ศรีสุวรรณ ค้าน"บิ๊กตู่" ใช้อำนาจตาม ม.9คุมสื่อ ทั้งที่ใช้ กม.ปกติได้

30 ก.ค. 2564 | 09:58 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ก.ค. 2564 | 17:19 น.

ศรีสุวรรณค้าน"นายกฯ"ใช้อำนาจตาม ม.9 พรก.ฉุกเฉินฯคุมสื่อ-คนดัง ทั้งที่ใช้ กฎหมายปกติได้ ชี้การเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนและการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชน

   วันที่ 30 ก.ค.2564 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีโพสต์เฟซบุ๊คสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการข่าวปลอมในช่วงโควิด โดยสั่งให้ดำเนินคดีกับผู้ปล่อย Fake News รายใหญ่ ไม่เว้นคนดัง - สื่อมวลชน พร้อมให้ติดตามใกล้ชิด  พร้อมกับใช้อำนาจตาม ม.9 แห่ง พรก.ฉุกเฉิน 2548 ออกข้อกำหนดฉบับที่ 27 ข้อ 11 ที่กำหนดมาตรการเพื่อมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในสถานการณ์ฉุกเฉิน การเสนอข่าวที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิด ความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั่วราชอาณาจักร 
       

การใช้อำนาจดังกล่าวทำให้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้ง 6 องค์กรออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการออกข้อกำหนดดังกล่าว หรือจัดทำแนวปฏิบัติจากข้อกำหนดพร้อมแถลงถึงเจตนารมณ์ในการบังคับใช้ให้เกิดความชัดเจน เพื่อมิให้มีนำข้อกำหนดดังกล่าว ไปเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการทำหน้าที่เสนอข่าวสารของสื่อมวลชนและการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชน จนกระทบต่อสิทธิการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน 
       

นายกฯกลับไม่แคร์โดยออกข้อกำหนด ฉบับที่ 29 ออกมาสำทับห้ามเสนอข่าวอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอีก พร้อมสั่งให้ กสทช.แจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเข้มงวดกวดขันกับผู้ใช้บริการ หากกระทำผิดให้ส่งให้ตำรวจดำเนินคดีต่อไป ซึ่งอาจเป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ม.35 วรรคสอง และม.36 ได้
จริงๆแล้วกฎหมายที่ใช้จัดการพวกปล่อยข่าวปลอมหรือการบิดเบือนข่าวนั้น สามารถใช้กฎหมายปกติดำเนินการได้อยู่แล้ว โดยนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องออกเป็นข้อกำหนดมาให้เป็นที่ขุ่นเคืองของหลายๆฝ่าย อาทิ ใช้ ป.อ. เอาผิดฐานหมิ่นประมาทใน ม.326 โดยมีม.328 เป็นบทเพิ่มโทษที่ใช้กันบ่อยๆ หรือเอาผิดพวกบอกเล่าความเท็จ ให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจตาม ม.384 ก็ยังได้ อีกทั้งยังมี ป.อ.แพ่งฯ ในหมวดของการ "ละเมิด" กำหนดเรื่องการหมิ่นประมาทไว้แล้วใน ม.423 เพื่อเรียกค่าเสียหายได้

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย

  นอกจากนั้น ยังมี พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปี 2560 ม.14 ที่ใช้เอาผิดผู้ที่นำเข้าซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จได้ ซึ่งก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับได้ อีกทั้ง กสทช. ก็มีกฎหมายของตนเองที่จะเอาผิดสื่อมวลชนที่เสนอข่าวบิดเบือนได้อยู่แล้ว ผ่านกลไกทางปกครองหรือศาล เป็นต้น
       

 ดังนั้น นายกรัฐมนตรี หรือ ศบค. ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องใช้อำนาจตาม ม.9 แห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ มาปิดกั้นการทำหน้าที่เสนอข่าวสารของสื่อมวลชนและการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชนเลย ทางออกที่เหมาะสมคือปรับปรุงข้อกำหนด ฉบับที่ 27 และ 29 เสียใหม่ โดยตัดทิ้ง ข้อ 11 และทบทวนหรือยกเลิกฉบับที่ 29 ออกไปเสีย ซึ่งไม่ทำให้กระบวนการเอาผิดผู้ที่บิดเบือนข้อมูลข่าวสารของรัฐเสียไป เพราะมีกฎหมายอื่นดูแลอยู่แล้วนั่นเอง นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

