ด่วนที่สุด รพ.รามา สั่งปรับแผนรับมือโควิดสายพันธุ์ลูกผสม

16 เม.ย. 2566 | 10:35 น.
อัปเดตล่าสุด :16 เม.ย. 2566 | 10:38 น.
3.7 k

รพ.รามา ร่อนหนังสือด่วนที่สุด เพิ่มมาตรการรับมือโควิดสายพันธุ์ลูกผสม XBB* หลังจำนวนผู้ป่วยแอดมิดเพิ่ม ย้ำอาจไม่ตอบสนองการรักษาด้วย LAA

หลังจากที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ใหม่ในประเทศ ล่าสุด โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ออกหนังสือด่วนที่สุดถึง รองคณบดีฝ่ายต่างๆ, ผู้อำนวยการโรงพยาบาล, ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์, หัวหน้าภาควิชา,ผู้อำนวยการโรงเรียนแพทย์รามาธิบดี, ผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี, ประธานองค์กรแพทย์, หัวหน้าฝ่าย/งาน/หน่วย/ศูนย์ เพื่อเพิ่มมาตรการรองรับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น

หนังสือดังกล่าวลงนามโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายดูแลสุขภาพ ระบุว่า

เนื่องด้วยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรากฏจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่ admit ในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และพบมีสายพันธุ์ลูกผสม (XBB*) เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะไม่ตอบสนองการรักษาด้วย Long-acting antibody (LAAB) เพื่อให้บริการ

ผู้ป่วยมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ จึงขอปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ดังนี้

1. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ :

ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยรักษาตามอาการ ไม่ต้องให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง

2. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ

หรือภาพถ่ายรังสีปอดปกติ :

ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยรักษาตามอาการ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง

3. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ออกซิเจน :

ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยพิจารณาให้ ยาต้านไวรัส ภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการ ดังนี้

- ยา Nirmatrelvir+ritonavir และให้ตรวจสอบ drug interaction ก่อนใช้ยาตาม QR code หรือ

- ยา Remdesivir โดยสั่ง IV drip ที่ห้องแยก อ.4 เป็นเวลา 3 วันต่อกัน

ด่วนที่สุด รพ.รามา สั่งปรับแผนรับมือโควิดสายพันธุ์ลูกผสม ด่วนที่สุด รพ.รามา สั่งปรับแผนรับมือโควิดสายพันธุ์ลูกผสม

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโควิด-19 รุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ

-อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) (GOLD grade 2 ขึ้นไป) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ

-โรคไตเรื้อรัง (CKD) (Stage 3 ขึ้นไป)

-โรคหัวใจและหลอดเลือด (NYHA functional class 2 ขึ้นไป รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด

- โรคหลอดเลือดสมอง

-โรคมะเร็งที่กำลังได้รับการรักษา

- เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้

- ภาวะอ้วน (น้ำหนัก >90 กก.หรือดัชนีมวลกาย >30 กก./ตร.ม.)

- ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป)

ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ได้รับยากดภูมิหรือ corticosteroid ที่มีขนาดเทียบเท่ากับ prednisolone 15 มก./วัน นาน 15 วันขึ้นไป

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มี CD4 น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.

4. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีปอดอักเสบรุนแรงและมี hypoxia ให้การรักษาแบบผู้ป่วยใน และให้ยาต้านไวรัส Remdesivir ร่วมกับ corticosteroid หรือ ยากลุ่มอื่น ตามดุลยพินิจแพทย์ โดยให้ admit ที่หอผู้ป่วยตามความรุนแรง ดังต่อไปนี้

4.1 ผู้ป่วยที่รักษาด้วย High flow oxygen/ Respirator ให้ admit ที่หอผู้ป่วย SDICU95 (3 เตียง)

4.2 ผู้ป่วยที่รักษาด้วย oxygen cannula/ oxygen mask ให้ admit โดยใช้ห้อง AIIR ที่หอผู้ป่วย (2TP,

4NW, 4TW, 5SE, 5SW, 6NW และ 6NE) หรือห้องแยกเดี่ยวหรือห้องพิเศษอื่น ๆ

4.3 กรณีหอผู้ป่วยตามข้อ 4.1 หรือข้อ 4.2 เริ่มเต็ม ให้พิจารณาประสานส่งต่อที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ หรือโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย