รายงานประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี วางแผนลงทุนสื่อปี 2559 ฉบับเต็ม

09 มิ.ย. 2566 | 08:49 น.
อัปเดตล่าสุด :12 มิ.ย. 2566 | 08:54 น.
3.5 k

เปิดรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี ฉบับเต็ม พบวางแผนลงทุนสื่อตั้งแต่ปี 2559 โดยได้ศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการลงทุน 3 แนวทาง หนึ่งในนั้นคือ ธุรกิจ Telecom Media พร้อมจ้าง บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร เป็นที่ปรึกษาการลงทุน

จากกรณีการถือหุ้นครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) หรือ ITV จำนวน 42,000 หุ้น ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีนั้น ที่มีการร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้งให้ตรวจสอบ การถือครองหุ้น ไอทีวี  ว่าเป็นการขัดการข้อกำหนดการเป็นส.ส.หรือไม่

เมื่อตรวจสอบรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นไอทีวี ย้อนหลังพบว่าในรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 ในวาระที่ 8.3 รายงานผลการพิจารณาเพื่อการลงทุนและหาทางเลือกในการดำเนินกิจการของบริษัทต่อไป มีการประชุมเพื่อวางแผนการลงทุนในฐานะสื่อมาตั้งแต่ ปี 2559 ตามรายละเอียด ดังนี้

วาระที่ 8.3 รายงานผลการพิจารณาเพื่อการลงทุนและหาทางเลือกในการดําเนินกิจการของบริษัทต่อไป

ประธานได้แถลงต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมการเห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรับทราบรายงานผลการพิจารณาเพื่อการลงทุนและหาทางเลือกในการดําเนินกิจการของบริษัทที่คณะกรรมการได้ดําเนินการไปแล้ว ดังนี้

หลังจากที่บริษัทได้รับคําชี้ขาดจากคณะอนุญาโตตุลาการในต้นปี 2559 และได้ศึกษาข้อกฎหมายจนได้ความชัดเจนว่า แม้ สปน. จะยื่นคําร้องขอเพิกถอนคําชี้ขาดต่อศาลปกครองกลาง แต่ในปัจจุบัน โดยผลของกฎหมาย ถือว่าบริษัทไม่มีภาระหนี้ที่จะต้องชําระให้แก่ สปน.บริษัทก็พยายามทําเนินการในเรื่องแสวงหาโอกาสในการลงทุนเพื่อที่จะสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นมาโดยตลอด

 

โดยในช่วงปี 2559 บริษัทได้ดําเนินการศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างการลงทุน และได้รับข้อเสนอจากบริษัทหนึ่ง ซึ่งประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิตอล แต่เมื่อบริษัทได้วิเคราะห์ถึงสภาพตลาด การแข่งขัน และข้อดีข้อเสียของการเข้าลงทุนตามข้อเสนอของบริษัทเป้าหมาย โดยรอบคอบแล้ว บริษัทไม่สามารถตอบรับข้อเสนอทางธุรกิจของบริษัทเป้าหมายได้ และได้พิจารณากําหนดกรอบการลงทุนของบริษัท

รวมทั้งเร่งดําเนินการสรรหาและแต่งตั้งที่ปรึกษาการลงทุนของบริษัท ซึ่งรายละเอียดและเหตุผลต่างๆ บริษัทได้เคยรายงานให้แก่ผู้ถือหุ้น ทราบในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2560 และมีบันทึกอยู่ในรายงานการประชุมที่ บริษัทได้จัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกท่านพร้อมหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2561

ประมาณเดือนมีนาคมและเมษายน 2560 บริษัทได้ทําการศึกษาความเป็นไปได้ของแนว ทางการลงทุน 3 แนวทาง ดังนี้

  • แนวทางที่หนึ่ง เป็นการลงทุนโดยตรงในฐานะผู้ประกอบกิจการ คือบริษัทอาจมองหา ธุรกิจและลงทุนเปิดคําเนินการด้วยตนเอง
  • แนวทางที่สอง เป็นการลงทุนทางอ้อมในฐานะนักลงทุน ผ่านกองทุนส่วนบุคคล หรือ Private Fund ซึ่งแนวทางนี้ เป็นการลงทุนที่บริษัทเลือกใช้ดําเนินการอยู่ใน ปัจจุบัน
  • แนวทางที่สาม เป็นการมองหาบริษัทเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบกิจการในกลุ่มธุรกิจ Telecom Media และ Technology ซึ่งเปิดดําเนินกิจการอยู่แล้ว และเข้าหาโอกาสเข้าไปร่วมลงทุนในการศึกษาถึงแนวทางการลงทุนดังกล่าว

