เช็คด่วน พื้นที่เสี่ยง น้ำท่วมฉับพลัน 25-28 กุมภาพันธ์นี้

24 ก.พ. 2566 | 09:46 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.พ. 2566 | 09:48 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน ภาคใต้ตอนบน-ล่าง คลื่นสูง 2-3 เมตร เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน ส่วนภาคเหนืออุณหภูมิลดลง 2-5 องศา

เช็คพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น

ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ เรื่องพยากรณ์อากาศฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่3 (61/2566) มีผลช่วงระหว่างวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2566

อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

ช่วงวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2566

ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

ขณะเดียวกัน บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงอย่างไรก็ตาม

 

 

 

 

 

กอนช. ติดตามสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาฉบับที่ 3

ตามที่ กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศฉบับที่ 3 เรื่องฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2566 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 7 จังหวัดภาคใต้ 

ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และคลื่นลมแรง โดยช่วงระหว่างวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง บริเวณ จ.สงขลา (อ.จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย)

ปัตตานี (อ.เมืองฯ กะพ้อ ปะนาเระ มายอ ยะรัง ยะหริ่ง) ยะลา (อ.เมืองฯ รามัน ยะหา กาบัง) และนราธิวาส (อ.เมืองฯ จะแนะ เจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ แว้ง สุคิริน สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี)

กอนช. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ โดยติดตามสภาพอากาศและปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่อย่างใกล้ชิด พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำ พยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน