ศาลปล่อยตัว "รุ้ง ปนัสยา" ชั่วคราว ถึง 12 ม.ค. สั่งห้ามออกจากบ้าน - ติดกำไล EM

30 พ.ย. 2564 | 20:49 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ธ.ค. 2564 | 03:56 น.
600

ด่วน! ศาลปล่อยตัว "รุ้ง ปนัสยา" แกนนำม็อบ หลังยื่นประกันตัว ถึง 12 มกราคม 2565 พร้อมเงื่อนไขติดกำไล EM ห้ามออกจากบ้าน 24 ชั่วโมง ยกเว้นไปสอบ, ไปสถานพยาบาล หรือมาตามที่นัดคดี

30 พ.ย.2564 - มีรายงานล่าสุดว่า  ศาลอาญา มีคำสั่ง ปล่อยชั่วคราว น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล  หรือ รุ้ง เเกนนำราษฎร จำเลยที่ 5 คดีหมายเลขดำ อ.287/2564 หรือ คดีชุมนุมปักหมุดสนามหลวง เมื่อวันที่ 19 - 20 ก.ย.2563

 

หลังจากที่ทนายความยื่นคำร้องขอประกันตัว เนื่องด้วย เป็นนักศึกษา มีความจำเป็น จะต้องสอบ เพื่อสำเร็จการศึกษา โดยรุ้ง ยืนยันว่า จะไม่หลบหนีหรือก่อเหตุร้ายประการอื่นอีก 

ขณะผู้ร้องนำสืบ ระบุต่อศาล ว่าจำเลยที่ 5 เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา ชั้นปีที่ 4 ซึ่งในภาคเรียนที่ 1 มีกำหนดการสอบปลายภาคระหว่างวันที่ 29 พ.ย. -16 ธ.ค. ซึ่งจำเลยที่ 5 ลงทะเบียนเรียนและต้องสอบใน 4 วิชา 

 

ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาตราจารย์ดร. บุญเลิศ วิเศษปรีชา อธิบายว่าในบางวิชาที่มีการรายงานแทนการสอบอาจมีการขยายระยะเวลาหลังกำหนดการสอบข้อเขียนไปอีกบ้าง แต่ในที่สุดแล้วต้องไม่เกินวันที่ 12 ม.ค.65 ซึ่งเป็นวันส่งคะแนนของบรรดาอาจารย์ผู้สอนต่อทางคณะ

นอกจากนี้ ในภาคเรียนที่ 2ของปี 4 จำเลยที่ 5 จะต้องทำการวิจัยส่วนบุคคลเพื่อจบการศึกษาซึ่งต้องใช้เวลาในการค้นคว้าและเก็บข้อมูลภาคสนาม 1 ภาคเรียน ทั้งนี้การสอบของนักศึกษาวิชาสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยานั้น จะต้องมีการเก็บข้อมูลและทำรายงานด้วยมิใช่การนั่งสอบข้อเขียน 

 

แต่เพียงอย่างเดียวจำเลยที่ 5 มีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ศาลได้กำหนดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 5 จะไม่ทำกิจกรรมทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองไม่ออกนอกราชอาณาจักร ยินดีอยู่ในเคหสถานโดย จำกัด เวลาหรือตลอดเวลา ในบ้านเมือง ไม่ออกนอกราชอาณาจักร ตามที่ศาลสั่งเว้นแต่การไปเล่าเรียนศึกษา

 

ทั้งจำเลยที่ 5 มีบิดามารดา และผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร. บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พร้อมจะกำกับดูแลให้จำเลยที่ 5 อยู่ในเงื่อนไขที่คาดกำหนด

 

โดยศาลอาญาพิเคราะห์แล้วเห็นว่าศาลนี้มีคำสั่งให้ยกเลิกการปล่อยชั่วคราวและยังจำเลยที่ 5 ไว้เนื่องจากเกรงว่าจำเลยที่ 5 จะก่อเหตุร้ายประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1(3 ) 

อย่างไรก็ดี การพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเป็นการใช้อำนาจของรัฐเพื่อ จำกัด สิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งศาลจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากการก่อเหตุร้ายกับสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาโดยไม่ จำกัด สิทธิเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 


ดังนั้นการที่จำเลยที่ 5 มีภาระในเรื่องการเรียนที่จะต้องเสียหายจากการคุมขังจึงเป็นเหตุที่สามารถได้รับการพิจารณาเมื่อคำนึงถึงความเสียหายที่จำเลยที่ 5 อาจก่อขึ้นอีกนั้นอาจ จำกัด ควบคุมได้โดยการที่จำเลยที่ 5 ยินยอมและตั้งใจปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของศาลที่เข้มงวดยิ่งขึ้นและด้วยการกำหนดเงื่อนไขเงื่อนเวลาและมาตรการกำกับดูแลที่เหมาะสม

 

ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาพิจารณาแล้วจึงเห็นควรอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 5 อย่าง จำกัด โดยให้มีผลเฉพาะตั้งแต่วันนี้ 12 ม.ค.65 กำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยที่ 5 ทำกิจกรรมหรือก่อเหตุที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามจำเลยที่ 5 เข้าร่วมชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ห้ามจำเลยที่ 5 ออกนอกเคหสถานตลอดเวลา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปเรียนและสอบ ไปติดต่อราชการที่ศาลอื่นหรือเหตุอื่น โดยได้รับอนุญาตจากศาลห้ามจำเลยที่ 5 ออกนอกราชอาณาจักร

 

โดยให้ผู้ช่วยศาตราจารย์ดร. บุญเลิศ วิเศษปรีชาเป็นผู้กํากับดูแลให้จําเลยที่ 5 ปฏิบัติตามคําสั่งศาลให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์หากผิดสัญญาให้ปรับผู้ประกันเป็นเงิน 90,000บาท โดยไม่เรียกหลักประกัน