คาร์กิลล์ สร้างห่วงโซ่อาหารยั่งยืน เติมเต็มคุณภาพชีวิตเยาวชน - เกษตรกร 

29 ก.ค. 2565 | 14:43 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ก.ค. 2565 | 21:56 น.

คาร์กิลล์ เดินหน้าสร้างห่วงโซ่อาหารยั่งยืน ขยายผลโครงการเกษตรอาหารกลางวัน สอนเด็กไทยสร้างสรรค์วัตถุดิบอาหารที่มีคุณค่า พร้อมสานต่อโครงการ  Smart Farming มอบน้ำบำบัดเพื่อใช้ในการเกษตร และให้ความรู้เพื่อสร้างประโยชน์สิ่งแวดล้อมและผลผลิตของเกษตรกรเต็มที่

“วัชรพล ประสพเกียรติโภคา” หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจคาร์กิลล์ ประจำประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจคาร์กิลล์โปรตีน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า คาร์กิลล์ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้ภารกิจหลักของคาร์กิลล์ คือ การสร้างห่วงโซ่อาหารที่ยั่งยืนให้โลก ด้วยการจัดทำ 2 โครงการหลัก คือ

คาร์กิลล์ สร้างห่วงโซ่อาหารยั่งยืน เติมเต็มคุณภาพชีวิตเยาวชน - เกษตรกร 

โครงการเกษตรอาหารกลางวัน เติมพลังอนาคตของชาติ และโครงการ Smart Farming ส่งต่อน้ำบำบัดจากโรงงาน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร 

โครงการเกษตรอาหารกลางวัน เติมพลังอนาคตของชาติ เริ่มจากการนำผลิตภัณฑ์ของคาร์กิลล์ ไปมอบให้โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และสระบุรี เพื่อให้เด็กๆ ได้รับสารอาหาร และโปรตีนอย่างเต็มที่ หลังจากนั้นได้ต่อยอดเพื่อสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้แก่เด็ก ๆ จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยบูรพา ส่งเสริมให้โรงเรียนมีวัตถุดิบในการทำอาหารเอง ด้วยการทำโรงเรือน มอบวัตถุดิบ  อุปกรณ์ และส่งวิทยากรไปอบรมความรู้ด้านเกษตรกรให้น้อง ๆ อาทิ

คาร์กิลล์ สร้างห่วงโซ่อาหารยั่งยืน เติมเต็มคุณภาพชีวิตเยาวชน - เกษตรกร 

การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เพาะเห็ด ปลูกผักไฮโดรปอนิกส์ และการปลูกพืชผักสวนครัวต่าง ๆ ส่งเสริมให้เด็กๆ มีอาหารกลางวันที่ดี มีคุณภาพ รับประทานได้อย่างยั่งยืน ซึ่งขณะนี้ดำเนินการแล้ว 32 โรงเรียน และได้ขยายเป้าหมายจาก 50 โรงเรียน เป็น 70 โรงเรียน ภายในปี 2568 

ส่วนโครงการ Smart Farming คาร์กิลล์ได้น้ำบำบัดจากโรงงานไก่ปรุงสุกที่มีค่าไนโตรเจนสูง ปล่อยให้กับกลุ่มเกษตรกรที่อยู่รอบโรงงาน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และพบว่าผลิตผลของเกษตรกรเติบโตเร็วมาก บริษัทฯ จึงต่อยอดด้วยการปล่อยน้ำบำบัด ลงลำรางสาธารณะเล็กๆ ให้วิ่งไปยังจุดที่ชาวบ้านสามารถนำไปใช้ได้
  คาร์กิลล์ สร้างห่วงโซ่อาหารยั่งยืน เติมเต็มคุณภาพชีวิตเยาวชน - เกษตรกร 

นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยบูรพา จัดวิทยากรมาอบรมให้ความรู้เกษตรกรในด้านการจัดการน้ำ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหมาะที่สุดกับพื้นที่ ลักษณะและประเภทของปุ๋ยที่ตรงกับรูปแบบนาของเกษตรกร หรือ วิธีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ถูกต้อง ฯลฯ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีโดรนมาประยุกต์ใช้สำหรับการใส่ปุ๋ย เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้กับเกษตรกร
 

คาร์กิลล์ ยังมีโครงการต่างๆ ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ SeaShine ที่คาร์กิลล์ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สร้างระบบนิเวศในการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้ชุมชนจัดเก็บ คัดแยกขยะ และนำมาขายให้กับสถานี SDG เพื่อนำขยะไปรีไซเคิลต่อไป และยังมีการติดตั้ง Solar Cell บนหลังคาโรงเรือน หรืออาคารของบริษัท เช่น ฟาร์ม โรงงานผลิตอาหารสัตว์ และโรงงานผลิตและแปรรูปอาหาร โดยกำหนดเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการกระบวนผลิต ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) เพื่อลดภาวะโลกร้อน ปัจจุบันติดตั้งไปแล้ว 12 แห่งในบริเวณโรงงาน ผลรวมของพลังงานที่ลดได้เท่ากับ 5.4 เมกะวัตต์ โดยตั้งเป้าจะติดตั้ง Solar Roof เพื่อเพิ่มพลังงานหมุนเวียน 19.3 เมกะวัตต์ภายในปี 2568 
 

พร้อมกันนี้ คาร์กิลล์ยังร่วมมือกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรีและจังหวัดนครราชสีมา ผู้ประกอบการที่รับซื้อพืชผลทางการเกษตร และเกษตรกร ในโครงการ No Burn We Buy ไม่เผา เราซื้อ สนับสนุนการรับซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะข้าวโพด จากแหล่งผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลพิษทางอากาศ และปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5
 

โครงการทั้งหมดจัดทำขึ้นเพื่อตอบโจทย์ และผลักดัน ภารกิจการสร้างห่วงโซ่อาหารที่ยั่งยืนให้โลก ของคาร์กิลล์ให้สำเร็จตามเป้าหมายนั่นเอง


หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,804 วันที่ 28 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565