กระแส #เมียน้อยสว ย้อนส่องคอลัมน์ "ส.ว.วันชัย" ตอบข้อกฎหมาย

16 ก.ค. 2566 | 18:52 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ก.ค. 2566 | 19:02 น.
904

ความร้อนแรงของ #เมียน้อยสว ขึ้นติดกระแสหลังนักสืบโซเชียลออกเสาะหาข้อมูล ด้าน "ส.ว.วันชัย สอนศิริ" ได้เคยตอบเรื่องปัญหาบ้านเล็ก ชี้ทำเป็นข้อตกลง "ฟ้องไม่ได้" ขัดข้อกฎหมายผัวเดียวเมียเดียว

เป็นที่ฮือฮาหลังกระแสโซเชียลติด  #เมียน้อยสว ฮอตฮิตขึ้นอันดับต้นๆ ในโลกออนไลน์ ทำเอาผู้ที่สนใจ รวมทั้งนักสืบโซเชียล ต่างใช้สกิลในการท่องโลกออนไลน์ ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

ขณะที่ "คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร" ได้ติดตามสถานการณ์ พร้อมโพสข้อความ ที่ให้รู้ทางข้อกฎหมายมาเผยแพร่ เรื่องเล่าจาก ส.ว. โดย นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา "ข้อตกลงของเมียน้อย"

โดยได้โพสต์ไว้ว่า

"เมียน้อย คงไม่มีสุภาพสตรีท่านใดชอบคำข้างต้นแน่ๆ เย็นๆ ค่ำๆ วันเสาร์ วันหยุดกลางเดือน แอดขอนำท่านไปอ่าน คอลัมน์ เรื่องเล่าจาก ส.ว. ที่เล่าโดยท่านวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา ในประเด็นเมียน้อยกับข้อกฎหมาย ที่ผู้หญิงเรารู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

คอลัมน์ดังกล่าวลงพิมพ์ใน สารวุฒิสภา ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 (ก.พ.2555) ท่านใดสนใจอ่านฉบับเต็ม แอดได้วางลิงก์ไว้ข้างล่างนี้แล้วค่ะ"

กระแส #เมียน้อยสว ย้อนส่องคอลัมน์ \"ส.ว.วันชัย\" ตอบข้อกฎหมาย

ทั้งนี้ใจความสำคัญในคอลัมน์ "เรื่องเล่าจาก ส.ว." โดย นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา "ข้อตกลงของเมียน้อย" มีการเล่าถึงกรณี หญิงรายหนึ่งได้ติดต่อมาเพื่อขอปรึกษา หลังเธอเป็นภรรยาน้อยของผู้ประกาศข่าวรายหนึ่ง เช่าคอนโดอยู่ด้วยกันมา 3 ปี ตกลงจ่ายค่าเลี้ยงดู ให้ทุกเดือน และพาไปออกงานด้วยเสมอ ซึ่งเธอไม่เคยเห็นเมียหลวงมาข้องเกี่ยวเลย

ทว่าต่อมา เมียหลวงน่าจะทราบเรื่อง ทางผู้ชายยืนยันว่าคงต้องแยกกันอยู่สักพัก แต่เธอไม่ยอม เพราะรู้สึกเสียเวลากับเขามาตั้ง 3 ปี จะให้จากไปโดยไม่ได้อะไรได้อย่างไร อย่างนี้มีกฎหมายข้อไหนที่จะช่วยเมียน้อยได้บ้าง

ซึ่ง ส.ว.วันชัย ได้ตอบในบทความโดยแนะนำไปว่า "แม้จะมีบันทึกข้อตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าสามี จะรับผิดชอบเลี้ยงดูภรรยาน้อยเดือนละสามหมื่น ค่าผ่อนรถค่าโน่น ค่านี้รวมแล้วเดือนละห้าหมื่นบาท ลงลายมือชื่อให้ไว้เป็นหลักฐาน มีพยานรู้เห็นเป็นชื่อไว้ด้วย

กฎหมายก็บอกว่าข้อตกลงนี้ใช้ไม่ได้ ฟ้องร้องไม่ได้มันขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะกฎหมายไทย าหนดให้มีผัวเดียวเมียเดียว เมื่อมีมากกว่าหนึ่ง คนมันก็ขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อศีลธรรม ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ใครจะนํามากล่าวอ้างก็ไม่ได้ เมียน้อยจะนำมากล่าวอ้างเอาสัญญา ขึ้นมายืนยัน ศาลท่านก็ไม่รับฟัง"

ภาพประกอบ คอลัมน์ “เรื่องเล่าจาก ส.ว.” ภาพประกอบ คอลัมน์ “เรื่องเล่าจาก ส.ว.”