ทปอ.ร่อนหนังสือ แจงปม 'ข้อสอบ' TGAT เมนูไหน? ลดโลกร้อนมากที่สุด

11 ธ.ค. 2565 | 14:11 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ธ.ค. 2565 | 23:13 น.
1.2 k

แจงแล้ว ! แต่รอเฉลย ทปอ. ร่อนหนังสือ ชี้แจงสังคม หลัง ออกข้อสอบ ถามเมนูอาหารไหน? ช่วยลดโลกร้อนมากสุด ย้ำจุดประสงค์ข้อสอบ เน้นพัฒนาฐานความรู้ ด้านหน้าที่พลเมือง วิพากษ์โดยใช้เหตุและผล ต่อปัญหาที่มีความซับซ้อน

11 ธันวาคม 2565 - ยังเป็นที่สับสน และสงสัย ในคำตอบ กับ ข้อคำถามสุดโหด ในสนามสอบ วิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) ล่าสุด โดยมีการถามผู้สอบ เกี่ยวกับการเลือกเมนูอาหารที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด? เกิดเป็นข้อถกเถียงของสังคมออนไลน์อย่างวงกว้าง โดยนอกจาก ชาวเน็ตจะช่วยกันหาเฉลยคำตอบ ที่น่าจะถูกต้องแล้ว ยังสับสนกับวัตถุประสงค์ และ การออกข้อสอบแบบใหม่ของ ทปอ.อีกด้วย

ทปอ.ร่อนหนังสือ แจงปม \'ข้อสอบ\' TGAT  เมนูไหน? ลดโลกร้อนมากที่สุด
 

ล่าสุด ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ.ได้ออกหนังสือชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นการโพสต์ผ่านเพจ Mytcas.com โดยมีใจความระบุ ดังนี้ ... 

ทปอ.ร่อนหนังสือ แจงปม \'ข้อสอบ\' TGAT  เมนูไหน? ลดโลกร้อนมากที่สุด

ประกาศ TCAS66 เรื่อง ทปอ. ชี้แจงประเด็นที่สื่อสังคมให้ความสนใจข้อสอบ TGATพร้อมอธิบายเจตนาของการปรับการสอบรูปแบบใหม่

 

ตามที่มีประเด็นไวรัลในสื่อสังคมออนไลน์เที่ยวกับข้อสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) ในข้อคำถามเกี่ยวกับการเลือกเมนูอาหารที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุดนั้น คณะกรรมการดำเนินงาน TCAS รู้สึกยินดีที่ข้อคำถามดังกล่าวกระตุ้นให้มีการถกเยงและทำให้ผู้านได้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบของการเลือกรับประทานอาหาร ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างซเรือนกระจก ตามหลักของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13-Climate Action ของสหประชาชาติ (SDG: Sustainable Development Goals)เพราะนอกจาการใช้ชีวิตประจำวันที่ประหยัดพลังงาน การเดินทางโดยสาธารณะ 

 

การเลือกทานอาหารจากแหล่งในท้องถิ่น และการบริโภคอย่างพอเหมาะ แล้วการเลือกชนิดอาหารที่รับประทานก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน 

ข้อสอบดังกล่าวได้พัฒนาบนฐานความรู้ของการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของสังคม (Civic Engagement) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future WorkforceCompetency) ในส่วนที่ 3 ของวิชา TGAT ซึ่งเป็นวิชาใหม่ที่จัดสอบในปีนี้เป็นครั้งแรก

 

ความมุ่งหวังประการหนึ่งของการพัฒนาระบบการสอบรูปแบบใหม่ ในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศ ไทย คือการกระตุ้นให้ผู้เข้าสอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะอนาคตและทัศนคติที่ดี โดยกำหนดให้เป็นส่วนใหม่ของการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) เช่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ การคิดเชิงวิพากษ์และการใช้เหตุผล การบริหารจัดการอารมณ์ การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน

 

การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม และการเป็นผลเมืองที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาของสังคม และหวังว่าการจัดศึกษาในอนาคตและการพัฒนาตนเองของผู้เรียนจะเป็นไปในทิศทางดังกล่าวควบคู่ไปกับการเรียนรู้และประยุกต์เนื้อหาเชิงวิชาการตามหลักสูตรไปพร้อมกัน