“โรคไข้ดิน” อาการและสาเหตุ กรมควบคุมโรค เผยพบเสียชีวิต 58 ราย

23 ต.ค. 2566 | 06:40 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ต.ค. 2566 | 06:42 น.

“โรคไข้ดิน” อาการและสาเหตุ ภัยเงียบในช่วงฤดูฝน กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2566 มีผู้ป่วย 3,086 ราย เสียชีวิต 58 ราย ส่วนใหญ่พบในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

“โรคไข้ดิน” หรือ  โรคเมลิออยด์ (melioidosis) จากกรณีที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  โดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา ออกมาเปิดเผย สถานการณ์โรคไข้ดิน  ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 8 ตุลาคม 2566 มีผู้ป่วยโรคไข้ดิน  3,086 ราย มีผู้เสียชีวิต 58 ราย ส่วนใหญ่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 65  ปี ขึ้นไป รองลงมาคือ 55-64 ปี และกลุ่มอายุ 45-54 ปี ตามลำดับ

ส่วนสถานการณ์โรคไข้ดิน ในเขตสุขภาพที่ 9  นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 7 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้ดิน จำนวน 582 ราย มีผู้เสียชีวิต 6 ราย (บุรีรัมย์ 4 ราย และ นครราชสีมา 2 ราย) 

โรคไข้ดิน ผู้ป่วยแยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้

  • จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 336 ราย 
  • จังหวัดสุรินทร์ มีผู้ป่วย 106 ราย 
  • จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วย 93 ราย  
  • จังหวัดชัยภูมิ มีผู้ป่วย 47 ราย

โรคไข้ดิน อาการ

  • มีไข้สูง ไอ และ อาจพบแผลฝีหนองตามร่างกาย

โรคไข้ดิน สาเหตุ

  • เกิดจากผู้ป่วยติดเชื้อจากการสัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานาน หรือ บริโภคน้ำไม่สะอาดที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป

 

โรคไข้ดิน กลุ่มเสี่ยง

  • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคธาลัสซิเมีย และ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่ประกอบอาชีพที่สัมผัสกับดินและน้ำเป็นเวลานาน เช่น ทำนา

โรคไข้ดิน อาการและสาเหตุ

 

โรคไข้ดิน วิธีป้องกัน

  • สวมรองเท้าบูทเมื่อต้องลุยน้ำหรือย่ำดิน
  • ดิ่มน้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุก
  • ทำความสะอาดร่างกายทันที หลังมีการสัมผัสน้ำและดิน

หมายเหตุ:  หากมีไข้สูง เป็นเวลานานเกิน 3 วัน หรือ เกิดแผลฝีหนองตามร่างกายควรรีบไปพบแพทย์

ที่มา: กรมควบคุมโรค