 

บริษัทได้พิจารณาถึงสภาวการณ์ปัจจุบันของบริษัทในเรื่องต่างๆ ได้แก่

  • คดีความคงค้างของบริษัท
  • ปัจจัยความเสี่ยงในเรื่องความสําเร็จในการลงทุน และสถานภาพของบริษัทในปัจจุบัน

และที่สุดบริษัทต้องยอมรับว่า การที่บริษัทจะดําเนินการลงทุนโดยตรงในฐานะผู้ประกอบ กิจการตามแนวทางที่หนึ่งมีความเป็นไปได้ยาก เพราะในปัจจุบัน บริษัทไม่มีทรัพยากรและ บุคลากรที่จะเป็นกําลังในการเริ่มต้นทําธุรกิจใหม่

นอกจากนั้น การเริ่มประกอบกิจการใหม่ ด้วยตนเอง จะต้องใช้เงินลงทุนสูง เมื่อคํานึงถึงสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน หากบริษัทนําเงินที่บริษัทมีอยู่ไปลงทุนทําธุรกิจใหม่ แทนที่จะเป็นโอกาสในการเพิ่มผลตอบแทน อาจกลายเป็นการเพิ่มภาระความเสี่ยงให้แก่บริษัทและผู้ถือหุ้นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการบริษัทจึงมีความเห็นว่า บริษัทควรพิจารณาดําเนินการศึกษาเพื่อการลงทุนในแนวทางที่สาม คือ การมองหาบริษัทเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบกิจการในกลุ่มธุรกิจ Telecom Media และ Technology ซึ่งเปิดดําเนินกิจการอยู่แล้ว และเข้าหาโอกาสเข้าไปร่วมลงทุน ภายใต้กรอบการ ลงทุนที่บริษัทเคยกําหนดไว้

ต่อมาวันที่ 26 พฤษภาคม 2560 คณะกรรมการบริษัทได้ดําเนินการคัดเลือกที่ปรึกษาการ ลงทุนเพื่อมาช่วยในการแสวงหาและคัดเลือกบริษัทเป้าหมายให้แก่บริษัท โดยมุ่งเน้นในการ สรรหาบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนที่มีชื่อเสียงและมีผลงานความสําเร็จในการทํางานให้กับ องค์กรขนาดใหญ่ 

ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาและมีมติคัดเลือกและแต่งตั้ง บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จํากัด เป็นที่ปรึกษาการลงทุนของบริษัท เนื่องจากข้อเสนอการให้บริการและค่าธรรมเนียมของ บลจ.ภัทร เป็นประโยชน์มากกว่าเมื่อเทียบกับข้อเสนอจากที่ปรึกษาการลงทุนอื่น

เมื่อ บลจ. ภัทร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาการลงทุนจากบริษัทแล้ว บลจ. ภัทร ได้ ทํางานร่วมกับบริษัท และมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งเพื่อพิจารณาข้อดี ข้อเสียในการลงทุน ผลตอบแทนและความเสี่ยงต่างๆ

เมื่อ บลจ. ภัทร ได้เข้าใจถึงความต้องการและนโยบายของ บริษัท รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของบริษัทแล้ว บลจ.ภัทร ได้ไปดําเนินการสรรหาบริษัท เป้าหมาย และจัดทําการวิเคราะห์รูปแบบธุรกิจของบริษัทเป้าหมาย เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติม ให้แก่บริษัททราบถึงแนวโน้มทางธุรกิจในอนาคตของบริษัทเป้าหมาย

โดยในการประชุม คณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 บลจ. ภัทร ได้นําเสนอบริษัท เป้าหมายจํานวน 3 รายให้แก่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอย่างเป็นทางการ พร้อมรายงานวิเคราะห์รูปแบบธุรกิจและแนวโน้มของผลประกอบการในอนาคต 

หลังจากที่คณะกรรมการได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าบริษัทเป้าหมายที่ บลจ. ภัทร นําเสนอทั้งสามรายนั้น ตรงกับกรอบการลงทุนที่บริษัทได้กําหนดไว้ จึงมีมติเห็นชอบให้บลจ.ภัทร ดําเนินการนัดหมายเพื่อเจรจาการ ร่วมลงทุน

