เปิดภาพดาวเทียม พายุไต้ฝุ่น “แลง” เคลื่อนเข้าญี่ปุ่น 14-15ส.ค.66

13 ส.ค. 2566 | 08:40 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ส.ค. 2566 | 08:48 น.
1.1 k

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยภาพถ่ายดาวเทียม เส้นทางพายุไต้ฝุ่น "แลง" (LAN) ล่าสุด เตรียมเคลื่อนขึ้นฝั่งญี่ปุ่นวันที่ 14-15 ส.ค. 66 ใครจะไปขอให้เช็คสภาพอากาศ ด้าน ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่

วันที่ 13 ส.ค. 66 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้เปิดเผยเส้นทางพายุไต้ฝุ่น “แลง” (LAN) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมระบุว่า มีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 14-15 ส.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว โปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย 

เส้นทางพายุไต้ฝุ่น “แลง” (LAN) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 14-15 ส.ค. 66

เส้นทางพายุไต้ฝุ่น “แลง” (LAN) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 14-15 ส.ค. 66

ขณะเดียวกัน กรมอุตุฯยังได้ พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าสำหรับประเทศไทยว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก 

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร 

ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1–2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย  

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และตาก
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร 
  • นครพนม อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

 

ภาคกลาง

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี 
  • นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
  • อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
  • อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

กรุงเทพและปริมณฑล

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
  • อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

ออกประกาศ 13 สิงหาคม 2566

เปิดภาพดาวเทียม พายุไต้ฝุ่น “แลง” เคลื่อนเข้าญี่ปุ่น 14-15ส.ค.66

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา