ดาวเทียมพบจุดความร้อนในไทย 735 จุด อุตรดิตถ์นำอันดับหนึ่ง

21 ก.พ. 2566 | 14:01 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.พ. 2566 | 14:06 น.

GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี ของระบบเวียร์ ไทยพบจุดความร้อนวานนี้(20 ก.พ. 66) 735 จุด ส่วนใหญ่พบในป่าอนุรักษ์ จังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด คือ อุตรดิตถ์ 88 จุด

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) ไทยพบจุดความร้อนวานนี้ (20 ก.พ. 66) จำนวน 735 จุด 

ดาวเทียมพบจุดความร้อนในไทย 735 จุด อุตรดิตถ์นำอันดับหนึ่ง

ในขณะที่จุดความร้อนของประเทศเพื่อนบ้านอย่างสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ยังคงเป็นอันดับหนึ่งอยู่ที่ 2,046 จุด รองลงมาคือประเทศไทย 735 จุด กัมพูชา 692 จุด สปป.ลาว 655 จุด เวียดนาม 107 จุด และมาเลเซีย 5 จุด

สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 261 จุด ป่าสงวนแห่งชาติ 225 จุด พื้นที่เกษตร 107 จุด พื้นที่เขต สปก. 77 จุด ชุมชนและอื่นๆ 64 จุด และริมทางหลวง 1 จุด จังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุดคือ อุตรดิตถ์ 88 จุด ตาก 73 จุด และเลย 62 จุด ตามลำดับ 
 

ส่วนค่าฝุ่น PM2.5 เมื่อตรวจสอบจากแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” พบว่าหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ อาทิ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก ลำพูน เชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง อยู่ระดับที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนออกจากบ้านควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจที่อาจจะตามมา

สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม

ที่มา : GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)