงินของผู้ถูกร้องเข้ามาในบัญชีของบริษัทก่อน  

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาประกอบกับเอกสารบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ถูกร้อง นายศุภวัฒน์  และ น.ส.ฐิติมา  ยืนยันข้อเท็จจริงว่าบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์จำกัด มีการคืนเงินสำรองค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์ อะไหล่ เครื่องซ่อมบำรุงเครื่องจักร ตลอดจนการจัดเรียงสินค้าเข้ากระบวนการผลิตโรงโม่ในรอบปี 2560 ให้แก่นายศุภวัฒน์ แต่เอกสารดังกล่าวไม่มีเอกสารฉบับใดที่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า นายศุภวัฒน์  เป็นผู้ชำระเงินให้แก่คู่ค้าต่างๆ ของบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์จำกัด 

                     ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

อีกทั้งเอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏหลักฐานสำคัญการจ่ายเงินหรือใบรับวางบิลที่เกี่ยวข้องมีเพียงเอกสารสรุปรายการผู้รับจ้าง และรายการการช่างน้ำหนักหินของโรงโม่หิน ซึ่งเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นภายในบริษัทเท่านั้น แม้ว่านายศุภวัฒน์ และ น.ส.ฐิติมา  จะเบิกความว่าหลักฐานการสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ปรากฏชื่อ นายศุภวัฒน์  เนื่องจากเป็นวิธีการทำธุรกิจของนายศุภวัฒน์  โดยหาผู้อื่นมารับรายได้ และจัดการภาษีแทน  ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่มีน้ำหนักเมื่อเทียบกับพยานหลักฐานต่างๆตามข้อสงสัยที่กล่าวมาข้างต้น คำชี้แจงของผู้ถูกร้องจึงไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังได้ 

ส่วนกรณีการซื้อกองทุน TMB -T-ES-IPlus เมื่อวันที่ 29 ธ.ค 60 จำนวน 56 ,702,680.01 บาท เมื่อพิจารณาจากพยานหลักฐานและสถาบันการเงินต่างๆ พบว่าเงินที่นายศุภวัฒน์ นำมาซื้อนั้นเป็นเงินที่โอนมาจากบัญชีธนาคารธนชาต จำกัด มหาชน ชื่อบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น เลขที่บัญชี 401-6-05130-2จำนวน 20 ล้านบาท

โดยมีผู้ถูกร้องในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้นำเงินฝาก และโอนมาจากบัญชีธนาคารธนชาตจำกัด มหาชน ชื่อบัญชีบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัดเลขที่บัญชี 401- 2-02-809-8 จำนวน 36,702,680.01บาท โดยมีผู้ถูกร้องในฐานะกรรมการบริษัทเป็นผู้นำฝากเงิน โดยในส่วนของเงินจำนวน 36,702,680.01บาท โอนมาจากบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ผู้ถูกร้อง 

นายศุภวัฒน์  น.สฐิติมา ชี้แจงตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า การโอนเงินดังกล่าวเป็นกรณีที่บริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด คืนเงินสำรองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ อะไหล่ และการซ่อมบำรุงเครื่องจักรตลอดจนการจัดเตรียมหินเข้าสู่กระบวนการผลิตของโรงโม่ในรอบปี 2560 ให้แก่นายศุภวัฒน์ ในส่วนของเงิน 20 ล้านบาทจากห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น นายศุภวัฒน์  และ น.ส. อัญชลี ปรุดรัมย์ ชี้แจงตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือ ความเห็นว่า การโอนเงินดังกล่าวเป็นกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น คืนเงินสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายในกิจการของห้างหุ้นส่วนในปี 2560 แก่นายศุภวัฒน์

แต่การชี้แจงข้อเท็จจริงของบุคคลต่างๆ เกี่ยวกับการสำรองค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้ถูกร้องได้มาตรวจพยานหลักฐานของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงของนายศุภวัฒน์ ที่ชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญตามหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงลงวันที่ 28 ส.ค. 66 และฉบับลงวันที่ 3 ต.ค 66 ว่าเงินที่นายศุภวัฒน์ นำมาซื้อกองทุนรายการดังกล่าวส่วนหนึ่งจำนวน 20 ล้านบาท มาจากเงินสดซึ่งได้จากการรับจ้างให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น และบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด และอีกส่วนหนึ่งจำนวน 36,702,680.01บาท มาจากการรับโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารของบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด จากการชำระหนี้เงินกู้ยืมในปี 2560  

