"ดร.ธรณ์"เล่าขอบเขตทะเลลึกคนใน"ซากเรือไททัน"จากไปแบบไม่รู้ตัว

23 มิ.ย. 2566 | 15:29 น.
อัปเดตล่าสุด :23 มิ.ย. 2566 | 15:36 น.
3.7 k

"ดร.ธรณ์" เล่าขอบเขตของทะเลลึก ชี้แรงดันมหาศาลทำลายยานใต้น้ำไททันในเสี้ยววิ  คนใน"ซากเรือไททัน" จากไปแบบไม่รู้ตัว

คนทั้งโลกกำลังสนใจ “ทะเลลึก” จึงอยากเล่าให้เพื่อนธรณ์ทราบขอบเขตของทะเลลึก เริ่มจากความลึก 200 เมตร เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์เริ่มหมดไปแสงที่ความลึกนั้นเหลือไม่ถึง 1% เนื่องจากน้ำดูดกลืนแสงเมื่อลงไปถึง 1000 เมตร จะไม่มีแสงใดเหลืออยู่เลยทะเลลึกคือพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดใหญ่กว่าแผ่นดินทั้งหมดที่มนุษย์อยู่ ผิวโลกแบ่งง่ายๆ เป็นทะเล (70.8%) แผ่นดิน (29.2%) มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทะเล ลึกเกิน 4,000 เมตร

\"ดร.ธรณ์\"เล่าขอบเขตทะเลลึกคนใน\"ซากเรือไททัน\"จากไปแบบไม่รู้ตัว

จุดลึกสุดของมหาสมุทร ลึกกว่าซากเรือไททานิกมากจุดลึกสุดของแอตแลนติก 8,480 เมตร จุดลึกสุดของโลก (แปซิฟิก) ประมาณ 11 กิโลเมตรความลึกเฉลี่ยของแอตแลนติก 3,600 เมตร น้อยกว่าไททานิกเล็กน้อย จุดที่ไททานิกจมอยู่ จึงไม่ใช่จุดที่ลึกมากมายเมื่อเทียบกับความลึกเฉลี่ย

\"ดร.ธรณ์\"เล่าขอบเขตทะเลลึกคนใน\"ซากเรือไททัน\"จากไปแบบไม่รู้ตัว

ความลึกเฉลี่ยของแปซิฟิกคือ 4,000 เมตร ลึกกว่าไททานิกทะเลแบ่งเป็น 5 โซน ทะเลลึกแบ่งเป็น 4 โซน (ดูภาพ)ไททานิกอยู่ในเขต Abyssopelagic ที่นั่นไม่มีแสง อุณหภูมิน้ำใกล้ศูนย์องศา (แต่ไม่เป็นศูนย์) ความเค็ม 35 ppt ปรกติ แต่ความดันแตกต่างความดันเพิ่ม 1 เท่าทุกความลึก 10 เมตร ความดันที่ไททานิกประมาณ 380 เท่าของผิวโลกแรงกดจึงมหาศาล คิดง่ายๆ คือพื้นที่เท่ากับแสตมป์ 1 ดวง รับน้ำหนักเท่ากับช้างหนึ่งตัวช้างกับแสตมป์เป็นเพียงตัวอย่างให้เห็นภาพ แต่ความกดระดับนั้น หากโครงสร้างยานทนไม่ได้ เกิดระเบิด จะรุนแรงมหาศาลcatastrophic implosion คือคำที่ใช้สำหรับเหตุการณ์แบบนั้น แรงกดดันจะทำลายทุกอย่างในเสี้ยววินาทีผู้จากไปแทบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าจะเกิดระเบิดเพราะแรงดัน ขอให้ดวงวิญญานของทุกคนไปสู่สุคติครับ

\"ดร.ธรณ์\"เล่าขอบเขตทะเลลึกคนใน\"ซากเรือไททัน\"จากไปแบบไม่รู้ตัว

ทะเลไทยมีเขตทะเลลึกในอันดามัน ไม่มีในอ่าวไทย เพราะอ่าวไทยตื้นมากทะเลอันดามันในส่วนของประเทศไทย (EEZ) ลึกสุดประมาณ 2 พันเมตร แต่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต 1,000 เมตรการสำรวจทะเลลึกของไทยมีน้อยมาก เรียกว่าแทบไม่มีเลย เพราะต้องใช้อุปกรณ์ราคามหาศาล เรือสำรวจ ฯลฯมีการสำรวจอยู่บ้าง โดยเป็นโครงการร่วมมือระหว่างประเทศในอนาคต หากเริ่มมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพื้นทะเลอันดามัน เช่น ปิโตรเลียม เราอาจเรียนรู้เรื่องนี้มากขึ้น

เพื่อนธรณ์เรียนรู้เรื่องทะเลลึกมากกว่านี้ได้ หากลงทะเบียนเรียนวิชา man&sea มก. เทอมนี้มีนิสิตลงทะเบียนแล้วเกือบ 2 พันคน  น้องๆ ไม่ว่าคณะไหนไปลงทะเบียนได้ เรากำลังจะเปิดหมู่ใหม่สำหรับนิสิตภาคปรกติ เทอมนี้จะเน้นทะเลลึกเป็นพิเศษเปิดเทอมคอร์สแรกเริ่มวันอังคาร อาจารย์ธรณ์สอนเอง 4 หมู่ 1,200 คน แล้วจะตามไปสอนหมู่อื่นๆ จนครบเกินวัยเรียนแล้ว ? เป็นเพื่อนธรณ์ต่อไป จะนำเรื่องดีๆ จากท้องทะเลมาเล่าให้ฟังเรื่อยๆ ครับ

ภาพ - กุ้งและสัตว์อื่นๆ ผมถ่ายมาจาก deep sea museum หลายแห่ง

ที่มา:เพจ Thon Thamrongnawasawat