       

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีโพสต์เฟซบุ๊คสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการข่าวปลอมในช่วงโควิด โดยสั่งให้ดำเนินคดีกับผู้ปล่อย Fake News รายใหญ่ ไม่เว้นคนดัง - สื่อมวลชน พร้อมให้ติดตามใกล้ชิดนั้น
       

แต่ทว่ากลับใช้อำนาจตาม ม.9 แห่ง พรก.ฉุกเฉิน 2548 ออกข้อกำหนดฉบับที่ 27 ข้อ 11 ที่กำหนดมาตรการเพื่อมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในสถานการณ์ฉุกเฉิน การเสนอข่าวที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิด ความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั่วราชอาณาจักร 
       

 

การใช้อำนาจดังกล่าวทำให้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้ง 6 องค์กรออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการออกข้อกำหนดดังกล่าว หรือจัดทำแนวปฏิบัติจากข้อกำหนดพร้อมแถลงถึงเจตนารมณ์ในการบังคับใช้ให้เกิดความชัดเจน เพื่อมิให้มีนำข้อกำหนดดังกล่าว ไปเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการทำหน้าที่เสนอข่าวสารของสื่อมวลชนและการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชน จนกระทบต่อสิทธิการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน 

 นายกรัฐมนตรีกลับไม่แคร์โดยออกข้อกำหนด ฉบับที่ 29 ออกมาสำทับห้ามเสนอข่าวอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอีก พร้อมสั่งให้ กสทช.แจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเข้มงวดกวดขันกับผู้ใช้บริการ หากกระทำผิดให้ส่งให้ตำรวจดำเนินคดีต่อไป ซึ่งอาจเป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ม.35 วรรคสอง และม.36 ได้
จริงๆแล้วกฎหมายที่ใช้จัดการพวกปล่อยข่าวปลอมหรือการบิดเบือนข่าวนั้น สามารถใช้กฎหมายปกติดำเนินการได้อยู่แล้ว โดยนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องออกเป็นข้อกำหนดมาให้เป็นที่ขุ่นเคืองของหลายๆฝ่าย อาทิ ใช้ ป.อ. เอาผิดฐานหมิ่นประมาทใน ม.326 โดยมีม.328 เป็นบทเพิ่มโทษที่ใช้กันบ่อยๆ หรือเอาผิดพวกบอกเล่าความเท็จ ให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจตาม ม.384 ก็ยังได้ อีกทั้งยังมี ป.อ.แพ่งฯ ในหมวดของการ "ละเมิด" กำหนดเรื่องการหมิ่นประมาทไว้แล้วใน ม.423 เพื่อเรียกค่าเสียหายได้
 

 

นอกจากนั้น ยังมี พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปี 2560 ม.14 ที่ใช้เอาผิดผู้ที่นำเข้าซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จได้ ซึ่งก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับได้ อีกทั้ง กสทช. ก็มีกฎหมายของตนเองที่จะเอาผิดสื่อมวลชนที่เสนอข่าวบิดเบือนได้อยู่แล้ว ผ่านกลไกทางปกครองหรือศาล เป็นต้น
       

 

ดังนั้น นายกรัฐมนตรี หรือ ศบค. ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องใช้อำนาจตาม ม.9 แห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ มาปิดกั้นการทำหน้าที่เสนอข่าวสารของสื่อมวลชนและการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชนเลย ทางออกที่เหมาะสมคือปรับปรุงข้อกำหนด ฉบับที่ 27 และ 29 เสียใหม่ โดยตัดทิ้ง ข้อ 11 และทบทวนหรือยกเลิกฉบับที่ 29 ออกไปเสีย ซึ่งไม่ทำให้กระบวนการเอาผิดผู้ที่บิดเบือนข้อมูลข่าวสารของรัฐเสียไป เพราะมีกฎหมายอื่นดูแลอยู่แล้วนั่นเอง