นอกจากนี้ ในส่วนของการชำระเงินสำรองจ่ายของ บริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด เมื่อวันที่ 29 ธ.ค 60 จำนวน 36,702,680.01 บาท กรณีมีข้อสงสัยหลายประการเช่นเดียวกัน กรณีการชำระเงินสำรองจ่ายเมื่อวันที่ 17ส.ค.60 จำนวน 35 ล้านบาท

ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกันระหว่างการทำสัญญากู้ยืมเงิน และการสำรองค่าใช้จ่ายต่างๆ ระหว่างนายศุภวัฒน์ กับบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์จำกัด หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับข้อกล่าวอ้างของบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ขาดสภาพคล่องทางการเงิน 

ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงินความเสียหายที่เกิดจากการทุจริตในบริษัทฯ ที่ไม่สอดคล้องกับยอดเงินตามสัญญากู้เงินกู้ยืมจากนายศุภวัฒน์ ในปี 2559 หรือผลประกอบกิจการของบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด ในระหว่างปี 2558-2562 ที่ส่วนมากบริษัทมีผลกำไร หรือกรณีปี 2558 -2560 บริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์จำกัดมีการให้เงินกู้ยืมแก่ผู้ถูกร้อง หรือการจัดซื้อเครื่องบินส่วนบุคคลราคา 12 ล้านบาท ในปี 2560 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของผู้ถูกร้อง

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาประกอบกับเอกสารประกอบบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของนายศุภวัฒ น์และ น.ส.ฐิติมา  ไม่มีเอกสารฉบับใดที่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า นายศุภวัฒน์  เป็นผู้ชำระเงินให้กับผู้ค้าต่างๆของบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด อีกทั้งเอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏหลักฐานใบสำคัญจ่ายเงิน หรือใบรับวางบิลที่เกี่ยวข้องมีเพียงเอกสารสรุปรายการผู้รับจ้าง และรายการการชั่งน้ำหนักหินของโรงโม่หิน ซึ่งเป็นเอกสารที่จะทำขึ้นภายในบริษัทเท่านั้น 

และในส่วนของการชำระเงินสำรองจ่ายของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.60 จำนวน 20 ล้านบาท แม้ผู้ถูกร้อง นายศุภวัฒน์เบิกความว่า ในช่วงปี 2558-2559 ห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น ได้รับผลกระทบจากการทุจริตของพนักงาน  เช่นเดียวกับบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัด จนเป็นเหตุให้นายศุภวัฒน์ เข้ามาสำรองค่าใช้จ่ายต่างๆ  

แต่จากสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ผู้ถูกร้องยื่นประกอบคำแถลงปิดคดี ปรากฏยอดความเสียหายเพียง 1,127,000 บาทเท่านั้น และไม่ปรากฏพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่บ่งชี้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่นเกิดการทุจริตดังกล่าวอีกทั้งเมื่อพิจารณาจากเอกสารงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น ระหว่างปี 2558-2562  

ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผลประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น มีผลกำไรโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท รายได้จากการประกอบกิจการและมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยประสบภาวะขาดทุนหรือขาดสภาพคล่องทางการเงิน อีกทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่นมีการกู้ยืมเงินระยะยาว จากบุคคลใดแต่กลับเป็นฝ่ายให้เงินกู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลอื่น

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาประกอบเอกสารบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นของนายศุภวัฒน์และน.ส.อัญชลี ไม่มีเอกสารใดแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า นายศุภวัฒน์ เป็นผู้ชำระเงินให้กับคู่ค้าต่างๆของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น เมื่อพิจารณาจากข้อพิรุธหลายประการ

ประกอบกับพยานหลักฐาน พยานแวดล้อมกรณีที่สอดรับกันแล้วย่อมมีความน่าเชื่อถือว่า เงินที่นายศุภวัฒน์ นำมาซื้อกองทุนTMB -T-ES-IPlus และกองทุนTMB -T-ES-DPlusเมื่อวันที่ 18 ส.ค 60 จำนวนรวม 35 ล้านบาท และกองทุนTMB -T-ES-IPlus เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.60 จำนวน 56,702,680.01บาท ไม่ได้เกิดจากธุรกรรมการกู้ยืมเงินหรือการสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามที่ผู้ถูกร้องและพยานบุคคลต่างๆ อ้าง 

ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องและพยานบุคคลต่างๆ จึงเป็นเพียงการกล่าวอ้างเพื่อให้เจือสมกับพยานหลักฐานของสถาบันการเงินต่างๆ ที่ปรากฏความสัมพันธ์ของเส้นทางการเงินระหว่างผู้ถูกร้อง นายศุภวัฒน์  บริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น 

