วันที่ 6 กันยายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันแห่งชาติของไทย ขณะที่วันต่อต้านคอร์รัปชันสากลจะตรงกับวันที่ 8 กันยายนของทุกปี
สำหรับวันต่อต้านคอร์รัปชันของไทยนั้นเกิดจากการตื่นตัวและรวมพลังกันเพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของภาคประชาชน และภาคเอกชนเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม จากการริเริ่มทุ่มเทแรงกายแรงใจของ นายดุสิต นนทะนาคร ประธานหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยในขณะนั้นที่ต้องการแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศในเรื่องนี้
จุดเริ่มของภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันในไทย
พาย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย ได้กล่าวเปิดงานสัมมนา "ต่อต้านคอร์รัปชัน : จุดเปลี่ยนประเทศไทย" ซึ่งจัดขึ้น หอการค้าทั่วประเทศ ร่วมกับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ไอโอดี) และภาคี 20 องค์กร มีองค์กรจากภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วม 23 แห่ง เพื่อระดมความคิดเห็นเพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
นายดุสิต ระบุตอนหนึ่งโดยประกาศภายในงานว่า ..หอการค้าไทยและภาคี 21 องค์กรจะหยุดจ่ายเงินให้รัฐเพื่อยุติข้ออ้างที่ว่า การทุจริตคอร์รัปชันเกิดจากมี "ผู้ให้" จึงมี "ผู้รับ" ที่ผ่านมาเอกชนจ่ายให้รัฐประมาณ 12 แสนล้านบาทต่อปี
การเริ่มต้นวันนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะอยู่ในช่วงเลือกตั้ง พรรคการเมืองใดที่ไม่ให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ประชาชนไม่ควรให้คนเหล่านี้เข้ามาบริหารประเทศ ต่อไปเอกชนจะตรวจสอบการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ เพื่อดึงคอร์รัปชันออกมาสู่ที่สว่าง โดยไม่หวั่นไหวต่ออำนาจและการแทรกแซง..."
จากคำกล่าวนี้เองได้สร้างแรงสั่นสะเทือนเกิดแรงกระเพื่อมขึ้นในสังคมไทยเป็นวงกว้างจนกลายเป็น "วาระแห่งชาติ" ที่ทุกองค์กร บริษัท หน่วยงานรัฐต่างพร้อมใจกันขับเคลื่อนเรื่องนี้เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม
เหตุผลที่กำหนดให้วันที่ 6 กันยายนเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันของไทย
กระทั่งนายดุสิต ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 ปณิธานอันแรงกล้านั้นได้รับการสานต่อจากเหล่าสมาชิก โดยการนำของนายประมนต์ สุธีวงศ์ ที่ผู้เข้ามารับตำแหน่งประธานภาคีเครือข่าย และได้มีการเสนอให้ถือเอาวันแห่งการจากไปของ นายดุสิต ซึ่งผู้เป็นสร้างแรงบันดาลใจและแบบอย่างของต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อในการต่อต้านคอร์รัปชันให้เป็น "วันต่อต้านคอร์รัปชัน" เพื่อให้ผู้ที่ยังอยู่ได้สานต่อเจตนารมณ์นี้ต่อไป
จากความร่วมมือของ "ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน" ซึ่งเกิดจากแนวคิดริเริ่มของนายดุสิต ได้ถูกยกระดับขึ้นเป็นลำดับ กระทั่งในปี พ.ศ.2555 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) โดยปัจจุบันนายวิเชียร พงศกร เป็นประธาน และได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิเมื่อปี พ.ศ.2557 มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 54 องค์กร
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ
ในขณะที่ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริงแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งได้เผยแพร่ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ประจำปี 2565 จัดทำโดย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) มีประเทศที่ถูกจัดอันดับทั้งสิ้น 180 ประเทศ นั้น
ประเทศไทย ได้คะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 36 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 101 ของโลกดีขึ้นจากปี 2564 ที่ได้คะแนน 35 คะแนนและอยู่ในอันดับที่ 110 ของโลก
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ไทยอยู่อันดับที่ 4 โดยประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด คือ สิงคโปร์ ได้ 83 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก ส่วนอันดับที่ 2 และ 3 คือ ประเทศมาเลเซีย และประเทศเวียดนาม ได้คะแนน 47 และ 42 ตามลำดับ
ข้อมูล / ภาพประกอบ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)