เลือกตั้งอบต. 2564 ลงคะแนนล่วงหน้า ต้องเตรียมตัวอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ

11 พ.ย. 2564 | 07:00 น.
อัปเดตล่าสุด :11 พ.ย. 2564 | 07:03 น.
28.1 k

เลือกตั้งอบต. 2564 ล่วงหน้า มีการลงคะแนนเลือกตั้งก่อนหรือไม่ ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนถึงวันเลือกตั้ง 28 พ.ย. 64 สรุปไว้ให้ครบที่นี่

ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต.) และการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 นี้ หลายคนอาจกำลังกังขาสงสัยว่า มีการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าหรือไม่นั้น ที่นี่มีคำตอบ

ฐานเศรษฐกิจ พาย้อนกลับไปก่อนหน้านี้หากเรายังจำกันได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ซึ่งเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเมื่อปลายปี 2563 ไม่ปรากฎว่า มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าแต่อย่างใด 

ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมาย กกต.ไม่ได้บัญญัติให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และไม่มีการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรเหมือนกับการเลือกตั้ง ส.ส.เอาไว้นั่นเอง  

ดังนั้น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต.) ผู้ที่มีสิทธิจึงต้องเดินทางไปลงคะแนนเลือกตั้งยังหน่วยเลือกตั้งที่ตนเองมีชื่ออยู่เพื่อลงคะแนนเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2564 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ได้ในวันนี้วันเดียวเท่านั้น 

โดยผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งควรเตรียมความพร้อมก่อนถึงวันเลือกตั้งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิหรือถูกจำกัดสิทธิกรณีไม่สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งได้ ดังต่อไปนี้

1.ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่ที่ว่าการอำเภอ/ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง และก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วันให้ตรวจสอบรายชื่อจากเอกสารที่แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมายังเจ้าบ้าน หรือ คลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/ เพื่อตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นได้ เพียงแค่กรองหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก 

เลือกตั้งอบต. 2564 ลงคะแนนล่วงหน้า ต้องเตรียมตัวอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ

2.กรณีพบว่า ตนเองหรือผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านของตนไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือ เจ้าของบ้านเห็นว่า มีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนของตนโดยไม่ได้อาศัยอยู่จริงให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือ นายทะเบียนท้องถิ่นเพื่อขอ "เพิ่มชื่อ" หรือ "ถอนชื่อ" พร้อมนำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ไปแสดงด้วย

3.กรณีการขอ "เพิ่มชื่อ" และขอ "ถอนชื่อ" ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือ นายทะเบียนท้องถิ่นเพื่อขอเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อพร้อมนำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ไปแสดงด้วย

ทั้งนี้ หากมี "เหตุจำเป็น" ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจเดินทางไปลงคะแนนเลือกตั้ง อบต. ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 มีดังต่อไปนี้

  • มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
  • เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
  • มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
  • ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
  • มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต.กำหนด

ให้แจ้งเหตุต่อนายทะเบียนอำเภอ (นายอำเภอ) ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำเป็นหนังสือ ซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้านภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง และภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง สามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

นอกจากนี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังสามารถแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ 

อย่างไรก็ดี กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้วนั้น หากในวันเลือกตั้ง เหตุดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้

เลือกตั้งอบต. 2564 ลงคะแนนล่วงหน้า ต้องเตรียมตัวอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ

 

เลือกตั้งอบต. 2564 ลงคะแนนล่วงหน้า ต้องเตรียมตัวอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