ประกอบกับแม้เงินที่นายศุภวัฒน์ นำมาซื้อกองทุนรายการต่างๆดังกล่าวมิได้โอนมาจากบัญชีธนาคารของผู้ถูกร้องโดยตรง แต่มาจากบัญชีธนาคารของบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ถูกร้องอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจในการใช้จ่ายเงินของนิติบุคคลทั้ง 2 แห่ง

โดยหากพิจารณาประกอบคำเบิกความของผู้ถูกร้องกรณีที่บริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ จำกัดจัดซื้อเครื่องบินส่วนบุคคล ราคา 12 ล้านบาทในปี 2560 แม้บริษัทจะขาดสภาพคล่องตามที่กล่าวอ้างแต่ผู้ถูกร้องก็ใช้อำนาจในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของตน ถึงแม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการของบริษัทโดยตรง นับเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงอำนาจในการใช้จ่ายเงินของนิติบุคคลที่อยู่ในอำนาจของผู้ถูกล้อ 

แม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินในการซื้อกองทุนดังกล่าวจะเกิดขึ้นในปี 2560 ก่อนที่ผู้ถูกร้องจะดำรงตำแหน่งรมว.คมนาคม 2562 แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้ถูกร้อง และนายศุภวัฒน์ ยอมรับว่าการตกลงโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น เกิดขึ้นเนื่องจากเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ผู้ถูกร้องมีความประสงค์ที่จะเตรียมลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส อันแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่แท้จริงของผู้ถูกร้อง

ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้จากพฤติการณ์แวดล้อม ที่เป็นพิรุธน่าสงสัยหลายประการประกอบกันมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า เงินที่นายศุภวัฒน์ นำมาชำระค่าเงินลงหุ้นให้แก่ผู้ถูกร้องเป็นเงินของผู้ถูกร้อง

นอกจากนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ทรัพย์สินของ ศุภวัฒน์ และครอบครัวหลายรายการ เป็นทรัพย์สินซึ่งได้มาก่อนการซื้อหุ้นเป็นเวลานาน หรือเกิดขึ้นหลังหารซื้อขายหุ้นในปี2561 อีกทั้งรายการบัญชีเงินฝากกองทุนเปิดของนายศุภวัฒน์ ล้วนมีความเคลื่อนไหวบัญชีในลักษณะที่มีเงินเข้า และเงินออกหลายครั้ง โดยไม่ได้มีเงินฝากสุทธิเป็นจำนวนหลายพันล้าน ตามที่ผู้ถูกร้องหรือ นายศุภวัฒน์กล่าวอ้าง 

แม้จะปรากฏเอกสารว่า ครอบครัวของนายศุภวัฒน์ขายที่ดินเมื่อปี2557  ได้มาถึง 129ล้านบาทก็ตาม แต่การขายที่ดินประกอบกับรายการทรัพย์สินดังกล่าวก็ไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจำนวนมากของนายศุภวัฒน์ในช่วงเวลาเดียวกัน และการที่นายศุภวัฒน์กล่าวอ้างว่า มีรายได้จากการประกอบอาชีพรับจ้างจัดหาเครื่องจักร อะไหล่ และซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้กับบริษัทศิลาชัย บุรีรัมย์ จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น รวมทั้งรับจ้างตักหินให้โรงโม่หินของบ.ศิลาชัยฯ ตั้งแต่ปี2538 และมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 20 ล้านบาทนั้น

จากเอกสารการแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของนายศุภวัฒน์ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในระหว่างปี 2556-2565 นายศุภวัฒน์มีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีจากการเป็นลูกจ้างของบ.เอเอ็นอาร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และบ.ศิลาชัย บุรีรัมย์ จำกัด 

อีกทั้งไม่ปรากฏหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่า นายศุภวัฒน์ ประกอบธุรกิจกับ บ.ศิลาชัยฯ และห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯไม่ปรากฏรายการทรัพย์สินใดของนายศุภวัฒน์และครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจดังกล่าว และไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นถึงการประกอบธุรกิจของนายศุภวัฒน์หรือข้อตกลงการจัดหาผู้รับจ้าง ใบสำคัญจ่ายเงิน ใบเสร็จรับเงิน ใบวางบิล

