4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก ครองแชมป์คร่าชีวิตคน 7.6 ล้านคนต่อปี

04 ก.พ. 2566 | 11:39 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ก.พ. 2566 | 12:45 น.

องค์การอนามัยโลก-สมาคมต่อต้านมะเร็งสากล กำหนด 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันมะเร็งโลก เผยสถิติโรคร้ายครองแชมป์อันดับ 1 คร่าชีวิตคน 7.6 ล้านคนต่อปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี องค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากล กำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลก (World Cancer Day)  โดยโรคมะเร็งถือเป็นภัยร้ายคุกคามสุขภาพในปัจจุบัน และเป็นอันดับต้นๆของสถิติการเสียชีวิตในประเทศไทย 

 

ที่ผ่านมามะเร็งถือแชมป์อันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก 7,600,000 คนต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางถึงร้อยละ 70 ของคนทั่วโลก ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องคาดการณ์ว่าปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเพิ่มถึง 13 ล้านคนทั่วโลก 
 

มะเร็ง (cancer) คือ เนื้องอกชนิดร้าย (malignant tumor) เป็นก้อนเนื้อที่เกิดจากการแบ่งเซลล์ผิดปกติ และลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ ผ่านระบบหมุนเวียนเลือด เซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วผิดปกติ ลุกลามและแพร่กระจายไปทั่วร่างกายอย่างที่ไม่อาจควบคุมได้ ส่งผลให้เซลล์ปกติอื่น ๆ ในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต 

 

สำหรับในประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในไทย ติดต่อมากว่า 20 ปี  จากสถิติทะเบียนมะเร็งประเทศไทย โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี 2565 รายงานว่า มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน หรือคิดเป็นประมาณ 400 คนต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 
 

 

โรคมะเร็ง ที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่


1.มะเร็งตับและท่อน้ำดี 
2.มะเร็งปอด
3.มะเร็งเต้านม
4.มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
5.มะเร็งปากมดลูก

4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก ครองแชมป์คร่าชีวิตคน 7.6 ล้านคนต่อปี

ส่วนมะเร็งที่ผู้ชายตรวจพบมากที่สุดได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้และทวารหนัก และมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนในผู้หญิงได้แก่มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 

 

ทั้งนี้ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองก่อนเกิดมะเร็ง ดังนี้ 


1.มะเร็งปากมดลูก
2.มะเร็งเต้านม
3.มะเร็งลำไส้ใหญ่
4.มะเร็งปอด
5.มะเร็งต่อมลูกหมาก
6.สัญญาณเสี่ยงมะเร็งร้าย