แต่กลับปรากฏว่า บริษัทกลับไม่ได้รับความสนใจจากบริษัทเป้าหมายทั้งสามราย เพราะบริษัทยังมีคดีความคงค้างกับ สปน. และปัญหาที่สําคัญที่สุด คือ ข้อจํากัดเกี่ยวกับ สถานะของบริษัทที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือทางธุรกิจแก่บริษัทเป้าหมายได้ ไม่ว่าจะเป็น การบริหารงาน การถ่ายทอดประสบการณ์ หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีก็ตาม

เนื่องจากบริษัทเป้าหมายที่มีศักยภาพส่วนมากมักจะมีผู้สนใจเข้าร่วมลงทุนจึงมักจะเลือกร่วมลงทุนกับบริษัทที่มีศักยภาพที่จะช่วยต่อยอดทางธุรกิจให้แก่ตนเองได้

บลจ. ภัทร จึงให้คําแนะนําแก่บริษัทว่า หนทางที่บริษัทจะประสบความสําเร็จจากการที่ร่วมลงทุน ในบริษัทเป้าหมายก็อาจเป็นไปได้ยากเช่นกัน เพราะข้อจํากัดของบริษัทเป็นอุปสรรคสําคัญในการ ตัดสินใจร่วมลงทุนของบริษัทเป้าหมายที่มีศักยภาพดี และหากบริษัทจะมุ่งแสวงหาบริษัทเป้าหมายใหม่ที่ไม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับสถานะของบริษัท และไม่ได้ต้องการความร่วมมือทางธุรกิจ โดยต้องการเพียงเงินลงทุนอย่างเดียว ก็จะทําให้บริษัทมีความเสี่ยงในเรื่องการควบคุมการบริหารงานของบริษัทเป้าหมาย และหากบริษัทตัดสินใจเสี่ยงเข้าไปลงทุนในบริษัทที่มองไม่เห็นถึงศักยภาพของการทําธุรกิจ อาจทําให้เงินลงทุนของบริษัทมีความเสี่ยงที่จะด้อยค่าลง รวมถึงไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุนที่ต้องการรักษาเงินทุนของบริษัทไว้ให้มากที่สุด

นอกจากนี้ บลจ.ภัทร ยังได้ทําการศึกษาและการวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับบริษัทมานําเสนอให้บริษัทพิจารณา ซึ่งผลการศึกษาของ บลจ.ภัทร พบว่ารูปแบบการลงทุนในลักษณะ Private fund มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ของบริษัทในปัจจุบัน เพราะมีความปลอดภัยและเป็นประโยชน์สําหรับผู้ถือหุ้นของบริษัทมากกว่าการลงทุนในแนวทางอื่น โดยอัตราผลตอบแทนที่บริษัทได้รับในปัจจุบันก็มีความเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่บริษัทสามารถยอมรับได้

ด้วยเหตุนี้ทางคณะกรรมการบริษัทจึงมีความจําเป็นที่จะต้องดําเนินการบริหารเงินสดของบริษัทในรูปแบบกองทุนส่วนบุคคลต่อไปตามเดิมไปก่อน จนกว่าปัจจัยข้อจํากัดต่างๆ ของบริษัทจะเปลี่ยนแปลงไป

แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทเชื่อว่าหากคดีความของบริษัทสิ้นสุดลง ก็อาจทําให้บริษัทกลับมาได้รับความสนใจจากบริษัทเป้าหมายในการที่จะเข้าร่วมลงทุนกับบริษัทได้ และถึงแม้ว่าบริษัทจะยังไม่สามารถค้นหาธุรกิจที่ดีและที่มีความสนใจจะเข้าร่วมลงทุนกับบริษัทในขณะนี้ได้

แต่บริษัทยังคงเปิดกว้างที่จะศึกษาและค้นหาการลงทุนในแนวทางอื่นๆ ที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ของบริษัทในอนาคตอยู่ตลอดเวลา และหากมีความคืบหน้า จะนําเรียนต่อผู้ถือ หุ้นในโอกาสต่อไป หรือหากท่านผู้ถือหุ้นมีข้อแนะนําประการใด บริษัทก็ยินดีที่จะรับข้อเสนอแนะจากผู้ถือหุ้นมาพิจารณา

 

 

 

รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ITV

รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ITV

รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ITV

 

รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ITV

รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ITV