ประกอบกับการที่ นายศุภวัฒน์ กล่าวอ้างว่าเป็นลูกจ้างของบ.เอเอ็นอาร์ฯ และบริษัทศิลาชัยฯ เนื่องจากต้องการสิทธิประกันสังคมโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับเงินเดือน และไม่ต้องการรับภาระภาษีเงินได้ จึงกำหนดค่าตอบแทนเพียงเดือนละ 9,000 บาท แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ตั้งแต่เดือนเม.ย.ปี64 เป็นต้นมาบ.ศิลาชัยฯ เพิ่มค่าตอบแทนให้นายศุภวัฒน์เป็นเงิน 15,000 บาท

ทั้งที่ช่วงเวลาดังกล่าว นายศุภวัฒน์ เข้าเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนบุรีเจริญฯแล้ว และไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ ในบ.ศิลาชัยฯ ซึ่งขัดกับคำเบิกความของนายศุภวัฒน์ต่อศาลว่า การจ่ายเงินค่าตอบแทนดังกล่าวไม่ได้มีการจ่ายกันจริงๆ ต่อมากับเบิกว่าได้นำเงินดังกล่าวไปจ่ายคืนเรียบร้อยแล้ว

ดังนั้นคำชี้แจงและเบิกความของนายศุภวัฒน์จึงเป็นพิรุธหลายประการ ไม่อาจรับฟังได้ว่านายศุภวัฒน์เป็นผู้ที่มีความสามารถเพียงพอกับการชำระค่าหุ้นให้แก่ผู้ถูกร้อง

นอกจากนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของห้างหุ้นส่วนบุรีเจริญฯเปลี่ยนแปลงจากบ้านเลขที่ 30/2 ต.อีสาน อ.เมืองบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นที่อยู่เดียวกับบ้านพักของผู้ถูกร้องเป็นบ้านเลขที่ 31/17 เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.62 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ผู้ถูกร้อง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพียง 23 วัน โดยสถานทั้งสองแห่งตั้งยู่ในบริเวณเดียวกัน  

สำหรับข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องโต้แย้งว่า เอกสารใบวางบิลห้างหุ้นส่วนบุรีเจริญฯที่ผู้ถูกร้องใช้ประกอบแก้ข้อกล่าวหาเพื่อยื่นยันว่านายศุภวัฒน์บริหารจัดการด้วยตนเอง โดยผู้ถูกร้องไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้อง น่าเชื่อว่ามีการจัดทำขึ้นมาย้อนหลัง 

เห็นว่า ที่อยู่ของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯตามใบวางบิลวันที่ 12 ก.พ.61 ระบุที่อยู่เป็นบ้านเลขที่ 31/17 หมู่ที่ 15 ต.อีสาน อ.เมืองบุรีรัมย์ ทั้งที่เวลาดังกล่าวห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยังตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 30/2 เนื่องจากการจุดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ออกกรมพัฒนาการค้าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.62 แม้ว่านายศุภวัฒน์ เบิกว่าที่ตั้งของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเป็นการแจ้งจดทะเบียนภายหลังเท่านั้น 

แต่เมื่อพิจารณาตามเอกสารใบวางบิลเดือน ก.พ. 61 เป็นต้นมา เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนผู้เป็นหุ้นส่วนจะตกลงกันให้เปลี่ยนแปลงที่อยู่ของห้างหุ้นส่วนนานถึง 1 ปีเศษ ซึ่งขัดกับปกติวิสัยของการดำเนินธุรกิจ เอกสารการวางบิลดังกล่าวจึงไม่น่าเชื่อถือ

อีกทั้งกรณีที่นายศุภวัฒน์เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯไม่ได้กำหนดให้มีการจ่ายค่าตอบแทนให้ตนเองดังเช่นผู้ถูกร้องได้กระทำเมื่อครั้งยังเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่หากเมื่อใดที่นายศุภวัฒน์ต้องการนำเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯมาใช้ส่วนตัวจะต้องรวบรวมใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันมาตั้งเบิก เพื่อบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อรับเงินสดในแต่ละเดือน 

แต่จากการตรวจสอบในเบิกค่าน้ำมันภายหลังที่ผู้ถูกร้องโอนหุ้นให้นายศุภวัฒน์แล้ว ปรากฏใบเสร็จค่าน้ำมันจำนวน 19 รายการ ที่ระบุเลขทะเบียนของผู้ถูกร้อง 2 คัน เป็นการระบุว่า ติดตามนาย ประกอบเอกสารของป.ป.ช.ที่ระบุทรัพย์สินของผู้ถูกร้องว่า มีรถยนต์ทะเบียนตรงกับที่นายศุภวัฒน์ใช้น้ำมาเบิกค่าน้ำมัน

กรณีนี้ผู้ถูกร้องแถลงคำชี้แจงปิดคดีว่า ไม่ทราบว่า นายศุภวัฒน์ เคยขอใบเสร็จรับเงินค่ามันจากการเป็นพนักงานขับของตนหรือไม่ และไม่เคยได้รับเงินค่าน้ำมันจากห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯ และเมื่อพิจารณาคำชี้แจงของนายศุภวัฒน์ที่ทราบดีกว่าหากผู้ถูกร้องเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯ เป็นสิ่งต้องห้ามผู้ถูกร้องไม่อาจเป็นเจ้าของได้

ดังนั้นโดยวิญญูชนทั่วไปแล้วย่อมไม่นำใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารกับความสัมพันธ์กับผู้ถูกร้องมาใช้เบิกเงินที่เป็นธุรกิจต้องห้าม กรณีจึงเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าผู้ถูกร้องยังคงมีส่วนเกี่ยวข้องในห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯ

สำหรับข้อเท็จจริงถึงการบริจาคเงินของนายศุภวัฒน์ ให้กับพรรคภูมิใจไทยในระหว่างที่ผู้ถูกร้องเป็นเลขาธิการพรรค จากเอกสารของพรรคภูมิใจไทย ปรากฏว่า นายศุภวัฒน์บริจาคเงิน หรือ ทรัพย์สินประโยชน์อื่นให้พรรคในนามส่วนตัว มูลค่า 2,270,000 บาท และในปี 62 บริจาคในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯเงิน 4,800,000 บาท และจำนวน 6,000,000 ในปี 65  ซึ่งเป็นช่วงเวลาภายหลังผู้ถูกร้องโอนหุ้นให้นายศุภวัฒน์ ในปี 61 แล้วไม่ปรากฏว่าช่วงเวลาก่อนโอนหุ้นนายศุภวัฒน์ และห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯ เคยบริจาคเงิน ทรัพย์สินให้แก้พรรคภูมิใจไทย หรือ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ใดๆกับพรรคมาก่อน 

ประกอบกับที่ นายศุภวัฒน์ เบิกความว่าก่อนที่ตนจะได้รับโอนหุ้นตนไม่เคยบริจาคเงินให้พรรคภูมิใจไทย กรณีมีข้อพิรุธสงสัยว่า นายศุภวัฒน์และห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯ ไม่เคยมีความสัมพันธ์กับพรรคภูมิใจไทย แต่ช่วงเวลาที่ผู้ถูกร้องโอนหุ้นให้ นายศุภวัฒน์ แล้ว นายศุภวัฒน์ และห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯ กลับบริจาคเงิน และทรัพย์สินให้กับพรรคการเมืองที่ผู้ถูกร้องเป็นเลขาฯ พรรค

ดังนั้น จากข้อพิรุธหลายประการจึงฟังได้ว่า ผู้ถูกร้องกับ นายศุภวัฒน์ตกลงนำเงินของผู้ถูกร้องทำธุรกรรมต่างๆ ในนามของนายศุภวัฒน์ โดยขั้นตอนสุดท้ายมีการนำเงินนั้นซื้อกองทุนTMB-T-ES-DPlus และกองทุนTMB-T-ES-IPlus ชื่อนายศุภวัฒน์ แล้วขายกองทุนดังกล่าวเพื่อซื้อหุ้นกับผู้ถูกร้องเงินจำนวน 19,500,000 บาท ยังเป็นของผู้ถูกร้อง 
ดังนั้น ผู้ถูกร้องยังคงไว้ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯ โดยมี นายศุภวัฒน์ เป็นผู้ครอบครองหุ้นของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญฯ และดูแลแทนผู้ถูกร้องมาโดยตลอด

อันเป็นการถือหุ้นของรัฐมนตรีที่อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางใดๆ ซึ่งเป็นการกระทำเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 187 ดังนั้น ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง จึงสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) 

ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องจึงสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 ประกอบมาตรา 82 วรรคสอง นับจากวันที่ 3 มี.ค.66 เป็นต้นไป โดยศาลมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5)นับแต่วันที่ 3 มี.ค.66

ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยาม สิ้นสุดลงเฉพาะตัว นับตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. 66 ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้นายศักดิ์สยาม หยุดปฏิบัติหน้าที่

ก่อนการพิจารณาคำร้อง ประธานศาลรัฐธรรมนูญแจ้งว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลาป่วย คือ นายวิรุฬห์ แสงเทียน สำหรับตุลาการเสียงข้างน้อย 1 คน คือ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม เห็นว่าความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